พบผลลัพธ์ทั้งหมด 357 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คพิพาทโดยทุจริตและการพิสูจน์มูลหนี้ที่ชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิด
คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทไว้ในครอบครองโดยทุจริตนั้นทุจริตอย่างไรก็ไม่ได้กล่าวไว้ชัด ที่ว่าคบคิดกับบุคคลอื่น บุคคลอื่นนั้น เป็นผู้ทรงเช็คคนก่อนหรือไม่ หรือเป็นผู้ใดไม่ปรากฏ ที่ว่าโจทก์ควรรู้ว่าเช็คพิพาทมีการชำระหนี้แล้ว ก็ไม่ใช่คำยืนยันว่าโจทก์รู้ แปลความว่าอาจไม่รู้ก็ได้เช่นกันแล้วให้การว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทมาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจาก ร. โดยคบคิดกันฉ้อฉล จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นพิพาท
จำเลยที่ 2 ให้ ร. นำเช็คแลกเงินสดจากโจทก์และมีการเปลี่ยนเช็คเรื่อยมาต่อมาได้รวมจำนวนเงินที่เป็นหนี้และกู้เงินเพิ่มอีกแล้วจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นการกู้เงินและการแลกเปลี่ยนเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรงแต่ติดต่อผ่าน ร. เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้โดยชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยทั้งสองเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900,987และ 989
จำเลยที่ 2 ให้ ร. นำเช็คแลกเงินสดจากโจทก์และมีการเปลี่ยนเช็คเรื่อยมาต่อมาได้รวมจำนวนเงินที่เป็นหนี้และกู้เงินเพิ่มอีกแล้วจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นการกู้เงินและการแลกเปลี่ยนเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรงแต่ติดต่อผ่าน ร. เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้โดยชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยทั้งสองเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900,987และ 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6064/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค – นิติบุคคล – กรรมการ – ความรับผิดร่วม – ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ความประสงค์หรือเจตนาแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล คือจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ออกเช็คทั้งสองฉบับเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 กระทำทั้งฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันกระทำผิด จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างได้ว่าไม่มีเจตนาออกเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค้ำประกัน - การรับผิดตามเช็ค แม้มีข้ออ้างเรื่องการหลอกลวง/การส่งมอบสินค้าไม่ครบถ้วน
การออกเช็คเพื่อค้ำประกันลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เมื่อลูกหนี้มีมูลหนี้ต่อเจ้าหนี้จริง ผู้ออกเช็คจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คต่อเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8730/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการเจรจาตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ทำให้เช็คพิพาทที่ออกเป็นประกันสัญญาสิ้นผลผูกพัน
มูลเหตุที่มีการออกเช็คพิพาทมาจากการที่โจทก์มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท ฟ. ตามสัญญาตั้งตัวแทนในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ซึ่งคู่สัญญามีเฉพาะโจทก์กับบริษัท ฟ. เท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ เพื่อเป็นประกันในการที่บริษัท ฟ. จะต้องปฏิบัติตามสัญญา และเมื่อบริษัท ฟ. เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ต้องมีหน้าที่คืนเงินจำนวน 500,000 บาท แก่โจทก์ หากบริษัทดังกล่าวไม่ชำระคืน โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิบังคับเอาจากเช็คพิพาทได้ หลังจากโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่บริษัท ฟ. ป. ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ฟ. และ บ. ผู้จัดการฝ่ายขายรวมทั้งจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงโจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ถอนคำร้องทุกข์เฉพาะบริษัท ฟ. และ ป. โดยให้เหตุผลว่าได้รับการชดใช้เงินคืนจากบุคคลดังกล่าวจนเป็นที่พอใจแล้ว เมื่อโจทก์ได้รับเงินคืนจากบริษัท ฟ. และป. รวมจำนวนถึง 500,000 บาทเศษ ย่อมทำให้มีเหตุผลเชื่อได้ว่าโจทก์พอใจที่ได้รับเงินไม่ต่ำกว่าจำนวนเงิน 500,000 บาท ที่โจทก์ลงทุนไป จึงได้ถอนคำร้องทุกข์ ซึ่งแม้จะมิได้ถอนคำร้องทุกข์ให้แก่จำเลยทั้งสองด้วย ก็เป็นเพียงโจทก์ยังมีเจตนาให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองต่อไปเท่านั้น ส่วนความรับผิดทางแพ่งของจำเลยทั้งสองกับหลักประกันสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. ย่อมเป็นอีกกรณีหนึ่ง เมื่อโจทก์พอใจตามที่ตกลงกันได้กับ ป. มูลหนี้ในทางแพ่งจึงระงับ ฉะนั้น เมื่อบริษัท ฟ. หลุดพ้นจากความรับผิดแล้วเช็คพิพาทที่เป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้ระหว่างบริษัท ฟ. กับโจทก์ก็ย่อมไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความหลังจากการซื้อขายที่ดิน: สิทธิเรียกร้องตามเช็คชำระค่าเสียหาย
ขณะทำหนังสือสัญญาขายที่ดินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้และลูกหนี้ต่างมีเจตนา อันแท้จริงที่จะผูกพันกันตามราคาที่ดินและเงื่อนไขการชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขาย ส่วนการทำสัญญาขายที่ดิน เป็นเพียงวิธีดำเนินการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายเพื่อโอนกรรมสิทธิ์กันตามกฎหมายเท่านั้น การที่ลูกหนี้สั่งจ่าย เช็คพิพาทชำระค่าเสียหายอันเนื่องจากเช็คค่าที่ดินเดิมถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยเจ้าหนี้ยินยอมถอนคำร้องทุกข์และไม่ดำเนินคดีอาญาแก่ลูกหนี้ต่อไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน และมีผลให้เจ้าหนี้ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 เจ้าหนี้จึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็ค, ความล่าช้าในการเรียกเก็บ, และการสนับสนุนทางการเงินในการเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ชำระเงินตามเช็คพิพาทซึ่ง ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท โดยระบุรายละเอียดของเช็คพิพาทและแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คพิพาทมาท้ายคำฟ้อง พร้อมทั้งคำขอบังคับที่ให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสำหรับจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ส่วนมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจะเป็นการชำระหนี้อะไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 จึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยที่ 1 จะได้จดทะเบียนนิติบุคคลว่า ป. เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร น. โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคาร น. แทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่าการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คฉบับอื่นซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนด 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลังและเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด แต่จำเลยที่ 4 ไม่ได้นำสืบว่าการที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทภายในกำหนดทำให้เกิดความเสียหายแก่ ป. ในฐานะผู้สั่งจ่าย ป. จึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 จะได้จดทะเบียนนิติบุคคลว่า ป. เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร น. โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคาร น. แทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่าการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คฉบับอื่นซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนด 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลังและเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด แต่จำเลยที่ 4 ไม่ได้นำสืบว่าการที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทภายในกำหนดทำให้เกิดความเสียหายแก่ ป. ในฐานะผู้สั่งจ่าย ป. จึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจ่ายเช็ค, ความรับผิดส่วนบุคคลกรรมการ, และการกู้ยืมเงินเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง
แม้บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโดยปรากฏข้อความในรายการเอกสารทะเบียนว่า ป. ผู้ตายเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป. กับกรรมการอื่นอีก 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราของบริษัท จำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารตามเช็ค โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คแทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาท เป็นการส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คที่สมบูรณ์ แม้ผู้ลงลายมือชื่อไม่ได้เขียนจำนวนเงิน/วันที่เอง หากเจตนาตรงกับข้อตกลงและผู้รับทราบ
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระค่าเช่ารถขุดดินให้แก่โจทก์ร่วม โดยส่งมอบเช็คพิพาทให้ อ. พนักงานของโจทก์ร่วมในทันทีที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้จำเลยจะเพียงแต่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทก็ตาม แต่จำนวนเงินที่ลงในเช็คพิพาทและรายการวัน เดือน ปี ที่ออกเช็คจำเลยหาจำต้องเป็นผู้เขียนลงไว้ในเช็คพิพาทด้วยลายมือของจำเลยเองไม่ จำเลยอาจให้บุคคลอื่นเขียนหรือพิมพ์ข้อความดังกล่าวให้ก็ได้ หากข้อความถูกต้องตรงกับเจตนาของจำเลยในการออกเช็คพิพาทก็ถือว่าเป็นการออกเช็คที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อ อ. รับเช็คพิพาทจากจำเลยแล้วกรอกจำนวนเงินและวัน เดือน ปี ที่ออกเช็คต่อหน้าจำเลยโดยความยินยอมของจำเลยในทันทีที่รับมอบเช็คพิพาท ในกรณีนี้ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ออกเช็คพิพาท เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5312-5313/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินถือเป็นการชำระหนี้แทนการชำระด้วยเงินตามเช็ค ทำให้หนี้ระงับสิ้น
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนอื่นใดต่อโจทก์อีกนอกจากหนี้ตามเช็คพิพาท ทั้งพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยมีหนี้สินอื่น เมื่อเช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้ดำเนินการโอนที่ดินของจำเลยเป็นชื่อโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าได้ตกลงกำหนดราคาที่ดินเป็นอย่างอื่น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคแรก ทำให้ หนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันระงับสิ้นไป โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาฟ้องเรียกจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทจากแชร์ที่ผิดกฎหมาย: แม้เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ แต่สัญญานิติกรรมเป็นโมฆะ ทำให้ไม่มีมูลหนี้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้เป็นนายวงจัดให้มีการเล่นแชร์ โจทก์เป็นกรรมการบริษัท ก. โจทก์ในนามบริษัทดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ร่วมเข้าเล่นแชร์ดังกล่าวรวม 2 วง ต่อมาโจทก์ประมูลแชร์ทั้งสองวงได้ และได้รับเช็คพิพาทรวม 2 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง ต่อมา เช็คพิพาททั้งสองฉบับถึงกำหนดชำระเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายแม้เช็คพิพาททั้งสองฉบับจะระบุจ่าย "บริษัท ก." แต่ก็มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเช็คผู้ถือ เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้อง แต่แชร์ทั้งสองวงดังกล่าว มีนิติบุคคลเป็นนายวงแชร์ ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 5 นิติกรรมการเล่นแชร์ทั้งสองวง จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ