คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 525

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ทรัพย์สินไม่สมบูรณ์-โมฆะ หากไม่ทำตามฟอร์มตามกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยผู้เป็นบุตรว่า โจทก์ยินยอมสละสิทธิในการรับมรดกซึ่งมีสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์สิทธิและประโยชน์ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากบิดาโจทก์โดยยินยอมให้ทรัพย์มรดกดังกล่าวตกทอดได้แก่จำเลย สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์จำเลยมิได้มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์ ในขณะทำสัญญาหรือจะมีขึ้นในภายหน้าหากเป็นสัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ทั้งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ถึง 525 บังคับไว้ย่อมไม่สมบูรณ์ เท่ากับไม่มีสัญญาให้ซึ่งสังหาริมทรัพย์และที่เกี่ยวกับการให้อสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากเป็นสัญญาให้ที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโมฆะเพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้สังหาริมทรัพย์/อสังหาริมทรัพย์ไม่สมบูรณ์เพราะไม่ทำตามฟอร์มกฎหมาย และสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยผู้เป็นบุตรว่า โจทก์ยินยอมสละสิทธิในการรับมรดก ซึ่งมีสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ สิทธิและประโยชน์ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากบิดาโจทก์ โดยยินยอมให้ทรัพย์มรดกดังกล่าวตกทอดได้แก่จำเลย สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์จำเลยมิได้มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์ในขณะที่สัญญาหรือจะมีขึ้นในภายหน้า หากเป็นสัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ทั้งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ถึง 525 บังคับไว้ย่อมไม่สมบูรณ์ เท่ากับไม่มีสัญญาให้ซึ่งสังหาริมทรัพย์และที่เกี่ยวกับการให้สังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากเป็นสัญญาให้ที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโมฆะ เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินเดิมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
การที่สามีจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สินเดิมของตนอันเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1462 ด้วยการยกให้โดยเสน่หานั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภรรยาตามมาตรา 1473 และ 1476 ประกอบด้วย 525 และ 456
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ ทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1)จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วย แต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1625(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิในทรัพย์สินก่อนสมรส, การเพิกถอนการโอน, และการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องซึ่งเป็นเพียงแสดงให้ปรากฏต่อศาลชั้นต้นว่าหากศาลเห็นเป็นการสมควรหรือจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ขอให้เรียกจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เข้ามาเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นจึงใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข เรียกเข้ามา กรณีดังนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าคำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นพร้อมกับคำฟ้องเพื่อหมายเรียกตามมาตรา 57(3)
ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคาย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นเจ้าของรวมในที่ดินย่อมทำให้เป็นเจ้าของรวมในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น แม้การยกให้สิ่งปลูกสร้างไม่ได้ทำเป็นหนังสือ
ซ. ปลูกสร้างบ้านพิพาทแล้วยกให้ผู้ร้องกับหลานอีกคนหนึ่ง ต่อมา ซ. ได้จดทะเบียนยกที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่ให้ผู้ร้องกับหลานอีก ดังนี้ แม้การยกบ้านพิพาทให้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่ทำให้การให้ไร้ผล เพราะผู้ร้องได้เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน จึงเป็นเจ้าของรวมในบ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินนั้นด้วย
เมื่อจำเลยไม่มีส่วนเป็นเจ้าของในบ้านพิพาท โจทก์จึงนำยึดบ้านเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นเจ้าของรวมในที่ดินย่อมครอบคลุมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น แม้การให้สิ่งปลูกสร้างไม่ได้ทำเป็นหนังสือ
ซ.ปลูกบ้านพิพาทแล้วยกให้ผู้ร้องกับหลานอีกคนหนึ่ง ต่อมา ซ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่ให้ผู้ร้องกับหลายอีก ดังนี้ แม้การยกบ้านพิพาทให้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่ทำให้การให้ไร้ผล เพราะผู้ร้องได้เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน จึงเป็นเจ้าของรวมในบ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินนั้นด้วย
เมื่อจำเลยไม่มีส่วนเป็นเจ้าของในบ้านพิพาท โจทก์จึงนำยึดบ้านเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้วัด และการสละสิทธิในที่ดิน ทำให้ไม่เกิดการรุกล้ำ
โจทก์ฟ้องว่า วัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตของวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและคืนที่ดินให้โจทก์ ทางพิจารณาฟังได้ว่า โจทก์ได้อุทิศที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนวัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ลงมือสร้างวัดจำเลยที่ 1 ขึ้นใหม่ดังนี้ กรณีไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ดังฎีกาของโจทก์ และเมื่อวัดจำเลยที่ 1 วางศิลาฤกษ์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ อาคารถาวร โจทก์ทราบและไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ยินยอมให้วัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กระทำเช่นนั้น ฟังได้ว่าโจทก์ได้สละที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 แล้ว ยังฟังไม่ได้ว่าวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต รูปคดีกลับเชื่อว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้วัดและการสละสิทธิในที่ดินโดยปริยาย
โจทก์ฟ้องว่า วัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตของวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและคืนที่ดินให้โจทก์ ทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนวัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ลงมือสร้างวัดจำเลยที่ 1 ขึ้นใหม่ดังนี้ กรณีไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 ดังฎีกาของโจทก์ และเมื่อวัดจำเลยที่ 1 วางศิลาฤกษ์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญอาคารถาวรโจทก์ทราบและไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ยินยอมให้วัดจำเลยที่ 1 จำเลย ที่ 2 กระทำเช่นนั้น ฟังได้ว่าโจทก์ได้สละที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 แล้ว ยังฟังไม่ได้ว่าวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต รูปคดีกลับเชื่อว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและการกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็น สินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวา จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้วและไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีกถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เอง ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานเศษ และเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมาก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษ และไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและผลกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้วส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวาจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้ว และไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เองที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานศษและเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมากถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนจำเลยที่1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษและไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้ จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน
of 28