คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1514

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา, สินสมรส, และการบังคับตามสัญญา
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ต่อมาโจทก์ได้ทำร้ายจำเลยทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันต่อไป จึงไปทำความตกลงกันที่สถานีตำรวจ โดยให้เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกว่า โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันและจะแบ่งทรัพย์สินกันตามบันทึก ซึ่งมีร้อยตำรวจโทส. และจ่าสิบตำรวจ จ. เป็นพยาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการหย่าและเพื่อให้จำเลยไม่ติดใจเอาความโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยได้รับทรัพย์สินจากโจทก์เป็นการตอบแทน เมื่อมิได้เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลใช้เป็นหลักฐานแห่งการหย่าได้ตามมาตรา 1514 วรรคสอง และยังใช้บังคับในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินตามบันทึกนั้นได้ด้วย ข้อตกลงเรื่องการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นข้อตกลงที่แบ่งแยกจากกันมิได้ จึงมิได้เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างเดียวโดยตรง อันจะมีผลทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินที่ว่าโจทก์ตกลงขายรถยนต์ที่โจทก์ใช้อยู่โดยจะแบ่งเงินที่ขายได้ให้แก่โจทก์ 20,000 บาทจำเลยจะจ่ายให้ทันที่ 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยจะจ่ายเป็นเช็คให้อีก 10,000 บาท มีกำหนด 1 เดือน นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังใช้รถยนต์อยู่มิได้ขายตามข้อตกลง ส่วนจำเลยก็ชำระเงินให้โจทก์ไปเพียง 10,000 บาท ดังนั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดถึงกรณีที่มิได้ขายรถไว้ว่าคู่กรณีตกลงกันอย่างไร จึงต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้ เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะได้เงินจากการขายรถเพียง 20,000 บาท เงินส่วนที่เหลือจากการขายเป็นของจำเลยทั้งหมด เมื่อไม่มีการขายรถ จำเลยจึงควรจะเป็นผู้มีสิทธิจัดการเกี่ยวกับรถนั้นโดยชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อตกลงจำนวน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบรถให้แก่จำเลย บันทึกข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจะใช้บังคับทรัพย์สินอื่นที่มีอยู่ก่อนหรือได้มาหลังข้อตกลงนอกจากที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงนั้นไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างนั้นจึงต้องเป็นสินสมรสที่จะต้องนำมาแบ่งครึ่งกั สร้อยคอทองคำและพระเครื่องที่จำเลยซื้อให้แก่โจทก์ระหว่างสมรสเป็นทรัพย์ที่เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากมีการตกลงจะหย่ากัน เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นสินสมรส การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาตามคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จตกทอด
ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรคสอง มิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องทำหนังสือยินยอมหย่าที่บ้านของคู่กรณี จะทำที่ไหนก็ได้ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนการหย่า เมื่อได้ความว่าหนังสือยินยอมหย่าระหว่างโจทก์และ ว. ทำขึ้นที่ว่าการอำเภอก่อนที่จะมีการจดทะเบียนการหย่าโดยทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้และมีพยานลงลายมือชื่อสองคนถูกต้อง จึงเป็นหนังสือยินยอมหย่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์และ ว. ได้นำหนังสือยินยอมหย่ามาแสดงและเจ้าพนักงานทะเบียนได้จดทะเบียนให้ตามความต้องการแล้ว การหย่าของโจทก์กับ ว. ก็มีผลสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1515 นับแต่ได้มีการจดทะเบียนการหย่า ส่วนการที่มีระเบียบการจดทะเบียนครอบครัวฯกำหนดให้นายทะเบียนที่รับการจดทะเบียนต้องแจ้งการจดทะเบียนการหย่าไปยังที่ว่าการอำเภอที่จดทะเบียนสมรสก็ดี หรือต้องแจ้งไปยังสำนักงานทะเบียนกลาง กรุงเทพมหานครก็ดี เป็นแต่เพียงวิธีการในการปฏิบัติราชการให้มีหลักฐานปรากฏเพื่อประโยชน์แก่การควบคุมและตรวจสอบการรับจดทะเบียนอันเป็นการวางระเบียบภายในให้ถือปฏิบัติระหว่างเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยด้วยกันเท่านั้นการที่ไม่แจ้งไปจึงไม่ทำให้การจดทะเบียนการหย่านั้นไม่สมบูรณ์แต่ประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเพื่อยืนยันการหย่าโดยความยินยอม แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือหย่า และอำนาจศาลในการสั่งให้หย่า
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจ ย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนัก-นายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานทูตหรือกงสุลไทยก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วเมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่ให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียน สำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด
แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศหากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้
เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเพื่อยืนยันผลหนังสือหย่าที่ทำไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนหย่าตามข้อตกลง
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานฑูตหรือกงสุลไทย ก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศ หากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าโดยอาศัยหนังสือหย่าที่ทำขึ้นโดยความยินยอม และการบังคับใช้คำพิพากษาให้จดทะเบียนหย่า
โจทก์คนสัญชาติไทย จำเลยคนสัญชาติอินเดีย จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ. การสมรส ค.ศ. 1949ของประเทศอังกฤษ แม้มิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียน อำเภอ หรือ กิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียนณ ที่ทำการสถานทูต หรือกงสุลไทยก็ตาม เมื่อได้ทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจ ทั้งตามกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์และจำเลยต่างก็ยินยอมให้คู่สมรสหย่ากันโดยความยินยอมได้ ศาลไทยจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา การหย่าโดยทำหนังสือหย่ากันเองมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้แต่เฉพาะระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น จะอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนหย่าแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1515 หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าเท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามหนังสือหย่า โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516และการฟ้องของโจทก์เช่นนี้ก็เพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเพื่อให้การหย่าโดยความยินยอมสมบูรณ์ แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือหย่า
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานฑูตหรือกงสุลไทย ก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศ หากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หย่าโดยความยินยอมจากบันทึกข้อตกลง & สินสมรสจากทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส
การที่โจทก์ จำเลย ประสงค์จะหย่าขาดจากกันจึงไปทำบันทึกในรายงานประจำวัน ณ สถานีตำรวจมีข้อความว่าโจทก์และจำเลยจะทำการหย่าร้างจากการเป็นสามีภริยากันให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลังส่วนเรื่องทรัพย์สินของสามีภริยาส่วนตัวจะไปทำความตกลงกันเองโดยโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 2 นาย ลงลายมือชื่อไว้ด้วย นั้น แม้ในบันทึกดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนายลงลายมือชื่อในฐานะพยาน แต่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวก็กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามหน้าที่และรับรู้ข้อตกลงของโจทก์จำเลย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงนี้ เมื่อข้อความในบันทึกดังกล่าวระบุอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์ จำเลยจะทำการหย่าร้างกันตามกฎหมาย โดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึก และมีพยานลงลายมือชื่ออีก 2 คนแล้วบันทึกดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงการหย่าโดยความยินยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1514 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนหย่าได้ ที่ดินและบ้านโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มาหลังจากทำการสมรสกับจำเลยแล้วโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันซื้อมา จึงเป็นสินสมรส ตู้เย็น โทรทัศน์สี และตู้ลำโพง อันเป็นของใช้ภายในบ้านเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส ที่ดินซึ่งจำเลยซื้อมาในระหว่างสมรสและมีชื่อ โจทก์ จำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โดยจำเลยนำเงินที่ได้จากการค้าขายและเงินเดือนไปซื้อ นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส การที่จำเลยนำเงินที่เป็นสินสมรสไปซื้อที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริตและขาดความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริต และอำนาจฟ้องของคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคู่สมรสจดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือยินยอมตามกฎหมาย
สามีภรรยาทำหนังสือยินยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน ไว้ ้ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้วเมื่อสามีไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าให้ ภรรยาก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้บังคับสามีไปจดทะเบียนหย่าได้
of 4