พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการใช้ดุลพินิจรับฟ้องคดีอาญาที่จำเลยถูกจำคุกในเรือนจำอื่น
แม้คดีนี้จำเลยถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 เรือนจำกลางเขาบินจึงเป็นที่อยู่ของจำเลย ศาลชั้นต้นมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิได้เป็นบทบังคับให้ศาลชั้นต้นจะต้องรับฟ้องไว้พิจารณาเสมอไป แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะรับคดีไว้พิจารณาหรือไม่ เมื่อนับถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ เป็นระยะเวลา 4 ปีเศษ ใกล้เวลาที่จำเลยจะพ้นโทษตามคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2057/2556 ของศาลจังหวัดสมุทรปราการแล้ว ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ในศาลจังหวัดสมุทรปราการที่มูลคดีเกิดจึงเป็นการสะดวกมากกว่า ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่ประทับฟ้อง จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5312/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การพิจารณาคดีอาญาที่เกิดในท้องที่อื่น จำเลยมีภูมิลำเนาที่ศาลชั้นต้น และความสะดวกในการพิจารณา
แม้เรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี เป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นบทบังคับให้ศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความสะดวกในการพิจารณาคดี ได้ความตามฟ้องโจทก์ว่า ขณะจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำกลางสงขลา เจ้าพนักงานตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด 30 เม็ด ชนิดเกล็ดใสบรรจุถุงพลาสติก 1 ถุง โทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ซิมการ์ด 3 อัน และเมมโมรี่การ์ด 1 อัน ซึ่งเป็นสิ่งของต้องห้ามที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและนำเข้ามาภายในเรือนจำกลางสงขลา อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 66 และ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 45 เป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี เมื่อเหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสงขลา และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสงขลาเป็นผู้สอบสวนคดี แม้โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลชั้นต้นแล้วจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดสงขลา แต่จำเลยก็โต้แย้งมาในฎีกาว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตรวจยึดได้ไม่ใช่ของจำเลยเพราะตรวจยึดได้จากห้องนอนรวม โดยจำเลยประสงค์อ้างนักโทษชาย ส. นักโทษชาย ว. และนักโทษชาย ธ. ที่ร่วมรู้เห็นในการตรวจยึด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ประจำเรือนจำกลางสงขลาอีกหลายคนที่ร่วมสอบข้อเท็จจริงเป็นพยานจำเลย แม้พยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ตรวจค้น จับกุมและสอบสวนต่างเป็นเจ้าพนักงานของรัฐสามารถเดินทางจากจังหวัดสงขลามาเบิกความที่ศาลชั้นต้นได้โดยสะดวก แต่เมื่อพิจารณาถึงพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งเป็นนักโทษถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางสงขลา ย่อมไม่สะดวกที่จะเคลื่อนย้ายนักโทษเหล่านั้นมาเบิกความที่ศาลชั้นต้น ทั้งคดีนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมีอัตราโทษสูง สมควรให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับชำระคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3438/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, ความสมบูรณ์ของฟ้อง, คำรับสารภาพ, และเหตุรอการลงโทษในคดีพนัน
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร แต่ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ระบุว่า คดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนเป็นผู้สอบสวน จำเลยมิได้โต้แย้งว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนไม่มีอำนาจสอบสวน ดังนั้น ความผิดที่เกิดขึ้นจะฟ้องที่ศาลซึ่งท้องที่ที่สอบสวนอยู่ในเขตอำนาจก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 เมื่อสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงธนบุรี โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงธนบุรีได้
โจทก์ฟ้องด้วยวาจา ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกโดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกฟ้อง ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น เมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลแล้วได้ความว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 จำเลยกับพวกที่หลบหนีและ ด. กับพวกรวม 4 คน ร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบอันเป็นการพนันตามบัญชี ข. อันดับที่ 16 ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ พนันเอาทรัพย์สินกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้เป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วน ด. กับพวกเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้หรือผู้เล่น และโพยของกลางเป็นของ ด. กับพวกจำนวนเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หากจำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งคดีนี้จำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์โดยมิได้หลงข้อต่อสู้ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามฟ้อง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิใช่เจ้ามือรับกินรับใช้ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
โจทก์ฟ้องด้วยวาจา ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกโดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกฟ้อง ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น เมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลแล้วได้ความว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 จำเลยกับพวกที่หลบหนีและ ด. กับพวกรวม 4 คน ร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบอันเป็นการพนันตามบัญชี ข. อันดับที่ 16 ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ พนันเอาทรัพย์สินกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้เป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วน ด. กับพวกเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้หรือผู้เล่น และโพยของกลางเป็นของ ด. กับพวกจำนวนเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หากจำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งคดีนี้จำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์โดยมิได้หลงข้อต่อสู้ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามฟ้อง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิใช่เจ้ามือรับกินรับใช้ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8103/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การฟ้องคดีอาญาจำเลยที่ถูกจำคุกในเรือนจำแห่งหนึ่ง และความผิดเกิดขึ้นในอีกท้องที่หนึ่ง
แม้เรือนจำกลางนครศรีธรรมราชจะเป็นภูมิเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ก็ตาม แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) มิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดี กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นจะรับชำระคดีหรือไม่ก็ได้ เมื่อความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดทุ่งสง และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอทุ่งสงท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นเป็นผู้สอบสวน จึงอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดทุ่งสงได้ ที่โจทก์อ้างว่าไม่อาจโอนตัวจำเลยไปคุมขังที่เรือจำจังหวัดทุ่งสงเพื่อฟ้องคดี เพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยในการย้ายจำเลยนั้น เป็นเพียงการคาดการณ์เอาเองของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น จึงไม่สมควรให้ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช) รับชำระคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การพิจารณาคดีที่เกิดในท้องที่หนึ่ง แม้จำเลยมีภูมิลำเนาในอีกท้องที่หนึ่ง
แม้เรือนจำกลางบางขวางเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่เป็นบทบังคับให้ศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดภูเก็ต และพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ต เป็นผู้สอบสวนคดี ไม่ได้ความว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลชั้นต้นแล้วจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ตแต่อย่างใด ส่วนการย้ายจำเลยทั้งสองไปดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ตจะไม่ปลอดภัยในการควบคุมและอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการย้ายนั้น เป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจป้องกันและแก้ไขได้ ยังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับชำระคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การชำระคดีในศาลท้องที่เกิดเหตุ แม้จำเลยมีภูมิลำเนาในอีกท้องที่หนึ่ง
แม้ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางจะเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 และถือได้ว่าจำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดธัญบุรี) ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) บัญญัติไว้ แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับคดีที่โจทก์ฟ้อง หากแต่บัญญัติให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะรับชำระคดีในกรณีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ประกอบกับความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดแม่สอด ทั้งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่สอดได้ทำการสอบสวนคดีนี้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดธัญบุรี) จะเป็นการสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดแม่สอดซึ่งเป็นศาลท้องที่ที่ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นอย่างไร ส่วนที่โจทก์อ้างว่ากรมราชทัณฑ์ไม่อนุญาตให้ย้ายจำเลยไปคุมขังที่เรือนจำจังหวัดแม่สอดนั้นเป็นเพียงข้อขัดข้องในทางปฏิบัติเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดธัญบุรี) รับชำระคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลและการกำหนดภูมิลำเนาของจำเลยที่ถูกจำคุก
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง คำว่า จำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่ง หมายถึง เจ้าพนักงานจับจำเลยตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาในคดีที่จะนำมาฟ้องเท่านั้น แต่ตามบันทึกการจับกุมจำเลยกับคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยถูกจับในความผิดฐานพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และความผิดฐานอื่น ๆ นอกเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งมิใช่ความผิดตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ แต่เจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้และโจทก์ขอยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีดังนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่ซึ่งอยู่เขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว บทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น 2 กรณีต่างหากจากกัน กล่าวคือ ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่ง และถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่ง หาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้น จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี ดังนี้ จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ไม่ได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว บทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น 2 กรณีต่างหากจากกัน กล่าวคือ ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่ง และถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่ง หาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้น จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี ดังนี้ จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การจับกุมและภูมิลำเนาผู้ต้องจำคุกไม่เป็นเหตุให้ฟ้องคดีต่อศาลในเขตอำนาจนั้นได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22วรรคหนึ่งคำว่าจำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาในคดีที่จะนำมาฟ้องเท่านั้นแต่ตามบันทึกการจับกุมจำเลยกับคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีของโจทก์ปรากฎว่าจำเลยถูกจับในความผิดฐานพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และความผิดฐานอื่นๆนอกเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งมิใช่ความผิดตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้แต่เจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้และโจทก์ขอยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่ซึ่งอยู่เขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัวบทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น2กรณีต่างหากจากกันกล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่งและถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่งหาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีดังนี้จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลในคดีความผิดต่อเนื่อง: ลักทรัพย์และรับของโจร
เมื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เกิดที่อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐานรับของโจรจะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทรโยคจึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในข้อหารับของโจรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 และเมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอไทรโยค ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ที่อยู่ของจำเลยคือถิ่นฐานสำคัญ ไม่ใช่เรือนจำชั่วคราว
"ที่อยู่" ตามนัยมาตรา 22(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายถึงถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37การที่จำเลยถูกขังอยู่ที่เรือนจำในคดีอื่นซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และในระหว่างพิจารณาจำเลยอาจได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือในที่สุดศาลอาจพิพากษายกฟ้องปล่อยตัวจำเลยก็ได้ เรือนจำดังกล่าวจึงมิใช่ที่อยู่ของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)