พบผลลัพธ์ทั้งหมด 665 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีอาญาต่างสำนวน และข้อยกเว้นการนับโทษเกิน 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่า การนับโทษจำคุกของจำเลยคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปเมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุก ของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษา เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยใน คดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทงจึงต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้ โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตาม เมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22วรรคหนึ่ง ได้ ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอัน ที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ประกอบ มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4656/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเบียดบังเงินของทางราชการ และความผิดพลาดในการดำเนินคดี
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ใช้ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาอันเดียวกัน ในคำฟ้องคดีเดียวที่รวมเอาความผิดหลายกระทงไว้ด้วยกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 หรือคำฟ้องหลายคดีที่พิจารณาพิพากษารวมกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันก็ให้ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปโดยมีข้อยกเว้นว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91มิได้บัญญัติห้ามว่าการนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป เมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ ซึ่งการขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในคำพิพากษาเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใดซึ่งหากไม่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับโทษต่อหรือไม่เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
คดีนี้และคดีก่อนเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำผิดทุจริตเบียดบังค่าธรรมเนียมและค่าคำขอในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินจากส่วนราชการของกรมที่ดิน หน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็คือกรมที่ดินรายเดียวกัน สำนวนการสอบสวนของคดีนี้และคดีก่อนก็เป็นสำนวนเดียวกัน โจทก์สามารถฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นคดีเดียวกันได้ เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานก็เป็นชุดเดียวกัน แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลก็จะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เหตุที่ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเพราะเกิดความผิดพลาดในการดำเนินคดี และศาลชั้นต้นไม่มีโอกาสสั่งให้คดีก่อนพิจารณาพิพากษารวมกัน ประกอบกับคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยรวมเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 หากให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนก็จะทำให้จำเลยต้องโทษจำคุกหนักขึ้น โดยเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 เพียงเพราะความผิดพลาดในการดำเนินคดี จึงไม่มีเหตุสมควรให้นับโทษจำคุกของจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อน
คดีก่อนเป็นคดีที่เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคดีนี้ แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีนี้ ในทางปฏิบัติไม่อาจยื่นฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้น ทั้งไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีนี้ได้ จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยติดต่อกันได้
คดีนี้และคดีก่อนเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำผิดทุจริตเบียดบังค่าธรรมเนียมและค่าคำขอในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินจากส่วนราชการของกรมที่ดิน หน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็คือกรมที่ดินรายเดียวกัน สำนวนการสอบสวนของคดีนี้และคดีก่อนก็เป็นสำนวนเดียวกัน โจทก์สามารถฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นคดีเดียวกันได้ เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานก็เป็นชุดเดียวกัน แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลก็จะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เหตุที่ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเพราะเกิดความผิดพลาดในการดำเนินคดี และศาลชั้นต้นไม่มีโอกาสสั่งให้คดีก่อนพิจารณาพิพากษารวมกัน ประกอบกับคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยรวมเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 หากให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนก็จะทำให้จำเลยต้องโทษจำคุกหนักขึ้น โดยเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 เพียงเพราะความผิดพลาดในการดำเนินคดี จึงไม่มีเหตุสมควรให้นับโทษจำคุกของจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อน
คดีก่อนเป็นคดีที่เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคดีนี้ แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีนี้ ในทางปฏิบัติไม่อาจยื่นฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้น ทั้งไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีนี้ได้ จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายกรรมต่างท้องที่: ความผิดเกี่ยวพันและการรวมฟ้อง
จำเลยถูกกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เหตุเกิดท้องที่ สภ.อ.เมืองนราธิวาส ปรากฏว่าจำเลยได้ไปแจ้งความที่ สภ อ.สุไหงโก-ลก ว่าเช็คที่จำเลยถูกดำเนินคดีหายไป ซึ่งเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกง พนักงานสอบสวน สภ อ. เมือง-นราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกงได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (4) และโจทก์ย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกัน และเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน ซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องพร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดหลายกรรมต่างท้องที่ และความเกี่ยวพันของความผิดอาญา
จำเลยถูกกล่าวหาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เหตุเกิดท้องที่ สภ.อ.เมืองนราธิวาส ปรากฏว่าจำเลยได้ไปแจ้งความที่ สภ.อ.สุไหงโก-ลก ว่าเช็คที่จำเลยถูกดำเนินคดีหายไป ซึ่งเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกง พนักงานสอบสวนสภ.อ. เมืองนราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกงได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) และโจทก์ย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกัน และเป็นความผิดเกี่ยวพันกันซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องพร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดแจ้งความเท็จที่เกิดต่างท้องที่ และการรอการลงโทษจากคุณงามความดี
จำเลยขายลดเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ต่อมาผู้เสียหายนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัดสาขานราธิวาสซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสและธนาคารดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสให้ดำเนินคดีจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 แต่จำเลยได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเภอสุไหงโกลก ว่าเช็คฉบับดังกล่าวหายไปพนักงานอัยการเห็นว่าการแจ้งความดังกล่าวเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและแจ้งความเท็จ จึงสั่งให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนราธิวาสสอบสวนเพิ่มเติมและแจ้งข้อหาต่อจำเลยเพิ่มเติมดังนี้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยในข้อหาแจ้งความเท็จได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) และเมื่อเป็นความผิดหลายกระทงย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรม ต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน ซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จโดยไม่ต้องขอผัดฟ้อง พร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมียาเสพติดประเภท 1 และ 2 ครอบครองเพื่อจำหน่าย ถือเป็นความผิดต่างกระทง แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกกระทง
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2 เป็นความผิดที่มีบทความผิดและบทลงโทษคนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกระทงกัน เมื่อตามฟ้องโจทก์มีความผิดเพียง 2 กระทง แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกเป็นรายกระทง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความผิด 2 กระทงทั้งคำฟ้องตอนต้นได้บรรยายแล้วว่าเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ และคำขอท้ายฟ้องก็อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ไว้แล้ว ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมียาเสพติดประเภท 1 และ 2 เป็นความผิดต่างกระทง ศาลลงโทษทุกกรรมได้
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2 เป็นความผิดที่มีบทความผิดและบทลงโทษคนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกระทงกันเมื่อตามฟ้องโจทก์มีความผิดเพียง 2 กระทง แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกเป็นรายกระทง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความผิด 2 กระทงทั้งคำฟ้องตอนต้นได้บรรยายแล้วว่าเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและคำขอท้ายฟ้องก็อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไว้แล้วศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานมียาเสพติดประเภท 1 และ 2 แม้ไม่บรรยายฟ้องแยกกระทง แต่เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ ศาลลงโทษทุกกระทงได้
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2 เป็นความผิดที่มีบทความผิดและบทลงโทษคนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกระทงกันเมื่อตามฟ้องโจทก์มีความผิดเพียง 2 กระทง แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกเป็นรายกระทง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความผิด 2 กระทงทั้งคำฟ้องตอนต้นได้บรรยายแล้วว่าเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและคำขอท้ายฟ้องก็อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไว้แล้วศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831-1450/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ และเจตนารมณ์ของกฎหมาย
กรณีที่ความผิดของจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อคดี 620 สำนวนที่ศาลสั่งรวมการพิจารณาและกำลังพิจารณาอยู่ เป็นความผิดเกี่ยวพันกัน และความผิดทุกสำนวนปรากฏต่อพนักงานสอบสวนก่อนโจทก์ฟ้องคดีแรกแล้ว เห็นได้ว่าโจทก์อาจฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวก็ได้ แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกันศาลก็จะลงโทษจำคุกจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะแยกฟ้องคดี 620 สำนวนเป็นรายสำนวนซึ่งศาลสั่งรวมการพิจารณาแล้ว โดยมิได้สั่งรวมการพิจารณากับคดีที่ขอให้นับโทษต่อ เมื่อศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 แล้ว ศาลจะนับโทษจำเลยต่ออีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงกระทงลงโทษความผิดฐานทำและมีสุราแช่/กลั่น และการแก้ไขโทษปรับที่ไม่ถูกต้อง
ความผิดฐานมีภาชนะสำหรับทำสุราแช่กับความผิดฐานมีภาชนะและเครื่องกลั่นสำหรับทำสุรากลั่นนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันของกลางก็คนละส่วน ทั้งสภาพของความผิดก็สามารถแยกออกเป็นต่างกรรมกันได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพย่อมต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมและต้องเรียงกระทงลงโทษ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยฐานทำสุราแช่ 360 บาทนั้นเป็นการเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกิน 200 บาท ศาลฎีกาจึงต้องแก้เสียให้เป็นการถูกต้อง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยฐานทำสุราแช่ 360 บาทนั้นเป็นการเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกิน 200 บาท ศาลฎีกาจึงต้องแก้เสียให้เป็นการถูกต้อง