พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8120/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเจ้าพนักงานประเมินที่ไม่ชอบ เนื่องจากแบบแสดงรายการภาษีถูกต้อง
แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 24มิถุนายน 2536 นั้น เป็นฉบับที่โจทก์ยื่นปกติมิใช่ฉบับยื่นเพิ่มเติม แม้โจทก์มิได้ยื่นตามกำหนดเวลาตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83 วรรคสอง ก็ตาม แต่ผลการตรวจสอบปรากฏว่า ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ภาษีขาย ยอดซื้อที่เสียภาษีแล้วภาษีซื้อ ภาษีที่ชำระเกิน และภาษีสุทธิที่ชำระเกิน ตรงตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้ทุกรายการ เช่นนี้ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์ยื่นปกติสำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2536 จึงมิได้มีข้อผิดพลาดหรือมีการแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นเหตุให้จำนวนภาษีในเดือนภาษีมีนาคม 2536 คลาดเคลื่อนไปแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ส่วนปัญหาที่ว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีมีนาคม 2536 ภายในกำหนดเวลาโจทก์จะต้องรับผิดหรือไม่อย่างไร ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5878/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับกรณีใช้ใบกำกับภาษีปลอม: ลงโทษตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) นั่นย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไป อันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) และ (4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) และ (4) อีกด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษีอากร และการงดเบี้ยปรับเนื่องจากความเชื่อโดยสุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าวจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บลงบางส่วน โจทก์เห็นว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายเพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมใบกำกับภาษีไว้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ขอให้เพิกถอนการประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ผิดต่อมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากรขอศาลงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายใด เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มกล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตามแต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้วอีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) เมื่อบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่า ศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้ว การฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษีอากร และการงดเบี้ยปรับเนื่องจากความสุจริตของผู้เสียภาษี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าว จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บลงบางส่วน โจทก์เห็นว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายเพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมใบกำกับภาษีไว้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ขอให้เพิกถอนการประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์ผิดต่อมาตรา 89 (4)แห่ง ป.รัษฎากร ขอศาลงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายใด เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้ว อีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด
กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เมื่อบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามป.รัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้วการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้ว อีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด
กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เมื่อบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามป.รัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้วการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม การเฉลี่ยภาษีซื้อ และอำนาจศาลในการงดเบี้ยปรับ
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์2535เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ที่ส่วนหนึ่งจะใช้เป็นสำนักงานของโจทก์ส่วนที่เหลือจะให้เช่าเป็นสำนักงานซึ่งขอคืนภาษีซื้อไม่ได้เนื่องจากกิจการให้เช่าอาคารได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่จะใช้เป็นสำนักงานนั้นขอคืนภาษีซื้อได้แต่จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อโดยปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่29)เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา82/6แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่9มีนาคม2535คือแจ้งจำนวนพื้นที่ที่จะใช้เป็นอาคารสำนักงานให้จำเลยที่1ทราบแต่โจทก์ก็ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่1ทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีซื้อสำหรับใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้จึงแสดงจำนวนภาษีซื้อเกินไปเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์ได้ตามมาตรา 89(4)แห่งประมวลรัษฎากรแต่เนื่องจากภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนเป็นภาษีซื้อของเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวก็เพิ่งจะประกาศในวันที่9มีนาคม2535หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อไปแล้วทั้งเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยวงอนจึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด ศาลมีอำนาจงดหรือลดเบี้ยปรับได้เพราะเมื่อบทบัญญัติมาตรา30(2)แห่งประมวลรัษฎากรให้โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลเพื่ออุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ศาลย่อมมีอำนาจในการพิจารณาว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่หากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากความผิดพลาดในการยื่นแบบแสดงรายการ ศาลลดเบี้ยปรับเมื่อให้ความร่วมมือและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ในเดือนกรกฎาคม2535โจทก์มียอดซื้อเพียง19,562.69บาทและมีภาษีซื้อ1,369.38บาทโดยยอดซื้อดังกล่าวมียอดซื้อที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เพียง2,144.87บาทขอภาษีคืนตามกฎหมายได้เพียง150.13บาทแต่โจทก์ได้ยื่นแบบภ.พ.30แสดงรายการภาษีไว้ผิดพลาดไม่ถูกต้องโดยแสดงตัวเลขยอดซื้อไว้เป็น19,562,069บาทยอดภาษีซื้อ1,369,344.83บาทภาษีขายไม่มีและขอภาษีคืนเป็นจำนวนเงิน1,369,344.83บาทดังนั้นการยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์จึงเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปโจทก์จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(4)แม้จะเป็นการกระทำไปโดยมีเจตนาหรือไม่โจทก์ก็ยังคงต้องรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่เมื่อโจทก์ตรวจพบข้อผิดพลาดแล้วโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องทราบและได้ให้ความร่วมมือกับจำเลยด้วยดีทั้งข้อผิดพลาดของโจทก์ก็ยังมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยจึงสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์ลงอีกร้อยละ25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คลาดเคลื่อน และการลดเบี้ยปรับจากความผิดพลาดในการยื่นแบบ
ในเดือนกรกฎาคม 2535 โจทก์มียอดซื้อเพียง 19,562.69 บาทและมีภาษีซื้อ 1,369.38 บาท โดยยอดซื้อดังกล่าวมียอดซื้อที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เพียง 2,144.87 บาท ขอภาษีคืนตามกฎหมายได้เพียง 150.13 บาท แต่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงรายการภาษีไว้ผิดพลาดไม่ถูกต้อง โดยแสดงตัวเลขยอดซื้อไว้เป็น 19,562,069 บาท ยอดภาษีซื้อ 1,369,344.83 บาท ภาษีขายไม่มี และขอภาษีคืนเป็นจำนวนเงิน 1,369,344.83 บาท ดังนั้นการยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์จึงเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป โจทก์จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 89(4) แม้จะเป็นการกระทำไปโดยมีเจตนาหรือไม่โจทก์ก็ยังคงต้องรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ตรวจพบข้อผิดพลาดแล้วโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องทราบ และได้ให้ความร่วมมือกับจำเลยด้วยดี ทั้งข้อผิดพลาดของโจทก์ก็ยังมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยจึงสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์ลงอีกร้อยละ 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีซื้อผิดพลาดและการลดเบี้ยปรับกรณีความผิดพลาดนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ในเดือนกรกฎาคม 2535 โจทก์มียอดซื้อเพียง 19,562.69 บาทและมีภาษีซื้อ 1,369.38 บาท โดยยอดซื้อดังกล่าวมียอดซื้อที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เพียง 2,144.87 บาท ขอภาษีคืนตามกฎหมายได้เพียง 150.13 บาท แต่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงรายการภาษีไว้ผิดพลาดไม่ถูกต้อง โดยแสดงตัวเลขยอดซื้อไว้เป็น 19,562,069 บาท ยอดภาษีซื้อ 1,369,344.83 บาท ภาษีขายไม่มี และขอภาษีคืนเป็นจำนวนเงิน 1,369,344.83 บาท ดังนั้น การยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์จึงเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป โจทก์จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินตาม ป.รัษฎากร มาตรา89 (4) แม้จะเป็นการกระทำไปโดยมีเจตนาหรือไม่ โจทก์ก็ยังคงต้องรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ตรวจพบข้อผิดพลาดแล้วโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องทราบ และได้ให้ความร่วมมือกับจำเลยด้วยดี ทั้งข้อผิดพลาดของโจทก์ก็ยังมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จึงสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์ลงอีกร้อยละ 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม กรณีส่งออกสินค้าอัตรา 0% และไม่มีภาษีเปลี่ยนแปลง
โจทก์กรอกรายการยอดขายที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0ขาดไป 1,000,000 บาท จึงเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี ให้ถูกต้องครบถ้วน แต่ถ้าไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจดทะเบียนก็ยังคงมีหน้าที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งให้ถูกต้อง โดยไม่ต้องชำระภาษีแต่อย่างใด ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/4 คดีนี้ โจทก์ส่งสินค้าประเภทเซรามิคไปขายที่ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศอันเป็นการส่งออกตามนัยมาตรา77/1 (14) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับการประกอบกิจการประเภทการส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (3) แต่ตามมาตรา 80/1 (1) แห่ง ป.รัษฎากรกำหนดให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเปลี่ยนแปลงไป ที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้ถูกต้องพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แห่งป.รัษฎากร ดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 89 (4) และ 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง และหน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์กรอกรายการยอดขายที่ต้องเสียบภาษีในอัตราร้อยละ0ขาดไป1,000,000บาทจึงเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบนแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนโจทก์มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับชำระภาษีถ้ามีให้ถูกต้องครบถ้วนแต่ถ้าไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีเปลี่ยนแปลงไปผู้ประกอบการจดทะเบียนก็ยังคงมีหน้าที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งให้ถูกต้องโดยไม่ต้องชำระภาษีแต่อย่างใดตามประมวลรัษฎากรมาตรา83/4คดีนี้โจทก์ส่งสินค้าประเภทเซรามิคไปขายที่ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศอันเป็นการส่งออกตามนัยมาตรา77/1(14)แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับการประกอบกิจการประเภทการส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา81(3)แต่ตามมาตรา80/1(1)แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ0ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องแต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเปลี่ยนแปลงไปที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้ถูกต้องพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตามมาตรา83/4แห่งประมวลรัษฎากรดังนี้กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา89(4)และ89/1แห่งประมวลรัษฎากร