คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และฎีกาในคดีทรัพย์มรดก สิทธิเช่าซื้อที่ดิน และการตกทอดทางมรดก
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน
ฟ้องโจทก์ระบุว่าอาวุธปืนพิพาทมีราคา 20,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าอาวุธปืนพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์จึงมีเพียง20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยก็ถือว่าไม่ชอบ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ให้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินระบุว่าหากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างเช่าซื้อ ที่ดินที่เช่าซื้อนี้จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าว ส่วนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่ ส.ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ตกทอดแก่ทายาทของ ส.ทันทีเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก่อนระเบียบดังกล่าวประกาศใช้แล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาบังคับใช้กับคดีนี้ไม่ได้ จำเลยที่ 1 มารดาของ ส. และจำเลยที่ 2 และที่ 3บุตรของ ส.เป็นทายาทโดยธรรมของ ส.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในสิทธิการเช่าที่ซื้อที่ดินร่วมกับโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 และตามพ.ร.บ.เพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินปฏิรูปที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ แม้ผู้ซื้อจะสุจริต
แม้บ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลก็ตาม แต่ที่ดินพิพาททางราชการประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและได้ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในนามของ ศ.อันเป็นการออกให้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518ซึ่งจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร ฯลฯ และเมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการฯ ตามบทกฎหมายดังกล่าว การขายทอดตลาดจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แม้โจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330เมื่อจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่ขัดต่อกฎหมาย ทำให้ผู้ซื้อไม่มีสิทธิในที่ดิน แม้จะซื้อโดยสุจริต
แม้บ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลก็ตาม แต่ที่ดินพิพาททางราชการประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและได้ออกหนังสืออนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในนามของ ศ.อันเป็นการออกให้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518ซึ่งจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร ฯลฯ และเมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการฯ ตามบทกฎหมายดังกล่าวการขายทอดตลาดจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150แม้โจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาล โจทก์ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 เมื่อจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9780/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิรูปที่ดินชอบด้วยกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินปฏิรูปเป็นโมฆะ
ในกรณีมีที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในเขตปฏิรูปที่ดิน พระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 16(1) บังคับให้ต้องจัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันแทน และให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เฉพาะกรณีที่ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นพลเมืองยังคงใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่หากเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่เลิกใช้ประโยชน์แล้วก็ไม่ต้องมีการจัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทนโดยคณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่อย่างใด และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินสาธารณประโยชน์เหล่านั้นด้วย โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดินอีก พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา 39ห้ามบุคคลที่ได้รับสิทธิให้ทำกินในที่ดินโดยการปฏิรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่น ดังนั้น หากมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวกันเอง ก็เป็นการขัดกับบทบัญญัติดังกล่าวสัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8147/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินปฏิรูป: การได้มาซึ่งสิทธิและการโอนสิทธิในที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดิน
การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินโอนสิทธินั้นไปยังบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดโดยทางมรดก ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนปฏิรูปที่ดิน แต่เมื่อทางราชการประกาศให้เขตที่ที่ดินพิพาทตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ ย่อมมีสิทธิที่จะนำไปให้บุคคลใดที่มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ได้ เมื่อทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินได้ตรวจสอบคุณสมบัติของโจทก์แล้วอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองมาแต่เดิมหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูป: ต้องเป็นที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาจัดให้เกษตรกรตามกฎหมายเท่านั้น
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39ซึ่งบัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้น ไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการ ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า การโอนสิทธิ ในที่ดินไปยังผู้อื่นจะกระทำมิได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวต่อเมื่อ ที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม กล่าวคือ เป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมหรือ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แล้วนำที่ดินนั้นมาจัดให้ เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ดังนั้น สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาทตามฟ้องจะเป็นโมฆะ เพราะต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ ต่อเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการ ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเช่นนั้น เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทท้ายฟ้องเป็นโมฆะหรือไม่ 2. จำเลยทำสัญญาขาย ที่ดินพิพาทให้โจทก์หรือไม่ และ 3. โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสอง ทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยในเขตโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมตามสำเนาแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ให้แก่ โจทก์ตามสำเนาสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมายเลข 3 และจำเลย ทั้งสองให้การว่าสัญญาจะซื้อขายเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็น โมฆะ เพราะที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมซึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้เพื่อทำประโยชน์เฉพาะราย ไม่สามารถ โอนการครอบครองหรือเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองทำประโยชน์ นั้น พอฟังได้เพียงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ยังไม่ พอให้ ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมได้มาและจัดให้จำเลยทั้งสองตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 จนที่ดิน นั้นเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเป็น ต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะวินิจฉัย ประเด็นข้อพิพาทข้อแรกที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะ หรือไม่ และประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ๆ ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้งดสืบพยาน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย การงดสืบพยานก่อนพิสูจน์สิทธิเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือ ส.ป.ก.เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า การโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นจะกระทำมิได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวต่อเมื่อที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กล่าวคือ เป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือ ส.ป.ก.ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แล้วนำที่ดินนั้นมาจัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518ดังนั้น สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจะเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเช่นนั้น
เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทท้ายฟ้องเป็นโมฆะหรือไม่ 2. จำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์หรือไม่ และ3. โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยในเขตโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามสำเนาแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ให้แก่โจทก์ตามสำเนาสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมายเลข 3 และจำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจะซื้อขายเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็นโมฆะ เพราะที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้เพื่อทำประโยชน์เฉพาะราย ไม่สามารถโอนการครอบครองหรือเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองทำประโยชน์นั้น พอฟังได้เพียงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ยังไม่พอให้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาและจัดให้จำเลยทั้งสองตามมาตรา 30แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 จนที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้อแรกที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ และประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ๆ ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่เป็นโมฆะ และสิทธิการครอบครองของเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรร
การซื้อขายที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้นเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินฯมาตรา 39 จึงเป็นโมฆะกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 ตาม พ.ร.บ. ปฏิรูปที่ดินฯ มาตรา 19(7) และ 37 ผู้ที่จะเข้าอยู่ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินได้ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน และห้ามมิให้ยกอายุความครอบครองขึ้นต่อสู้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานฯ ได้มา ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินฯ ดังนั้น ในเขตปฏิรูปที่ดินบุคคลที่มิได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่มีสิทธิแย่งการครอบครองจากบุคคลที่ได้รับจัดสรรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ในเขตปฏิรูปเกิน 1 ปี ก็ไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปการที่จำเลยเข้าไปไถข้าวฟ่าง ที่โจทก์ปลูกไว้ย่อมเป็นการละเมิดส่วนค่าเสียหายจำเลยมิได้โต้แย้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดมากน้อยแต่ประการใด จำเลยจึงต้องรับผิดค่าเสียหายต่อโจทก์ตามจำนวนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ ผู้ไม่ได้รับการจัดสรรไม่มีสิทธิแย่งการครอบครอง
การซื้อขายที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 จึงเป็นโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ในเขตปฏิรูปที่ดินบุคคลที่มิได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่มีสิทธิแย่งการครอบครองผู้ที่ได้รับจัดสรรเพราะเมื่อผู้ได้รับจัดสรรที่ดินละทิ้งการครอบครองไป การครอบครองที่ดินก็กลับตกมาเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกครั้ง ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดสรรให้เกษตรกรที่เหมาะสมได้รับต่อไป และพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 37 ห้ามมิให้ยกอายุความครอบครองขึ้นต่อสู้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว.
of 3