คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 160

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 665 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาหลายกระทง และขอบเขตการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
การที่จะปรับบทว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ชอบที่จะต้องพิจารณาในฐานความผิดเป็นกระทง ๆไป เสมือนมิได้ร่วมแต่ละกระทงความผิดฟ้องมาในคดีเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้คนตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2+1 กระทงหนึ่งและผิดฐานขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์มาตรา 16,33 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทซึ่งเป็นกระทงหนักแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ลดโทษให้แล้ว ลงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารูปคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาท พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลย 50 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯมาตรา 16,33 นอกนั้นให้ยกเสีย ทั้งนี้ ในกระทงความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษากลับกันตรงข้ามนั้น ไม่ใช่เป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขตามนัยแห่งกฎหมาย จึงปรับบทให้ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ โจทก์ชอบที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงความผิดฐานนี้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้คำรับสารภาพของจำเลยประกอบพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์ในคดีอาญา ศาลฎีกาตัดสินให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ได้
โจทก์ฟ้องคดีอาญาอ้างบทลงโทษเกินกว่าสิบปี และโทษเบารวมกันมา จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์สืบพะยานประกอบในข้อหาอุกฉกรรจ์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำผิด ศาลก็ลงโทษในข้อหาฐานเมาได้ แม้คำพะยานโจทก์ในข้อหานี้จะไม่มีน้ำหนักก็ตาม เพราะจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ไม่มีกฎหมายบังคับให้สืบพะยานประกอบ เช่น ข้อหาอุกฉกรรจ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211-212/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกฟ้องจำเลยรายบุคคลเพื่อความสะดวกในการพิจารณาคดี ไม่ถือเป็นการถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาด
อัยการโจทก์แถลงขอแยกจำเลยคนหนึ่งไปฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาคดีสำหรับจำเลยคนอื่นๆ ที่รับสารภาพศาลอนุญาตให้แล้ว ดังนี้โจทก์ฟ้องคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ถอนนั้นใหม่ได้ไม่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211-212/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกฟ้องจำเลยในคดีอาญาเพื่อความสะดวกในการพิจารณาคดีอื่น ไม่ถือเป็นการถอนฟ้อง
อัยยการโจทก์แถลงขอแยกจำเลยคนหนึ่งไปฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาคดีสำหรับจำเลยคนอื่น ๆ ที่รับสารภาพ ศาลอนุญาตให้แล้ว ดังนี้โจทก์ฟ้องคดีฉะเพาะตัวจำเลยที่ถอนนั้นใหม่ได้ ไม่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318-321/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมโทษจำคุกหลายกระทง ลดโทษเหลือ 3 เดือน
ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย 4 สำนวน ตามมาตรา 293,59ในคำพิพากษาเดียวกันแล้วให้จำเลยรับโทษจำคุกเพียง 3 เดือนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318-321/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษจำคุกหลายกระทงความผิดซ้ำ และการพิจารณาโทษที่เหมาะสม
สาลพิพากสาลงโทสจำเลย 4 สำนวน ตามมาตรา 293-59 ไนคำพิพากสาเดียวกันแล้วไห้จำเลยรับโทสจำคุก เพียง 3 เดือนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมอันเดียวกัน ฟ้องซ้ำไม่ได้: เมื่อศาลพิพากษาคดีหนึ่งแล้ว โจทก์ไม่สามารถฟ้องคดีเดิมอีกโดยเปลี่ยนฐานความผิด
การกระทำอันเป็นกรรมเดียวนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษสำหรับความผิดฐานหนึ่ง และศาลพิพากษาไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องขอให้ลงโทษฐานอื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งแยกฟ้องคดีกักกันเป็นอีกสำนวน และการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาหลังศาลพิพากษาคดีหลัก
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์และขอให้กักกัน ศาลมีคำสั่งให้ยกฟ้องโทษฐานกักกันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์นั้นดังนี้ ถือว่าคำสั่งของศาลเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาจะอุทธรณ์ฉะเพาะคำสั่งของศาลที่ให้แยกฟ้องมิได้ต้องห้ามตามประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.196
of 67