พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์ไม่จำต้องระบุรายละเอียดความผิด และอำนาจศาลตามที่อยู่จำเลย
การร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(7) ไม่จำต้องระบุรายละเอียดในการกระทำความผิด แต่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนในรายละเอียดต่อไป และแม้รายละเอียดในการร้องทุกข์จะแตกต่างกับคำบรรยายฟ้องไปบ้างก็ไม่ทำให้การร้องทุกข์เป็นไม่ชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเหตุคดีนี้มิได้เกิดในเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือ แต่จำเลยก็มีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครเหนือจึงมีอำนาจพิจารณาคดีได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 22(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: 'ที่อยู่' ของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) คือถิ่นที่อยู่จริง ไม่ใช่เรือนจำ
คำว่า "จำเลยมีที่อยู่" ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22(1) หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยในขณะที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหาตามที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนไว้ ซึ่งอาจเป็นภูมิลำเนาหรือมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยที่จะได้รับความสะดวกในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ เรือนจำจังหวัด ปราจีนบุรี ตามที่โจทก์ระบุมาในฟ้อง มิใช่ที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยทั้งสอง โดยเป็นเพียงสถานที่ที่จำเลยที่ถูกคุมขังไว้หลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีอื่นแล้ว และจำเลยที่ 2ถูกคุมขังตามคำสั่งของกรมราชทัณฑ์เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นที่อยู่ของจำเลยทั้งสองตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ที่อยู่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) คือถิ่นที่อยู่ที่แท้จริง ไม่ใช่ที่คุมขัง
คำว่า "จำเลยมีที่อยู่" ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยในขณะที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหาตามที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนไว้ ซึ่งอาจเป็นภูมิลำเนาหรือมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยที่จะได้รับความสะดวกในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่
เรือนจำจังหวัดปราจีนบุรีตามที่โจทก์ระบุมาในฟ้อง มิใช่ที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยทั้งสอง โดยเป็นเพียงสถานที่ที่จำเลยที่ถูกคุมขังไว้หลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีอื่นแล้ว และจำเลยที่ 2 ถูกคุมขังตามคำสั่งของกรมราชทัณฑ์เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นที่อยู่ของจำเลยทั้งสองตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1)
เรือนจำจังหวัดปราจีนบุรีตามที่โจทก์ระบุมาในฟ้อง มิใช่ที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยทั้งสอง โดยเป็นเพียงสถานที่ที่จำเลยที่ถูกคุมขังไว้หลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีอื่นแล้ว และจำเลยที่ 2 ถูกคุมขังตามคำสั่งของกรมราชทัณฑ์เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นที่อยู่ของจำเลยทั้งสองตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ที่อยู่ของจำคุกในเรือนจำ ไม่ถือเป็น 'ที่อยู่' ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ความผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำเลยไม่เคยมีถิ่นที่อยู่หรือถูกจับหรือทำการสอบสวนในเขตศาลจังหวัดนนทบุรี แม้ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลจังหวัดนครปฐม ให้จำคุกตลอดชีวิต และถูกส่งตัวมารับโทษจำคุกที่เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ ก็ไม่อาจถือได้ว่าเรือนจำกลางบางขวางเป็นที่อยู่ของจำเลย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) ศาลจังหวัดนนทบุรีจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอาญา: ความผิดเกิดขึ้นต่างท้องที่ – การสอบสวนในกรุงเทพฯ ทำให้ศาลอาญามีอำนาจพิจารณา
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้วว่า ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นใน เขตศาลจังหวัดลำพูนและเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องที่ศาลอาญา ปัญหานี้แม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้แต่ เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูน จับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วย มอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่า จำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูน จับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วย มอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่า จำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจตามสถานที่จับกุมและสอบสวน
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้วว่า ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดลำพูนและเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องที่ศาลอาญา ปัญหานี้แม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้แต่ เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูนจับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วยมอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่าจำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22(1)
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูนจับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วยมอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่าจำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการใช้ดุลพินิจรับคดีอาญาที่ความผิดเกิดนอกเขตอำนาจ แต่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) บัญญัติว่า "เมื่อจำเลยมีที่อยู่ ฯลฯ ในท้องที่หนึ่งนอกเขตศาลดังกล่าวแล้ว จะชำระที่ศาลซึ่งท้องที่นั้นอยู่เขตอำนาจก็ได้" นั้น มิใช่เป็นบทบังคับให้ศาลซึ่ง ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ ฯลฯ อยู่ในเขตอำนาจจะต้องรับชำระคดีนั้น ๆ แต่เป็นบทบัญญัติให้ดุลพินิจแก่ศาลซึ่งท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ ฯลฯ ในเขตอำนาจจะรับชำระคดีนั้นหรือไม่ก็ได้ ความผิดที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลอาญา แต่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลอาญา เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ศาลจึงมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจรับหรือไม่รับคดีนั้นไว้พิจารณาก็ได้
การที่ศาลอาญาสั่งในคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนให้โจทก์นำส่งหมายนัด" ยังถือไม่ได้ว่าศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจรับคดีของโจทก์ไว้ ชำระแล้ว ด้วยเหตุนี้ที่ศาลอาญาสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่ง ไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาจึงเป็นการที่ศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2523)
การที่ศาลอาญาสั่งในคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนให้โจทก์นำส่งหมายนัด" ยังถือไม่ได้ว่าศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจรับคดีของโจทก์ไว้ ชำระแล้ว ด้วยเหตุนี้ที่ศาลอาญาสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่ง ไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาจึงเป็นการที่ศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอาญาในการรับฟ้องคดีความผิดนอกเขตอำนาจ และการใช้ดุลพินิจรับฟ้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) บัญญัติว่า "เมื่อจำเลยมีที่อยู่ฯลฯ ในท้องที่หนึ่งนอกเขตศาลดังกล่าวแล้ว จะชำระที่ศาลซึ่งท้องที่นั้นอยู่เขตอำนาจก็ได้" นั้น มิใช่เป็นบทบังคับให้ศาลซึ่งท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ ฯลฯ ในเขตอำนาจจะรับชำระคดีนั้นหรือไม่ก็ได้ ความผิดที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลอาญา แต่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลอาญา เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ศาลจึงมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจรับหรือไม่รับคดีนั้นไว้พิจารณาก็ได้
การที่ศาลอาญาสั่งในคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนให้โจทก์นำส่งหมายนัด...." ยังถือไม่ได้ว่าศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจรับคดีของโจทก์ไว้ชำระแล้ว ด้วยเหตุนี้ที่ศาลอาญาสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาจึงเป็นการที่ศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2523)
การที่ศาลอาญาสั่งในคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนให้โจทก์นำส่งหมายนัด...." ยังถือไม่ได้ว่าศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจรับคดีของโจทก์ไว้ชำระแล้ว ด้วยเหตุนี้ที่ศาลอาญาสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาจึงเป็นการที่ศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าในทะเล: เจตนาเล็งเห็นผล แม้ไม่สำเร็จโทษ, อำนาจสอบสวน-พิจารณาคดีในทะเล
จำเลยใช้ปืนลูกซองยาวยิงจากเรือลำหนึ่งไปยังเรือผู้เสียหายกับพวกซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 1 เส้น ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา (ฆ่า)แต่ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่ถึงตาย การกระทำของจำเลยจึงไม่บรรลุผลจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
ในกรณีเหตุเกิดในท้องทะเล เมื่อไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในเขตท้องที่ใดแน่พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้เสียหายมาแจ้งย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(1) และศาลที่ท้องที่สอบสวนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ มีอำนาจพิจารณาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)(2)
ในกรณีเหตุเกิดในท้องทะเล เมื่อไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในเขตท้องที่ใดแน่พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้เสียหายมาแจ้งย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(1) และศาลที่ท้องที่สอบสวนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ มีอำนาจพิจารณาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)(2)