พบผลลัพธ์ทั้งหมด 357 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คและการเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทหลังการปฏิเสธการจ่ายเงิน
แม้ขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ส. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือ แต่เช็คพิพาทก็เป็นเช็คที่จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 และย่อมโอนให้แก่กันได้โดยส่งมอบตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบด้วยมาตรา 989 เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ส. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 และได้รับโอนสิทธิในเช็คพิพาทจาก ส. โดยโจทก์ไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่ง ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้จากการประมูลแชร์ และการชำระหนี้ค่าหุ้นที่ค้างอยู่
โจทก์จำเลยเป็นลูกวงแชร์ซึ่งมีข้อตกลงว่าผู้ประมูลแชร์ได้จะออกเช็คไม่ลงวันที่ให้แก่ผู้ประมูลไม่ได้ ส่วนผู้ประมูลไม่ได้จะจ่ายเงินค่าหุ้นให้ผู้ประมูลได้โดยนำดอกเบี้ยที่ประมูลได้หักออกจากเงินค่าหุ้น จำเลยประมูลแชร์ได้ จึงมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนคือสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ ดังนั้นเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ จึงมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์ยังเป็นหนี้เงินค่าหุ้นจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ตามเช็คพิพาทได้ เมื่อจำเลยแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้แก่โจทก์แล้วย่อมมีผลย้อนหลังขึ้นไปจนถึงเวลาซึ่งหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้นจะอาจหักกลบลบกันได้เป็นครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน แต่เป็นประโยชน์ต่อความยุติธรรม
แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารทั้งหมดหรือบางส่วนโดยเฉพาะด้านหลังเช็คที่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 สลักหลังไว้ให้แก่จำเลยที่ 3 ก่อนวันสืบพยานตามที่ระบุไว้ในมาตรา 90(เดิม) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับโดยเด็ดขาดตายตัว หากเอกสารที่อ้างนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวก็เป็นข้อแสดงให้เห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้จะฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(เดิม) ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในเช็ค หากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและไม่ได้ฟ้องขอหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้เงินตามเช็ค โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไปใช้ในกิจการของโรงพิมพ์ แล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดกับเช็คพิพาท และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเช็คพิพาท จำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อในฐานะผู้สั่งจ่ายหรือฐานะอื่นใด แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเช็คพิพาท จึงไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิด แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนอันเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้กู้ยืมเงิน แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงบังคับจำเลยที่ 2 ตามคำฟ้องไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ดังได้วินิจฉัยแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันจะได้รับวินิจฉัยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหนี้เช็ค เนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรื่องหนี้กู้ยืม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้เงินตามเช็ค โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไปใช้ในกิจการของโรงพิมพ์ แล้วจำเลยที่ 1ออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดกับเช็คพิพาท และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเช็คพิพาทจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อในฐานะผู้สั่งจ่ายหรือฐานะอื่นใด แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเช็คพิพาท จึงไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนอันเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1ในมูลหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้กู้ยืมเงิน แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงบังคับจำเลยที่ 2 ตามคำฟ้องไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ดังได้วินิจฉัยแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันจะได้รับวินิจฉัยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ & อัตราดอกเบี้ย: ตั๋วสัญญาใช้เงิน, การนำเงินชำระหนี้ไปหักต้นเงิน/ดอกเบี้ย, สิทธิคิดดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่าต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้ ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911,968(1)ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืม เงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปีตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้และดอกเบี้ยในตั๋วสัญญาใช้เงิน การคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่า ต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปี ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปี ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดสืบพยานชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยให้การคลุมเครือ และการรับว่าเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คผูกพันตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิเคราะห์จากคำฟ้องและคำให้การแล้วยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดี ไม่ใช่มีการสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24,227 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยออกเช็คเป็นประกันหนี้ของบุตรเขยเท่านั้นดังนี้ เมื่อจำเลยรับว่าเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คและเช็คมีมูลหนี้จากการที่จำเลยสั่งจ่ายประกันหนี้ของบุคคลอื่นแก่โจทก์จำเลยก็ย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ โดยไม่จำต้องมีการสืบพยานรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานแต่อย่างใดอีก จำเลยให้การว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกต้องตามกฎหมายและมี ก. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจริงหรือไม่จำเลยไม่ขอรับรอง ไม่ได้กล่าวให้ชัดว่าโจทก์ไม่ใช่นิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยเหตุอะไร ก. ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการด้วยเหตุอะไร จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มี ก. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คหลังเรียกเก็บเงินจากธนาคาร และผลกระทบต่ออายุความฟ้องร้อง
การที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ แต่ได้ลงชื่อกำกับไว้ย่อมมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายตกลงยินยอมให้ผู้ทรงโดยสุจริตจดวันที่เอาเองได้โดยถือว่าได้รับความยินยอมจากผู้สั่งจ่ายตามลายมือชื่อที่ลงกำกับไว้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็คไม่ปรากฎว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฎิบัติ มา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ไม่สมบูรณ์-แก้ไขเปลี่ยนแปลง-อายุความ: ผลกระทบต่อความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
การที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ แต่ได้ลงชื่อกำกับไว้ย่อมมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายตกลงยินยอมให้ผู้ทรงโดยสุจริตจดวันที่เอาเองได้โดยถือว่าได้รับความยินยอมจากผู้สั่งจ่ายตามลายมือชื่อที่ลงกำกับไว้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็ค ไม่ปรากฏว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฏิบัติมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็ค ไม่ปรากฏว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฏิบัติมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ