พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน แม้มิได้จดทะเบียนก็สมบูรณ์ บังคับได้ อายุความ 10 ปี
บ.โจทก์ในคดีหนึ่งนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยโจทก์ร้องขัดทรัพย์แล้วได้มีการประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมให้เงิน บ. 5,000 บาท บ. ยอมถอนการยึดทรัพย์และจำเลยยอมยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ สัญญาที่จำเลยยกที่ดินพิพาทให้โจทก์จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลสามฝ่าย มิใช่สัญญาที่จำเลยยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเสน่หา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้
เมื่อสัญญายกที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนจำเลยย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากโจทก์ยินยอมด้วยหรือโจทก์ผิดสัญญาหรือมีเหตุอื่นที่กฎหมายให้อำนาจจำเลยบอกเลิกได้ แม้โจทก์จะเกี่ยงให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินทั้งหมด ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนนั้น อันมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินมือเปล่า ก็ไม่ทำให้กำหนดอายุความในกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไป เพราะมิใช่กรณีแย่งการครอบครอง
เมื่อสัญญายกที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนจำเลยย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากโจทก์ยินยอมด้วยหรือโจทก์ผิดสัญญาหรือมีเหตุอื่นที่กฎหมายให้อำนาจจำเลยบอกเลิกได้ แม้โจทก์จะเกี่ยงให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินทั้งหมด ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนนั้น อันมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินมือเปล่า ก็ไม่ทำให้กำหนดอายุความในกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไป เพราะมิใช่กรณีแย่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็สมบูรณ์ บังคับได้ อายุความฟ้องร้อง 10 ปี
บ.โจทก์ในคดีหนึ่งนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยโจทก์ร้องขัดทรัพย์แล้วได้มีการประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมให้เงิน บ. 5,000 บาท บ. ยอมถอนการยึดทรัพย์และจำเลยยอมยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ สัญญาที่จำเลยยกที่ดินพิพาทให้โจทก์จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลสามฝ่าย มิใช่สัญญาที่จำเลยยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเสน่หา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้
เมื่อสัญญายกที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนจำเลยย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากโจทก์ยินยอมด้วยหรือโจทก์ผิดสัญญาหรือมีเหตุอื่นที่กฎหมายให้อำนาจจำเลยบอกเลิกได้แม้โจทก์จะเกี่ยงให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินทั้งหมดก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนนั้นอันมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินมือเปล่าก็ไม่ทำให้กำหนดอายุความในกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไป เพราะมิใช่กรณีแย่งการครอบครอง
เมื่อสัญญายกที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนจำเลยย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากโจทก์ยินยอมด้วยหรือโจทก์ผิดสัญญาหรือมีเหตุอื่นที่กฎหมายให้อำนาจจำเลยบอกเลิกได้แม้โจทก์จะเกี่ยงให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินทั้งหมดก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนนั้นอันมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินมือเปล่าก็ไม่ทำให้กำหนดอายุความในกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไป เพราะมิใช่กรณีแย่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ผู้อื่น และความยินยอมของคู่สมรส ไม่ทำให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ยกและผู้รับ
ภริยาโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และโจทก์เป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะสามีถึงหากที่ดินนั้นจะเป็นของโจทก์และภริยาร่วมกัน เมื่อเอกสารมีข้อความชัดแจ้งว่าภริยาโจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลย กรณีก็ต้องบังคับตามข้อความในเอกสาร ที่โจทก์ให้ความยินยอมก็เป็นเพียงอนุญาตให้ภริยาทำการผูกพันสินบริคณห์ได้เท่านั้น โจทก์หามีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับจำเลยด้วยไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ทรัพย์สินแก่จำเลย และไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ผู้อื่นโดยภริยา และความยินยอมของสามี ไม่สร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างสามีกับผู้รับ
ภริยาโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และโจทก์เป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะสามี ถึงหากที่ดินนั้นจะเป็นของโจทก์และภริยาร่วมกัน เมื่อเอกสารมีข้อความชัดแจ้งว่าภริยาโจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลย กรณีก็ต้องบังคับตามข้อความในเอกสาร ที่โจทก์ให้ความยินยอมก็เป็นเพียงอนุญาตให้ภริยาทำการผูกพันสินบริคณห์ได้เท่านั้น โจทก์หามีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับจำเลยด้วยไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ทรัพย์สินแก่จำเลย และไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายเพิ่มเติมที่ดิน แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันได้ หากโจทก์รู้เห็นยินยอมการเข้าใช้ประโยชน์ของจำเลย ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอน
หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเพิ่มเติมซึ่งทำภายหลังจากได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับเดิม มีข้อความตกลงว่าผู้แทนโจทก์กับเจ้าของร่วมคนอื่นยินยอมยกที่ดินในโฉนดที่3878 ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลย เพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยสละสิทธิ์ที่จะไม่ขอทำทางเท้าให้กว้างขึ้นเป็นถนนจากที่ดินโฉนดที่ 7386 ผ่านที่ดินโฉนดที่ 3878 ไปสู่ถนนใหญ่ อันเป็นสิทธิที่จำเลยพึงเรียกร้องได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับแรกที่ทำไว้แต่เดิม ข้อตกลงเช่นนี้แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลผูกพันบังคับระหว่างคู่สัญญากันได้ ไม่ใช่สัญญาให้โดยเสน่หาและไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายจึงไม่อยู่ใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 456,525 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยปลูกเรือนในที่ดินของจำเลยล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดอื่น อันเป็นส่วนที่จำเลยได้รับยกให้ตามสัญญาจะซื้อขายเพิ่มเติมดังกล่าวโดยโจทก์รู้เห็น และมิได้ทักท้วง เท่ากับโจทก์รับว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินพิพาทได้โจทก์ ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนหลังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้เป็นการตอบแทนสละสิทธิ และการปลูกสร้างบนที่ดินที่ได้รับยกให้ โดยไม่ถือว่าเป็นการรุกล้ำ
หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเพิ่มเติมซึ่งทำภายหลังจากได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับเดิม มีข้อความตกลงว่าผู้แทนโจทก์กับเจ้าของร่วมคนอื่นยินยอมยกที่ดินในโฉนดที่ 3878ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลย เพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยสละสิทธิ์ที่จะไม่ขอทำทางเท้าให้กว้างขึ้นเป็นถนนจากที่ดินโฉนดที่ 7386ผ่านที่ดินโฉนดที่ 3878 ไปสู่ถนนใหญ่ อันเป็นสิทธิที่จำเลยพึงเรียกร้องได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับแรกที่ทำไว้แต่เดิม ข้อตกลงเช่นนี้แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลผูกพันบังคับระหว่างคู่สัญญากันได้ ไม่ใช่สัญญาให้โดยเสน่หาและไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายจึงไม่อยู่ใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 456, 525ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยปลูกเรือนในที่ดินของจำเลยล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดอื่น อันเป็นส่วนที่จำเลยได้รับยกให้ตามสัญญาจะซื้อขายเพิ่มเติมดังกล่าวโดยโจทก์รู้เห็น และมิได้ทักท้วงเท่ากับโจทก์รับว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินพิพาทได้โจทก์ ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนหลังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้จดทะเบียนไม่สมบูรณ์ หากมีเจตนาระงับข้อพิพาท
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกส่วนแบ่งที่ดินคนละ 1 แปลงจากจำเลยตามที่จำเลยตกลงยอมแบ่งให้ มาในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน (อ้างฎีกาที่ 1712/2514)แต่ไม่ปรากฏว่าราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมีจำนวนเท่าใดโจทก์ทั้งสามคงตั้งราคาทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 5,500 บาท แต่ทรัพย์พิพาทเดิมเป็นผืนเดียวกัน และจำนวนเนื้อที่ดินของโจทก์แต่ละคนก็ไม่แตกต่างกันมาก จึงพออนุมานได้ว่าราคาทรัพย์สินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 1525/2511)
บันทึกถ้อยคำที่จำเลยให้ไว้ต่อนายอำเภอมีข้อความว่า ที่จำเลยยกที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสามนั้น เพราะคนทั้งสามเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับมารดาจำเลย และมีส่วนร่วมในนาแปลงนี้กับมารดาจำเลย บันทึกถ้อยคำดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ในฐานเป็นการให้ทรัพย์สินนาพิพาทเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525แต่คดีปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อพิพาทระหว่างกันในเรื่องนาพิพาทนี้อยู่แล้ว การที่จำเลยไปให้ถ้อยคำและลงชื่อไว้ตามบันทึกดังกล่าว จึงแสดงถึงเจตนาของฝ่ายโจทก์และจำเลยที่จะระงับข้อพิพาทนั้นซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไป ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850แล้ว แม้จำเลยจะลงชื่อไปฝ่ายเดียว โจทก์ก็มีสิทธินำสัญญานี้มาฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ (อ้างฎีกาที่ 308/2509)
ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่ศาลล่างมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในบางประเด็นไว้ ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าเป็นประเด็นที่จำเลยได้ต่อสู้ไว้และพยานหลักฐานก็ได้นำสืบกันมาในสำนวนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างวินิจฉัยใหม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อนั้นไปได้เลย
บันทึกถ้อยคำที่จำเลยให้ไว้ต่อนายอำเภอมีข้อความว่า ที่จำเลยยกที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสามนั้น เพราะคนทั้งสามเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับมารดาจำเลย และมีส่วนร่วมในนาแปลงนี้กับมารดาจำเลย บันทึกถ้อยคำดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ในฐานเป็นการให้ทรัพย์สินนาพิพาทเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525แต่คดีปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อพิพาทระหว่างกันในเรื่องนาพิพาทนี้อยู่แล้ว การที่จำเลยไปให้ถ้อยคำและลงชื่อไว้ตามบันทึกดังกล่าว จึงแสดงถึงเจตนาของฝ่ายโจทก์และจำเลยที่จะระงับข้อพิพาทนั้นซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไป ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850แล้ว แม้จำเลยจะลงชื่อไปฝ่ายเดียว โจทก์ก็มีสิทธินำสัญญานี้มาฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ (อ้างฎีกาที่ 308/2509)
ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่ศาลล่างมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในบางประเด็นไว้ ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าเป็นประเด็นที่จำเลยได้ต่อสู้ไว้และพยานหลักฐานก็ได้นำสืบกันมาในสำนวนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างวินิจฉัยใหม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อนั้นไปได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่ของผู้รับมรดก และผลของการครอบครองทรัพย์สินของผู้เช่า
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองพันบาทและเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าข้อเท็จจริงนั้นมิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกา
ผู้มีชื่อยกตึกพิพาทให้บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครองตึกพิพาทและให้จำเลยเช่า ถึงหากการยกให้จะมิได้ทำถูกต้องตามแบบ แต่บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครองตึกพิพาทนั้นแล้วย่อมได้สิทธิครอบครองและอาจได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครอง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าและเข้าอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิบิดาโจทก์ จะกล่าวอ้างว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์หรือไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่เช่าโดยสมบูรณ์หาได้ไม่กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 133เมื่อบิดาโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
ผู้มีชื่อยกตึกพิพาทให้บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครองตึกพิพาทและให้จำเลยเช่า ถึงหากการยกให้จะมิได้ทำถูกต้องตามแบบ แต่บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครองตึกพิพาทนั้นแล้วย่อมได้สิทธิครอบครองและอาจได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครอง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าและเข้าอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิบิดาโจทก์ จะกล่าวอ้างว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์หรือไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่เช่าโดยสมบูรณ์หาได้ไม่กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 133เมื่อบิดาโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า: สิทธิครอบครองของผู้ให้เช่าแม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ และข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีค่าเช่าต่ำ
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองพันบาทและเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าข้อเท็จจริงนั้นมิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกา
ผู้มีชื่อยกตึกพิพาทให้บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครอง ตึกพิพาทและให้จำเลยเช่า ถึงหากการยกให้จะมิได้ทำถูกต้องตามแบบ แต่บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครองตึกพิพาทนั้นแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองและอาจได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครอง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าและเข้าอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิบิดาโจทก์ จะกล่าวอ้างว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์หรือไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่เช่าโดยสมบูรณ์หาได้ไม่ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 133 เมื่อบิดาโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
ผู้มีชื่อยกตึกพิพาทให้บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครอง ตึกพิพาทและให้จำเลยเช่า ถึงหากการยกให้จะมิได้ทำถูกต้องตามแบบ แต่บิดาโจทก์ได้เข้าครอบครองตึกพิพาทนั้นแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองและอาจได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครอง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าและเข้าอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิบิดาโจทก์ จะกล่าวอ้างว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์หรือไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่เช่าโดยสมบูรณ์หาได้ไม่ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 133 เมื่อบิดาโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินมัสยิด: การครอบครองปรปักษ์ต้องนับจากวันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
มัสยิดอาจได้กรรมสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ได้
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 5 ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นนิติบุคคล ซึ่งหมายความว่า ให้เป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นต้นไป แต่ปรากฏว่ามัสยิดจำเลยร่วมจดทะเบียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2499 การที่จะถือว่า อ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะการให้ต้องมีผู้รับ แม้จะฟังว่าจำเลยร่วมครอบครองปรปักษ์ต่อมาหลังจากการยกให้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องนับการครอบครองแต่วันเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป แต่ถ้านับตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2499 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้อง คือ วันที่ 15 กรกฎาคม 2509 แล้ว ก็เห็นได้ว่ายังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 5 ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นนิติบุคคล ซึ่งหมายความว่า ให้เป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นต้นไป แต่ปรากฏว่ามัสยิดจำเลยร่วมจดทะเบียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2499 การที่จะถือว่า อ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะการให้ต้องมีผู้รับ แม้จะฟังว่าจำเลยร่วมครอบครองปรปักษ์ต่อมาหลังจากการยกให้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องนับการครอบครองแต่วันเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป แต่ถ้านับตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2499 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้อง คือ วันที่ 15 กรกฎาคม 2509 แล้ว ก็เห็นได้ว่ายังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382