พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430-1432/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง: ความรับผิดของผู้ให้เช่าช่วงเมื่อสัญญาหลักสิ้นสุด และสิทธิในการเรียกค่าเช่าคืน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดินเพื่อปลูกสร้างตึกแถวให้เช่า โดยเมื่อจำเลยสร้างตึกเสร็จ ตึกตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน แต่เจ้าของที่ดินยอมให้จำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้การที่โจทก์เช่าตึกรายนี้จากจำเลยจึงเป็นการเช่าช่วงโดยชอบ แต่เมื่อต่อมาเจ้าของที่ดินบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และใช้สิทธิครอบครองตึกเพราะจำเลยผิดสัญญา จำเลยก็หมดสิทธิที่จะครอบครองและให้โจทก์เช่าช่วงได้ต่อไป ถือได้ว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์ เพราะจำเลยไม่สามารถให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในตึกที่เช่าได้ตามสัญญา และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้เจ้าของที่ดินหลังจากที่จำเลยให้โจทก์เช่า จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เจ้าของที่ดินไม่ต้องรับเอาผลของสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยแต่ประการใด
ฟ้องเรียกเงินค่าเช่าที่ชำระให้ผู้ให้เช่าไปล่วงหน้าคืนมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ฟ้องเรียกเงินค่าเช่าที่ชำระให้ผู้ให้เช่าไปล่วงหน้าคืนมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์ที่มีเหตุรอนสิทธิ ผู้ขายยังต้องรับผิดแม้การซื้อขายจะทำถูกต้องตามทะเบียน
แม้ผู้ขายจะได้รถยนต์มาโดยการโอนต่อนายทะเบียนและการขายให้ผู้ซื้อก็ได้โอนต่อนายทะเบียนก็ดีก็ไม่ตัดสิทธิเจ้าของอันแท้จริงที่จะติดตามเอาคืน การที่เจ้าของอันแท้จริงติดตามเอารถคืนจากผู้ซื้อเช่นนี้ เป็นการรอนสิทธิของผู้ซื้อ การที่ผู้ซื้อยินยอมคืนรถให้แก่เจ้าของอันแท้จริงเอง แต่เมื่อความปรากฏชัดแจ้งแล้วว่ารถคันนั้นเป็นของเจ้าของ การที่ผู้ซื้อคืนรถให้แก่เจ้าของที่แท้จริงจึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ถึงการซื้อขายรถยนต์จะได้ทำการโอนซื้อขายกันทางทะเบียน ผู้ขายก็ยังคงมีความรับผิดเพราะเหตุการรอนสิทธิอยู่ เมื่อผู้ซื้อมิได้รู้ในขณะซื้อขายว่ามีเหตุรอนสิทธิเกิดขึ้น ผู้ขายก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
แม้การซื้อขายรถยนต์จะได้กระทำในกองทะเบียนกรมตำรวจ โดยมีการตรวจสอบกระทำโดยสุจริตและเปิดเผยก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาด
แม้การซื้อขายรถยนต์จะได้กระทำในกองทะเบียนกรมตำรวจ โดยมีการตรวจสอบกระทำโดยสุจริตและเปิดเผยก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายรถยนต์คันที่มีข้อพิพาท แม้จะซื้อขายและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ผู้ขายจะได้รถยนต์มาโดยการโอนต่อนายทะเบียน และการขายให้ผู้ซื้อก็ได้โอนต่อนายทะเบียนก็ดี ก็ไม่ตัดสิทธิ์เจ้าของอันแท้จริงที่จะติดตามเอาคืน การที่เจ้าของอันแท้จริงติดตามเอารถคืนจากผู้ซื้อเช่นนี้ เป็นการรอนสิทธิ์ของผู้ซื้อ การที่ผู้ซื้อยินยอมคืนรถให้แก่เจ้าของอันแท้จริงเอง แต่เมื่อความปรากฏชัดแจ้งแล้วว่ารถคันนั้นเป็นของเจ้าของ การที่ผู้ซื้อคืนรถให้แก่เจ้าของที่แท้จริง จึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ถึงการซื้อขายรถยนต์จะได้ทำการโอนซื้อขายกันทางทะเบียน ผู้ขายก็ยังคงมีความรับผิดเพราะเหตุการรอนสิทธิ์อยู่ เมื่อผู้ซื้อมิได้รู้ในขณะซื้อขายว่ามีเหตุรอนสิทธิ์เกิดขึ้น ผู้ขายก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
แม้การซื้อขายรถยนต์จะได้กระทำในกองทะเบียนกรมตำรวจ โดยมีการตรวจสอบ กระทำโดยสุจริตและเปิดเผยก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาด
แม้การซื้อขายรถยนต์จะได้กระทำในกองทะเบียนกรมตำรวจ โดยมีการตรวจสอบ กระทำโดยสุจริตและเปิดเผยก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความรอนสิทธิเช่า: มาตรา 482 ไม่กำหนดอายุความ ใช้ อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าตึกจากจำเลยถูกรบกวนขัดสิทธิในอันจะได้ครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลภายนอกมีสิทธิในการเช่าเหนือทรัพย์สินดีกว่าโจทก์ได้ชื่อว่าโจทก์ผู้เช่าถูกรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 ประกอบด้วยมาตรา 549
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องที่ว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อผู้ซื้อต่างกับมาตรา 481 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แม้ข้อความในมาตรา 482วรรคท้ายจะบัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขายอยู่ด้วยก็ดีแต่ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในมาตรา 482 มาตราเดียวกันและมาตรา 482 นี้หาได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้ไม่จึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ขายถูกศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดีแล้วไม่ยอมเข้ามาเป็นกรณีที่ผู้ขายจงใจหลบหลีกความรับผิดอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงไม่บัญญัติหรือท้าวความให้มีอายุความเพียง 3 เดือนเท่ามาตรา 481 จึงต้องถือว่าอายุความสำหรับมาตรา 482 นี้ ยกเว้นหรือแยกต่างหากไปจากอายุความในมาตรา 481 จึงต้องใช้อายุความธรรมดาเหมือนดังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คือ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องที่ว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อผู้ซื้อต่างกับมาตรา 481 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แม้ข้อความในมาตรา 482วรรคท้ายจะบัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขายอยู่ด้วยก็ดีแต่ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในมาตรา 482 มาตราเดียวกันและมาตรา 482 นี้หาได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้ไม่จึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ขายถูกศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดีแล้วไม่ยอมเข้ามาเป็นกรณีที่ผู้ขายจงใจหลบหลีกความรับผิดอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงไม่บัญญัติหรือท้าวความให้มีอายุความเพียง 3 เดือนเท่ามาตรา 481 จึงต้องถือว่าอายุความสำหรับมาตรา 482 นี้ ยกเว้นหรือแยกต่างหากไปจากอายุความในมาตรา 481 จึงต้องใช้อายุความธรรมดาเหมือนดังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คือ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในน้ำมันที่ได้มาโดยสุจริต ผู้ซื้อมีสิทธิเหนือกว่าเจ้าของเดิมที่ถูกลักทรัพย์
น้ำมันและถังรายพิพาทเป็นของราชการทหาร ถูกคนร้ายลักไปโจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริตในท้องตลาด แล้วต่อมาจำเลยได้ซื้อและยืมถังไปจากโจทก์และโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยไปแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเหนือน้ำมันที่ตนซื้อจากโจทก์ยิ่งกว่าบุคคลอื่นๆ แม้เจ้าของอันแท้จริงก็จะมาเรียกน้ำมันคืนไปจากจำเลยไม่ได้ เว้นแต่จะชดใช้ราคาที่จำเลยซื้อมา จำเลยต้องชำระราคาน้ำมันและถังให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เรื่องรอนสิทธิ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้มาโดยสุจริต: ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน แม้เจ้าของเดิมมีสิทธิเรียกคืนได้หากชดใช้ราคา
น้ำมันและถังรายพิพาทเป็นของราชการทหาร ถูกคนร้ายลักไปโจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริตในท้องตลาดแล้วต่อมาจำเลยได้ซื้อและยืมถังไปจากโจทก์และโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยไปแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเหนือน้ำมันที่ตนซื้อจากโจทก์ยิ่งกว่าบุคคลอื่นๆ แม้เจ้าของอันแท้จริงก็จะมาเรียกน้ำมันคืนไปจากจำเลยไม่ได้ เว้นแต่จะชดใช้ราคาที่จำเลยซื้อมา จำเลยต้องชำระราคาน้ำมันและถังให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เรื่องรอนสิทธิ
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรื้อถอนทรัพย์สิน: ผู้ขายต้องรับผิดหากถูกขัดขวางและไม่สามารถส่งมอบทรัพย์สินได้
ทรัพย์ที่ผู้ขายทำสัญญาขายให้ผู้ซื้อรื้อเอาไป หากมีบุคคลภายนอกมาอายัติว่าไม่ใช่ของผู้ขาย, ผู้ซื้อรื้อเอาไปไม่ได้ ดังนี้ ถือว่าผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ ผู้ขายต้องรับผิด..
การที่บุคคลภายนอกมาห้ามหรืออายัติไม่ให้ผู้ซื้อรื้อสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อไป ผู้ซื้อก็ไม่กล้ารื้อถอนต่อไป ฝ่ายผู้ขายก็ได้จัดการร้องเรียนขอให้ถอนอายัติแต่ไม่เป็นผลดังนี้ การที่โจทก์ไม่รื้อถอนไปจะถือว่าโจทก์ยินยอม ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 481 ไม่ได้
การที่บุคคลภายนอกมาห้ามหรืออายัติไม่ให้ผู้ซื้อรื้อสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อไป ผู้ซื้อก็ไม่กล้ารื้อถอนต่อไป ฝ่ายผู้ขายก็ได้จัดการร้องเรียนขอให้ถอนอายัติแต่ไม่เป็นผลดังนี้ การที่โจทก์ไม่รื้อถอนไปจะถือว่าโจทก์ยินยอม ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 481 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรื้อถอนทรัพย์สิน - การรอนสิทธิผู้ซื้อจากบุคคลภายนอก ผู้ขายต้องรับผิด
ทรัพย์ที่ผู้ขายทำสัญญาขายให้ผู้ซื้อรื้อเอาไป หากมีบุคคลภายนอกมาอายัดว่าไม่ใช่ของผู้ขายผู้ซื้อรื้อเอาไปไม่ได้ ดังนี้ ถือว่าผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ ผู้ขายต้องรับผิด
การที่บุคคลภายนอกมาห้ามหรืออายัดไม่ให้ผู้ซื้อรื้อสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อไป ผู้ซื้อก็ไม่กล้ารื้อถอนต่อไปฝ่ายผู้ขายก็ได้จัดการร้องเรียนขอให้ถอนอายัดแต่ไม่เป็นผล ดังนี้ การที่โจทก์ไม่รื้อถอนไปจะถือว่าโจทก์ยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 ไม่ได้
การที่บุคคลภายนอกมาห้ามหรืออายัดไม่ให้ผู้ซื้อรื้อสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อไป ผู้ซื้อก็ไม่กล้ารื้อถอนต่อไปฝ่ายผู้ขายก็ได้จัดการร้องเรียนขอให้ถอนอายัดแต่ไม่เป็นผล ดังนี้ การที่โจทก์ไม่รื้อถอนไปจะถือว่าโจทก์ยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขสัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ขายแพ้คดีขับไล่ผู้เช่า
สัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีข้อหนึ่งว่า'ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงจะโอนซื้อขายกันเด็ดขาด ณ หอทะเบียนที่ดิน ในเมื่อผู้ขายได้ฟ้องขับไล่นางเลื่อนผู้เช่าจนคดีถึงที่สุด' ดังนี้ โจทก์ก็ย่อมสืบอธิบายสัญญาได้ว่าที่มีข้อความเช่นนี้ ก็เพราะผู้ซื้อประสงค์จะเข้าอยู่เองฉะนั้นถ้าผู้ขายฟ้องขับไล่ผู้เช่าคดีถึงที่สุดแล้ว แต่ผู้ขายเป็นฝ่ายแพ้คดีผู้เช่าก็คงยังได้อยู่ในที่ดินบ้านเรือนนี้ได้ต่อไป ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอรับเงินมัดจำในการซื้อขายคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าสินค้าที่ถูกลักมา: คดีอาญาไม่ใช่คดีเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 481
ซื้อซีเมนต์จากผู้ขายไว้โดยสุจริต ภายหลังปรากฏว่าซีเมนต์รายนี้ถูกคนร้ายลักมาจากผู้อื่น อัยยการได้เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษคนร้าย ศาลมีคำพิพากษาให้คืนแก่ผู้อื่นซึ่งเป็นเจ้าของ ดังนี้ ผู้ซื้อฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้ขายได้ และในกรณีเช่นนี้ คดีอาญาที่อัยยการฟ้องคนร้ายนั้น หาใช่คดีเดิมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 481 ไม่ ผู้ขายจะยกอายุความ 3 เดือนมาตัดฟ้องไม่ได้