คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 ม. 19 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คืนภาษีอากรเมื่อส่งออกไม่ได้จากภัยพิบัติ vs. งดเว้นเงินเพิ่มจากเหตุสุดวิสัย
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 19 ทวิ บัญญัติว่า "ของที่ส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ... ถ้าพิสูจน์เป็นที่พอใจอธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายว่าได้ผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ให้คืนเงินอากรขาเข้าสำหรับของดังกล่าวที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วให้แก่ผู้นำของเข้า ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้...(ง) ของนั้นได้ส่งออกไปภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นำของซึ่งใช้ในการผลิต ผสม หรือประกอบเป็นของที่ส่งออก หรือใช้บรรจุของที่ส่งออก เข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่อาจส่งออกภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีอาจขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินหกเดือน..." และมาตรา 19 ตรี บัญญัติว่า "เมื่อผู้นำของเข้าแสดงความจำนงว่าของที่นำเข้าจะใช้เฉพาะในการผลิต... เพื่อการส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ... อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะอนุญาตให้รับการค้ำประกัน... แทนการชำระอากรขาเข้าที่ต้องเสีย...เมื่อมีการส่งออกซึ่งของที่จะได้คืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ ก็ให้คืนหลักประกันโดยถือเสมือนว่าเป็นการคืนเงินอากร"
การคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือการคืนเงินประกันโดยถือเสมือนว่าเป็นการคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ กำหนดไว้เพียงกรณีเดียว คือ เมื่อผู้นำเข้าได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีว่าของที่ส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศนั้น ได้ผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 19 ทวิ (ก) ถึง (จ)
แม้กากถั่วเหลืองที่โจทก์นำเข้าได้ใช้ผสมอาหารสัตว์เลี้ยงไก่เพื่อส่งไก่สดแช่แข็งไปจำหน่ายในต่างประเทศ และเหตุที่โจทก์ไม่สามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งดังกล่าวได้ภายในกำหนดเวลาของกฎหมายนั้นจะเกิดจากการที่ต่างประเทศห้ามนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากกรณีภัยพิบัติไข้หวัดนก อันมิใช่ความผิดของโจทก์ก็ตาม ก็หาใช่เหตุตามมาตรา 19 ทวิ ที่โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระอากรขาเข้าแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินอากรขาเข้าแก่โจทก์
การที่โจทก์ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ได้เพราะ รัฐบาลห้ามส่งออก คู่ค้าต่างประเทศประกาศห้ามนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากประเทศไทย อันเป็นเหตุจากไข้หวัดนกระบาด รัฐบาลประกาศภัยพิบัติไข้หวัดนกให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องหาแนวทางให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประสบภัยโดยออกประกาศกรมศุลกากรที่ 28/2547 ขยายเวลาการส่งออกไก่สดเป็ดสดแช่เย็นแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์อาหารที่ปรุงจากเนื้อไก่เป็ด ออกไปอีกหกเดือนสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2546 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2547 โจทก์ก็ยังไม่สามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งได้จากเหตุภัยพิบัติดังกล่าว ซึ่งเป็นเหตุที่ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ กรณีจึงมีเหตุงดเงินเพิ่มแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าอากรโดยผู้ค้ำประกันและการฟ้องเรียกหนี้ส่วนที่ขาดจากลูกหนี้ชั้นต้น
ธนาคารผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันให้กรมศุลกากรโจทก์ทำให้หนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มระงับลงบางส่วน แม้ธนาคารจะรับช่วงสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 693 วรรคสอง ประกอบมาตรา 229 (3) แต่เมื่อเงินที่ธนาคารชำระยังไม่คุ้มค่าอากรและเงินเพิ่มที่จำเลยต้องชำระ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าอากรและเงินเพิ่มส่วนที่ขาดจากจำเลยในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นได้
โจทก์เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันล่าช้า แต่เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 มาตรา 19 ตรี มิได้กำหนดอายุความการใช้สิทธิเรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันการไม่ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มของผู้นำเข้าตามมาตรา 19 ทวิ จึงมึอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรเมื่อไม่ได้ส่งออกสินค้าตามกำหนด และสิทธิการเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศโดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวางประกัน และรับของไปจากอารักขาของศุลกากรเป็นเพียงการผ่อนผันชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตสินค้าส่งออกไปต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามกฎหมาย ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำเงินอากรขาเข้าและภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องติดตามทางถามให้จำเลยชำระ ทั้งตาม พ.ร.บ. ศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยตามกฎหมาย
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางก็ไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรว่าถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) ตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ และเมื่อเรียกจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วหนี้ยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่มแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) และเงินเพิ่ม จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและภายในชอบที่กฎหมายบัญญัติ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินและชำระภาษีอากร: สิทธิของเจ้าพนักงานในการตรวจสอบและประเมินภาษี แม้เวลาตรวจสอบจะเนิ่นนาน
จำเลยนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อผลิตส่งออก โดยยื่นใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าเพื่อใช้สิทธิขอคืนภาษีอากร แต่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไข จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีหน้าที่ประเมินภาษีด้วยตนเอง ตามวิธีการและตามเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายแล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากรตามจำนวนที่พึงต้องชำระ หากจำเลยประเมินไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานของโจทก์ทั้งสองตรวจพบก็จะทำการประเมินใหม่และมีอำนาจประเมินให้จำเลยต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มได้ด้วย ดังนั้นการเสียภาษีจึงมิได้เกิดจากข้อสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย โจทก์ทั้งสองเป็นเพียงผู้ตรวจสอบการเสียภาษีของจำเลยเท่านั้น ถึงแม้จะใช้เวลาตรวจสอบเนิ่นนานไปก็มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระภาษีอากรและเงินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีสำแดงราคาต่ำกว่าราคาตลาด และไม่ชำระภายในกำหนดตามกฎหมายศุลกากร
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้นมิได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิ ซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร กรณีสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าราคาตลาด
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้ พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อผิดเงื่อนไขการนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก และการประเมินราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ 1. กรณีไม่ได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ และ 2. กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 หรือ 45
สินค้าพิพาทตามรายการที่ 1 จำเลยนำเข้าสินค้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แล้วจำเลยไม่ได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จำเลยจึงไม่มีสิทธิในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี และการที่จำเลยนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยได้วางประกันไว้เป็นหนังสือของธนาคารถือว่าเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ชำระอากรไว้ตามที่โจทก์อุทธรณ์นั้น เมื่อเกิดกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกให้ธนาคารที่เป็นประกันชำระเงินได้ทันทีอยู่แล้ว จะถือว่าการที่จำเลยไม่ชำระค่าอากรเป็นการผิดบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี แล้วไม่ได้
ส่วนสินค้าพิพาทตามรายการที่ 2 แม้จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารและมิได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี เช่นกัน แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนอากรขาเข้ากรณีของเสียหายจากเพลิงไหม้ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออก
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยแสดงความจำนงต่อจำเลยทั้งสองว่าจะใช้ของที่นำเข้ามานั้นในการผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุเพื่อการส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี เพื่อขอคืนเงินอากรขาเข้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 และโจทก์มิได้ชำระอากรขาเข้าเพราะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารแทนการชำระภาษีอากรที่จะต้องเสีย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ตรี แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้ การคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือการคืนประกันโดยถือเสมือนว่าเป็นการคืนเงินค่าภาษีอากรนั้น มาตรา 19 ทวิบัญญัติไว้เพียงกรณีเดียว คือ เมื่อได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายว่าของที่ส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศนั้น ได้ผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 19 ทวิ (ก)- (จ) ด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งของที่ผลิตด้วยเส้นด้ายใยยาวสังเคราะห์ทำด้วยโปลีเอสเตอร์และผ้าทอโปลีเอสเตอร์ใยสั้นที่ได้นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด1 ปี จึงไม่อาจขอคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระหรือขอคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามมาตรา 19 ทวิ
แม้ว่าของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่ยังมีสภาพเป็นวัตถุดิบและที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วอยู่ในขั้นเตรียมการเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมดขณะที่เก็บไว้ในโรงงานของโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือเรียกหนังสือค้ำประกันคืนจากจำเลยในก่อนนี้ได้
ตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้า ซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิบดี-กรมศุลกากรในอันที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของที่เก็บในคลังสินค้า หรือที่ยื่นใบขนเพื่อเก็บในคลังสินค้าหรือที่ยื่นใบขนเพื่อรับมอบไปจากคลังสินค้าแล้วเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ ในขณะที่อยู่บนเรือหรือในเวลาย้ายถอนขนขึ้น ในเวลารับเข้าเก็บในคลังสินค้า หรือเวลาที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า แต่โรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของที่นำเข้าดังกล่าว มิได้เป็นคลังสินค้า ฉะนั้น แม้เพลิงจะได้ไหม้ของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบที่เก็บรักษาในอาคารโรงงานของโจทก์จนเสียหายไปทั้งหมด ไม่ว่าการที่เกิดเพลิงไหม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ อธิบดีกรมศุลกากรก็ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นให้แก่โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ว่า การที่โจทก์ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าออกภายในกำหนด 1 ปี มิใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชอบในค่าภาษีอากรตามฟ้องและสมควรได้รับอากรขาเข้าคืน ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 19 ทวิ หรือไม่เป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยว่า การที่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามฟ้อง ทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ที่โรงงานของโจทก์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าที่ผลิตหรือประกอบหรือผสมหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศ แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจากจำเลยทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี แม้จะมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วคืน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแล้ว