พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยเสนอขายงานละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลแก้ไขโทษฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
แม้ตามฟ้องของโจทก์ในตอนแรกโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงโดยนำม้วนเทปเพลงจำนวน 20 ม้วน แผ่นเอ็มพีสามจำนวน 2 แผ่น และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะจำนวน 209 แผ่น ที่บันทึกภาพและเสียงเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกวางจำหน่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชนก็ตาม แต่ฟ้องในตอนท้ายโจทก์บรรยายว่า ตามวันเวลาที่อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ เจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดได้ม้วนเทปเพลง แผ่นเอ็มพีสามและแผ่นวีซีดีคาราโอเกะเดียวกันดังกล่าวที่บันทึกภาพและเสียงโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จำเลยได้เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปดังกล่าวเป็นของกลาง การบรรยายฟ้องในตอนท้ายนี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานที่มีบุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอยู่แล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนแรกว่าจำเลยนำม้วนเทปเพลง แผ่นเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย "ออกวางจำหน่าย" มีความหมายเช่นเดียวกับที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนท้ายว่า จำเลย "เสนอขาย" สิ่งของดังกล่าวที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายแก่บุคคลทั่วไป แต่การนำออกวางจำหน่ายหรือเสนอขายซึ่งสิ่งที่มิได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ คงมีแต่มาตรา 31 (1) ที่บัญญัติให้การเสนอขายซึ่งสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำใดของจำเลยที่เป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 28 ฟ้องโจทก์เป็นเพียงการบรรยายฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มาตรา 31 เท่านั้น
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27, 28 และ 69 ไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดและบทมาตราผิด ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดและบทมาตราที่ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27, 28 และ 69 ไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดและบทมาตราผิด ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดและบทมาตราที่ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์จากการเสนอขายของละเมิด แม้โจทก์ฟ้องผิดฐาน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
แม้ตามฟ้องของโจทก์ในตอนแรกจะบรรยายว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงโดยนำม้วนเทปเพลงจำนวน 20 ม้วน แผ่นเอ็มพีสามจำนวน 2 แผ่น และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะจำนวน 209 แผ่น ที่บันทึกภาพและเสียงเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกวางจำหน่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชนก็ตาม แต่ในตอนท้าย โจทก์บรรยายว่าตามวันเวลาที่อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดได้ม้วนเทปเพลงแผ่นเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะเดียวกันดังกล่าวที่บันทึกภาพและเสียงโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จำเลยได้เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปดังกล่าวข้างต้นเป็นของกลาง การบรรยายฟ้องในตอนท้ายเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานที่มีบุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอยู่แล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยนำม้วนเทปเพลง แผ่นเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะและอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย "ออกวางจำหน่าย" มีความหมายเช่นเดียวกับที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนท้ายว่า จำเลย "เสนอขาย" สิ่งของดังกล่าวที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายแก่บุคคลทั่วไป แต่การนำออกวางจำหน่ายหรือเสนอขายซึ่งสิ่งที่มิได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด คงมีแต่เฉพาะมาตรา 31 (1) ที่บัญญัติให้การเสนอขายซึ่งสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำใดของจำเลยที่เป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงแต่อย่างใด ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 ที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นเป็นเพียงการบรรยายฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 เท่านั้น ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง จึงถือได้ว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำม้วนเทปเพลงจำนวน 20 ม้วน แผ่นเอ็มพีสามจำนวน 2 แผ่น และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะจำนวน 209 แผ่น ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28 และ 69 ไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดและบทมาตราผิด ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดและบทมาตราที่ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง จำคุก 2 ปี และปรับ 400,000 บาท ก่อนลดโทษให้นั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์: การมอบอำนาจช่วงที่มิชอบ ทำให้การฟ้องร้องเป็นโมฆะ
บริษัท ย. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ได้มอบอำนาจให้บริษัท ค. โดย พ. มีอำนาจร้องทุกข์และดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ กับทั้งให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าวแทนผู้เสียหายได้ แสดงว่าผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายคือบริษัท ค. มิใช่ พ. เช่นนี้ พ. ในฐานะส่วนตัวจึงไม่อาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลใดไปร้องทุกข์แทนผู้เสียหายได้ การที่ พ. มอบอำนาจช่วงให้ ป. ไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะที่ พ. เองเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การแจ้งความร้องทุกข์โดย ป. ตามที่ได้รับมอบอำนาจจาก พ. จึงเป็นการร้องทุกข์โดยมิชอบเพราะกระทำไปโดยผู้ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ดังนั้น พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในข้อหาความผิดนี้ได้ ปัญหาเรื่องการสอบสวนและการฟ้องคดีชอบหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีได้
บริษัท น. ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวจากบริษัท ร. ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิทุกอย่างทั่วโลกจากเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิในภาพยนต์พิพาทแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยนำเอาแถบบันทึกภาพและเสียงภาพยนต์หรือวีดีโอเทปของภาพยนต์พิพาท ออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ภาพยนต์พิพาทซึ่งบริษัท น. มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย บริษัท น. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6537/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และจำหน่ายสื่อลามก ศาลฎีกาพิจารณาองค์ประกอบความผิดและขอบเขตการอุทธรณ์
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกันทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งวิดีโอซีดีลามก เป็นความผิดต่อกฎหมายต่างฉบับกัน มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็สามารถแยกต่างหากจากกันกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ จึงเป็นความผิดอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เป็นความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยปรับไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 39 (4) (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งวิดีโอซีดีลามก เป็นความผิดต่อกฎหมายต่างฉบับกัน มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็สามารถแยกต่างหากจากกันกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ จึงเป็นความผิดอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เป็นความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยปรับไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 39 (4) (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: การมีแผ่นภาพยนตร์ละเมิดเพื่อขายถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ แม้ไม่มีการเสนอขาย
บริษัท ซ. เพียงแต่เป็นผู้ได้รับสิทธิในการทำซ้ำ เผยแพร่และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ในประเทศไทยแต่ผู้เดียว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งบริษัท ซ. คงมีลิขสิทธิ์เฉพาะในงานที่ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีและวิดีโอเทปและมีสิทธิทำซ้ำเผยแพร่ต่อสาธารณชน กับจัดจำหน่ายภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6ในประเทศไทยได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6เพราะได้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์จากโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 แล้วเท่านั้น จึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ตามคำฟ้องในฐานะผู้สร้างสรรค์อยู่ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 11โจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
จำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ด แม้จำเลยไม่ได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีให้ผู้อื่นด้วยก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1) ประกอบด้วยมาตรา 70 วรรคสอง แล้ว และกรณีไม่จำต้องมีเจตนาทุจริตเพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่
จำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ด แม้จำเลยไม่ได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีให้ผู้อื่นด้วยก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1) ประกอบด้วยมาตรา 70 วรรคสอง แล้ว และกรณีไม่จำต้องมีเจตนาทุจริตเพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสองกรรม: ละเมิดลิขสิทธิ์และการประกอบกิจการเทป/วีดีโอ โดยมีเจตนาแยกต่างหาก
แม้จำเลยจะมีแผ่นวีดีโอซีดี แผ่นซีดี และแผ่นซีดีรอมของกลางไว้เพื่อขายและเสนอขายตามฟ้องข้อ (ก) และประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตามฟ้องข้อ (ข) ในคราวเดียวกัน แต่การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ (ก) และข้อ (ข) ก็เป็นการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันและเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน จึงเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9525/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเรื่องลิขสิทธิ์และการพิสูจน์เจ้าของลิขสิทธิ์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจำเลยไม่โต้แย้งสิทธิ
คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า งานที่มีการฟ้องร้องในคดีนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยถือว่าเป็น การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 เช่นเดียวกับที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ให้การหรือนำสืบโต้แย้งว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตามฟ้อง หรือโต้แย้งสิทธิของผู้เสียหายในงานดังกล่าวมาโดยชัดแจ้ง ผู้เสียหายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ว่า งานดนตรีกรรมที่มีการฟ้องร้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้อีก ดังนั้น ไม่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในข้อนี้จะมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อคดีของโจทก์
งานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องรวม 22 เพลง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและแผ่นซีดีของกลางซึ่งบันทึกงานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นแผ่นซีดีเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย จำเลยได้เสนอขายแผ่นซีดีเพลงวัตถุพยานของกลางซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายให้แก่พนักงานของผู้เสียหายผู้ล่อซื้อและพฤติการณ์ที่มีการวางปกแผ่นซีดีเพลงดังกล่าวในร้านค้าที่เกิดเหตุ ย่อมชี้ให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเสนอขายแผ่นซีดีเพลงตามแผ่นปกดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว กรณีนี้ถือไม่ได้ว่า พนักงานของผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยถือว่าเป็น การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 เช่นเดียวกับที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ให้การหรือนำสืบโต้แย้งว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตามฟ้อง หรือโต้แย้งสิทธิของผู้เสียหายในงานดังกล่าวมาโดยชัดแจ้ง ผู้เสียหายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ว่า งานดนตรีกรรมที่มีการฟ้องร้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้อีก ดังนั้น ไม่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในข้อนี้จะมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อคดีของโจทก์
งานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องรวม 22 เพลง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและแผ่นซีดีของกลางซึ่งบันทึกงานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นแผ่นซีดีเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย จำเลยได้เสนอขายแผ่นซีดีเพลงวัตถุพยานของกลางซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายให้แก่พนักงานของผู้เสียหายผู้ล่อซื้อและพฤติการณ์ที่มีการวางปกแผ่นซีดีเพลงดังกล่าวในร้านค้าที่เกิดเหตุ ย่อมชี้ให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเสนอขายแผ่นซีดีเพลงตามแผ่นปกดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว กรณีนี้ถือไม่ได้ว่า พนักงานของผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5823/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้า: สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุยกฟ้อง
โจทก์ทำสัญญายินยอมให้ ก. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของ ก. ได้ กับยอมให้ ก. ดำเนินการผลิตและจำหน่ายหนังสือพิมพ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังที่ระบุไว้ในสัญญาได้ทันที โจทก์ยอมให้ ก. โอนสิทธิตามสัญญาให้จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นได้และยินยอมให้ ก. ให้บุคคลอื่นร่วมใช้สิทธิตามสัญญาได้ ส่วน ก. ยอมรับลูกจ้างของโจทก์ 274 คน เข้าทำงานในบริษัทของจำเลยที่ 1 ต่อไปโดยไม่ต้องปลดออก แสดงว่าโจทก์ให้ความยินยอมแก่ ก. ตลอดจนจำเลยที่ 1 ให้ใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อและหัวหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าเป็นการอาศัยสิทธิตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสิบห้ามีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: ความผิดร่วมกัน การแบ่งหน้าที่ และความรับผิดของกรรมการ
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับวันเวลาเกิดเหตุว่า เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคม 2540 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งหมดได้ร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ ได้ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพถ่าย โดยร่วมกันทำซ้ำ ดัดแปลง และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับวันเวลาเกิดเหตุจึงครบถ้วนถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)แล้ว
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท.ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา นางสาวทิพย์วรรณจะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้นถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้โจทก์เพิ่งทราบว่ามีการพิมพ์หนังสือนิตยสาร "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ซึ่งมีภาพถ่ายของ ท.ลงพิมพ์ไว้อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดตามกฎหมายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540คดีนี้ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3) เมื่อได้ความว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 14 มกราคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 9 ที่ 15 และที่ 17 ถึงที่ 19 ตาม พ.ร.บ.บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 27, 31, 69, 70, 74, 75, 76 และ 78 มาตรา 83 โดยวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และให้ลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 เป็นการปรับบทมาตราที่บางมาตรามิใช่บทกำหนดความผิดและกำหนดโทษ และมิได้ระบุวรรคให้ถูกต้องนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ที่ 9 และที่ 15 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกจากกันแม้จะได้ความว่าเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันหรือมีการถือหุ้นไขว้กันก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดด้วย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส.ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท.ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา นางสาวทิพย์วรรณจะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้นถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้โจทก์เพิ่งทราบว่ามีการพิมพ์หนังสือนิตยสาร "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ซึ่งมีภาพถ่ายของ ท.ลงพิมพ์ไว้อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดตามกฎหมายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540คดีนี้ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3) เมื่อได้ความว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 14 มกราคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 9 ที่ 15 และที่ 17 ถึงที่ 19 ตาม พ.ร.บ.บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 27, 31, 69, 70, 74, 75, 76 และ 78 มาตรา 83 โดยวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และให้ลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 เป็นการปรับบทมาตราที่บางมาตรามิใช่บทกำหนดความผิดและกำหนดโทษ และมิได้ระบุวรรคให้ถูกต้องนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ที่ 9 และที่ 15 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกจากกันแม้จะได้ความว่าเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันหรือมีการถือหุ้นไขว้กันก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดด้วย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส.ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า