พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การด่าด้วยคำหยาบคาย 'สันดานหมา' ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท หากเกิดจากความไม่พอใจส่วนตัว
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 จะต้องเป็นการใส่ความคือ การพูดหาเหตุร้าย หรือกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวว่า "ไอ้สันดานหมา" คำว่า "สันดาน" หมายความถึงอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งอาจมีสันดานดีหรือสันดานเลวก็ได้ แม้มักใช้ไปในทางไม่สู้จะดี แต่ก็มิใช่เป็นการใส่ความให้ร้ายผู้ร้อง ทั้งตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาไม่เชื่อว่าผู้ร้องจะเป็นเช่นนั้น เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ไม่น่าจะทำให้ผู้ร้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุที่จำเลยกล่าวถ้อยคำนั้น น่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่พอใจผู้ร้องที่ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ ส. ซึ่งเป็นหลานของจำเลยมาก่อนหน้านี้แล้ว ครั้นพนักงานสอบสวนเรียกคู่กรณีและผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นญาติไปไกล่เกลี่ย ผู้ร้องก็ยังคงยืนกรานให้ดำเนินคดี ส. ต่อไป โดยไม่เห็นแก่ความเป็นญาติ ย่อมทำให้จำเลยไม่พอใจผู้ร้องเพิ่มขึ้นไปอีก จึงเป็นการด่าผู้ร้องอันเนื่องมาจากความรู้สึกไม่พอใจผู้ร้อง ไม่ได้มีความมุ่งหมายถึงความประพฤติของผู้ร้องว่าเป็นคนมีอุปนิสัยที่ไม่ดีมาแต่กำเนิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: แม้ไม่ใช่พนักงานสอบสวนโดยตรง แต่การช่วยปฏิบัติหน้าที่ก็เข้าข่ายความผิดฐานดูหมิ่นได้
แม้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ตำแหน่งรองสารวัตรจราจร ไม่ใช่พนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจเปรียบเทียบคดีตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำการเป็นการเฉพาะตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 38 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำเองเป็นการเฉพาะตัวไปเสียทั้งหมด ดังจะเห็นได้จาก ป.วิ.อ. มาตรา 128 (1) และ (2) ได้บัญญัติให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะร้องขอหรือสั่งให้เจ้าพนักงานอื่นทำการแทนตนได้บ้าง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ร่วมช่วยร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบโดยนั่งเขียนใบเสร็จรับเงินชำระค่าปรับให้แก่ผู้ต้องหากระทำความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.จราจรทางบกตามที่ตั้งด่านกวดขันวินัยจราจร และผู้ต้องหายินยอมชำระค่าปรับตามที่ร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว อยู่บนโต๊ะใกล้ ๆ กับร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวน ถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้พนักงานสอบสวนต้องเขียนใบเสร็จรับเงินชำระค่าปรับด้วยตนเอง การกระทำของโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่พนักงานสอบสวนได้มอบหมายให้กระทำ และข้อความที่จำเลยลงในเฟซบุ๊กของจำเลยซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์สาธารณะว่า โจทก์ร่วมปิดหน้าปิดตายังกะโจร เป็นข้อความที่กล่าวสบประมาทโจทก์ร่วมขณะปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกระทงความผิดฐานกระทำชำเราเด็กโดยใช้อาวุธ: ศาลฎีกาวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยใช้อาวุธรวม 2 กระทง แม้ลงโทษจำคุกกระทงละตลอดชีวิต ก็เรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลย 2 กระทง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงิน: คำให้การของผู้ร่วมกระทำผิดและหลักฐานการโอนเงินเป็นเหตุรับฟังได้
การที่จำเลยที่ 2 เบิกความยอมรับข้อเท็จจริงที่จะเป็นเหตุบรรเทาโทษนั้น จะต้องให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา การที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบหลักฐานการโอนเงินจากธนาคารเจ้าของบัญชีของจำเลยทั้งสองจนพบการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 กับพวก แม้จำเลยที่ 2 จะไม่เบิกความยอมรับถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ก็ย่อมพิสูจน์ความผิดได้โดยง่าย การเบิกความยอมรับข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 2 เช่นนั้น ไม่เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จึงไม่มีเหตุลดโทษให้จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: กำหนดเวลาหนึ่งปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์
การขอคืนของกลางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถกระบะของกลางเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 จำเลยย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 จำเลยไม่ได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ โจทก์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในเวลาที่ขยายไว้ สิทธิที่ผู้ร้องจะขอคืนของกลางต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดจึงต้องนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6026/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวฐานใช้เอกสารราชการปลอม แม้เป็นเอกสารต่างประเภทกัน หากมีเจตนาเดียวกัน
จำเลยปลอมหนังสือราชการของกรมราชเลขานุการในพระองค์ขึ้น 3 ฉบับ และปลอมประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ขึ้นอีก 1 ฉบับ แล้วบันทึกภาพหนังสือราชการปลอมทั้งสี่ฉบับไว้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลย จากนั้นจัดส่งภาพหนังสือราชการปลอมทั้งสี่ฉบับโดยวิธีลง (โพ้สต์) ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายในคราวเดียวกันก็ด้วยเจตนาที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับสำนักพระราชวังซึ่งจัดดำเนินการโครงการบ้านพอเพียงในพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ตามเรื่องที่จำเลยกุขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามฟ้องนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว