พบผลลัพธ์ทั้งหมด 357 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7977/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ลงลายมือชื่อต้องรับผิดตามเช็ค แม้มีการโอนสิทธิ แต่ต้องพิสูจน์ไม่มีการฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของจำเลยชำระหนี้ให้แก่บริษัท ย. ต่อมาบริษัท ย. ได้สลักหลังโอนขายลดให้โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงและจำเลยผู้ลงลายมือชื่อของตน ในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 904 จำเลยหาอาจต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916, 989 คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่ามูลหนี้ในเช็คพิพาท ตามฟ้องได้มีการชำระหนี้ไปเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น ไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่ใคร หากชำระ ให้ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ได้รับโอนมาด้วยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ อย่างใด จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7897/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องตามเช็คหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในการซื้อเครื่องรับโทรทัศน์มอบให้แก่บริษัท พ. แต่บริษัทมิได้ส่งมอบเครื่องรับโทรทัศน์ให้ จำเลยจึงมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงิน เมื่อปรากฏว่าบริษัท พ.ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คคนก่อนได้ฟ้องบริษัท พ.ให้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย โจทก์และบริษัท พ.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยบริษัท พ.ยอมชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องตามเช็คพิพาทไปแล้ว โดยโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายชำระเงินแก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7897/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องตามเช็คจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้สั่งจ่ายอีก
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในการซื้อเครื่องรับโทรทัศน์มอบให้แก่บริษัท พ. แต่บริษัทมิได้ส่งมอบเครื่องรับโทรทัศน์ให้ จำเลยจึงมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงิน เมื่อปรากฏว่าบริษัท พ. ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คคนก่อนได้ฟ้องบริษัท พ. ให้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย โจทก์และบริษัท พ. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยบริษัท พ. ยอมชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องตามเช็คพิพาทไปแล้ว โดยโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายชำระเงินแก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7148/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายเงินมีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้จะอ้างเป็นหุ้นส่วนค้าทอง แต่ขาดหลักฐานสนับสนุน
ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิได้รับส่วนกำไรอันเกิดจากกิจการที่ทำนั้น หากไม่ได้รับส่วนแบ่งในผลกำไรแต่ได้รับเป็นอย่างอื่น ไม่ถือว่าเป็นหุ้นส่วน ปรากฏว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการแบ่งผลประโยชน์ให้กันทุกเดือน เดือนละ 2 เปอร์เซ็นต์ ของเงินลงทุน โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกำไรหรือขาดทุน แสดงว่าโจทก์ได้รับผลประโยชน์จากเงินที่ลงทุนทุกเดือนโดย ไม่ได้รอผลกำไรจากกิจการแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยเพื่อ ทำกิจการซื้อขายทองรูปพรรณ แต่เป็นกรณีที่จำเลยให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์จากการที่โจทก์ให้เงินจำเลยไปลงทุนทำกิจการเกี่ยวกับทองรูปพรรณอันเป็นกิจการของจำเลยเองจำเลยประกอบธุรกิจค้าขายทองมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ย่อมรู้ดีว่าการลงลายมือชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินให้บุคคลอื่นต้องผูกพันตนเองอย่างไร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะยอมสั่งจ่าย เช็คพิพาทให้โจทก์โดยที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์ยืนยันว่ามูลเหตุที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ให้โจทก์มาจากการที่จำเลยกู้เงินโจทก์หลายครั้งรวมยอดหนี้ได้ 1,000,000 บาท จำเลย จึงสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดนำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในเช็คและการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท ย่อมจะต้อง รับผิดตาม เนื้อความในเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 แม้จำเลยจะได้ลงลายมือชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก็หาทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดไปไม่เพราะจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวก ไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087 มาตรา 1080และมาตรา 1050 โจทก์ในฐานะผู้ทรงจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ให้รับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวได้ โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับของโจทก์แล้วว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาอย่างไรจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในช่องผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยรับผิด ตามเนื้อความในเช็คพิพาทนั้นแม้จะมิได้บรรยายหรือมีคำขอ ท้ายฟ้องให้เห็นว่าโจทก์มุ่งจะบังคับให้จำเลยต้องร่วมรับผิด ในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม ก็ถือได้ว่า เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว คำให้การของจำเลยที่อ้างว่าได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลย ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นำสืบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลยการที่ศาลชั้นต้น กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการเปลี่ยนแปลง, การกระทำเกินอำนาจ, ความรับผิดของบริษัทต่อเช็ค, ความเชื่อโดยสุจริตของบุคคลภายนอก
อ.เดิมเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัทค.กระทำการแทนบริษัทได้ ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการเป็นว่า จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้ คือ อ.ลงลายมือชื่อร่วมกับว.หรือส.และประทับตราของบริษัทหรือว.ลงชื่อร่วมกับท.และประทับตราบริษัทและที่ประชุมยังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ตราประทับใหม่ ดังนี้ แม้ขณะที่มีการกู้ยืมและสั่งจ่ายเช็คพิพาท อ.จะลงชื่อในเช็คพิพาทเพียงคนเดียวและยังใช้รอยตราเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจก็ตาม แต่การที่อ.จะต้องรับผิดต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเพียงใดย่อมเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 เมื่ออ.เคยเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวลงนามกระทำการแทนบริษัทค. และกิจการคอนโดมิเนียมก็เป็นกิจการของบริษัทดังกล่าวและโจทก์เข้าใจมาแต่ต้นว่าโจทก์ให้บริษัทค.กู้เงินไปลงทุนย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของอ.อยู่ภายใต้ขอบอำนาจของบริษัทค.ทั้งบริษัทค. ก็ยอมรับผลจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น ความรับผิดตามเช็คพิพาท จึงตกอยู่แก่บริษัทค.มิใช่อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการและการผูกพันบริษัทต่อเช็ค แม้การลงนามไม่ถูกต้อง
อ.เดิมเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท ค. กระทำการแทนบริษัทได้ ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการเป็นว่าจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้คือ อ.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ว.หรือ ส. และประทับตราของบริษัท หรือว.ลงชื่อร่วมกับ ท. และประทับตราบริษัท และที่ประชุมยังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ตราประทับใหม่ ดังนี้ แม้ขณะที่มีการกู้ยืมและสั่งจ่ายเช็คพิพาท อ.จะลงชื่อในเช็คพิพาทเพียงคนเดียวและยังใช้รอยตราเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจก็ตาม แต่การที่ อ.จะต้องรับผิดต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเพียงใดย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1167 เมื่อ อ.เคยเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวลงนามกระทำการแทนบริษัท ค. และกิจการคอนโดมิเนียมก็เป็นกิจการของบริษัทดังกล่าว และโจทก์เข้าใจมาแต่ต้นว่าโจทก์ให้บริษัท ค.กู้เงินไปลงทุน ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของ อ.อยู่ภายใต้ขอบอำนาจของบริษัท ค. ทั้งบริษัท ค.ก็ยอมรับผลจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น ความรับผิดตามเช็คพิพาทจึงตกอยู่แก่บริษัท ค. มิใช่ อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์ที่ไม่เกินวงเงินที่กฎหมายกำหนด ไม่ตกเป็นโมฆะ เช็คที่ออกเพื่อชำระทุนกองกลางมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6(3)ประกอบกฎกระทรวง (พ.ศ. 2534) ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาทผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 17 แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ตามมาตรา 7แสดงว่ากฎหมายมิได้กำหนดว่าการเล่นแชร์ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด ส่วนการฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องระหว่างสมาชิกวงแชร์ด้วยกันมิได้มีบทบัญญัติรับรองไว้ แต่เป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะเอาโทษแก่ นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น โดยมีเหตุผล อยู่ในหมายเหตุท้ายประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ จึงเห็นได้ว่า กฎหมายมิได้บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดว่าการเล่นแชร์ ของประชาชนทั่วไปเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายทั้งหมด การผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยในฐานะสมาชิกวงแชร์ ที่มี น. ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6 นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์จำเลย จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระเงินรวมเข้าเป็นทุนกองกลาง เป็นงวด ๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูล จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความ ในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และ อ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ.ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยที่ 1 อาจให้ อ.เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าว อ.มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 1 ติดประชุม โดยตัวจำเลยที่ 1ก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยานแล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคาร ก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะ ว.เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบแสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อม มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจากจำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมาในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ.ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพาต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยที่ 1 อาจให้ทนายคนอื่นซักถามพยานแทนได้ แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 นั้นชอบแล้ว
โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อาวัล โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ประกอบกับมาตรา 904 เมื่อจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ดังที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด
โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อาวัล โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ประกอบกับมาตรา 904 เมื่อจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ดังที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยาน ทำให้ศาลสั่งงดสืบพยานได้ ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตได้รับการคุ้มครอง
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และอ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ. ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยอาจให้ อ. เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าวอ. มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยติดประชุม โดยตัวจำเลยก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยาน แล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคารก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะว. เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบ แสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยาน มาให้พร้อมมิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจาก จำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมา ในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ. ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพา ต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยอาจให้ทนายคนอื่น ซักถามพยานแทนได้แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์ คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลย นั้นชอบแล้ว โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์ แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ประกอบกับ มาตรา 904 จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกัน ฉ้อฉลกับผู้มีชื่อดังที่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลย มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด