คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 525

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมีโฉนดด้วยวาจาไม่สมบูรณ์ ต้องดำเนินการโอนโดยการจดทะเบียนเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์
อันที่ดินซึ่งมีโฉนดนั้นจะยกแบ่งให้กันโดยปากเปล่าไม่แบ่งแยกโอนทะเบียนก็หาใช้ได้ไม่ยังต้องถือว่าเป็นของผู้มีชื่อในโฉนดผู้มีชื่อในโฉนดตายจึงตกเป็นมรดกที่จะต้องแบ่งปันกันต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ และความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน แม้อุทิศยังไม่ถึง 10 ปี ก็ถือเป็นทางสาธารณะแล้ว
อุทิศที่ดินให้แก่ทางราชการใช้ทำเป็นถนนและทางสาธารณะ แม้จะยังไม่ได้แก้โฉนดและยังใช้เป็นถนนและทางสาธารณะไม่ถึง 10 ปีก็ตาม ที่ดินนั้นก็เป็นทางสาธารณะแล้ว จะกีดกันเอากลับมาเป็นของตนอีกไม่ได้
ปลูกสร้างรุกล้ำทางหลวง อำเภอมีคำสั่งห้ามแล้วยังขัดขืนไม่รื้อถอนออกไป โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน จำเลยย่อมต้องมีผิดตาม ก.ม.อาญา ม. 334 (2) ที่โจทก์ขอให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ แม้ยังไม่แก้โฉนดและไม่ถึง 10 ปี กีดกันกลับไม่ได้ ผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
อุทิศที่ดินให้แก่ทางราชการใช้ทำเป็นถนนและทางสาธารณะแม้จะยังไม่ได้แก้โฉนดและยังใช้เป็นถนนและทางสาธารณะไม่ถึง 10 ปีก็ตาม ที่ดินนั้นก็เป็นทางสาธารณะแล้ว จะกีดกันเอากลับมาเป็นของตนอีกไม่ได้
ปลูกสร้างรุกล้ำทางหลวง อำเภอมีคำสั่งห้ามแล้วยังขัดขืนไม่รื้อถอนออกไปโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจำเลยย่อมต้องมีผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) ที่โจทก์ขอให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกกรรมสิทธิที่ดินโดยไม่ชอบ การกดลายพิมพ์นิ้วมือโดยหลอกลวงถือเป็นโมฆะ
มารดากับบุตรมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินร่วมกัน ภายหลังบุตรขอให้มารดากดลายพิมพ์นิ้วมือให้ โดยอ้างว่าจะไปขึ้นเงินจำนองที่ดินรายนี้ ครั้นมารดากดลายพิมพ์นิ้วมือให้ไปแล้ว บุตรกลับไปทำเป็นหนังสือมอบอำนาจของมารดาให้บุตรเป็นผู้จัดการยกกรรมสิทธิที่ดินส่วนของมารดาให้แก่บุตร และบุตรได้ดำเนินการมาจนเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมยกให้ที่ดินส่วนมารดาเป็นกรรมสิทธิของบุตร ดังนี้ มารดาย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการให้นี้ได้ เพราะถือได้ว่านิติกรรมการให้ดั่งกล่าว เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกกรรมสิทธิ์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจากลายพิมพ์นิ้วมือหลอกลวง
มารดากับบุตรมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน ภายหลังบุตรขอให้มารดากดลายพิมพ์นิ้วมือให้ โดยอ้างว่าจะไปขึ้นเงินจำนองที่ดินรายนี้ ครั้นมารดากดลายพิมพ์นิ้วมือให้ไปแล้ว บุตรกลับไปทำเป็นหนังสือมอบอำนาจของมารดาให้บุตรเป็นผู้จัดการยกกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของมารดาให้แก่บุตร และบุตรได้ดำเนินการมาจนเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมยกให้ที่ดินส่วนมารดาเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตร ดังนี้ มารดาย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการให้นี้ได้ เพราะถือได้ว่านิติกรรมการให้ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบฉันทะต้องรู้เห็นการพิมพ์ลายมือ มิเช่นนั้นไม่สมบูรณ์
การลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 9 ในใบมอบฉันทะให้โอนที่ดิน(ยกให้) นั้น พยานผู้ลงชื่อจำต้องรู้เห็นในการพิมพ์ลายนิ้วมือ มิฉะนั้นจะเรียกว่าเป็นการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามกฎหมาย หาได้ไม่ ผู้รับมรดกของผู้มอบฉันทะของเพิกถอนการโอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบฉันทะ: พยานต้องรู้เห็นการพิมพ์
การลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 9 ในใบมอบฉันทะให้โอนที่ดิน (ยกให้)นั้น พยานผู้ลงชื่อจำต้องรู้เห็นในการพิมพ์ลายนิ้วมือ มิฉะนั้นจะเรียกว่าเป็นการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามกฎหมาย หาได้ไม่ผู้รับมรดกของผู้มอบฉันทะขอเพิกถอนการโอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นยังไม่สมบูรณ์-สัญญาต่างตอบแทนไม่เป็นผลเมื่อไม่สมรส: สิทธิเรียกร้องที่นา
พ่อแม่ฝ่ายชายทำสัญญายกที่นา 10 ไร่ โดยแบ่งออกจากนาแปลงใหญ่มีโฉนดแล้วแต่ยังไม่ได้มอบหมายแบ่งแยกออกเป็นส่วนสัดให้เป็นของหมั้นแก่หญิง ต่อมาหญิงชายได้แต่งงานอยู่กินด้วยกันที่บ้านชายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นาที่ยกให้ก็ยังไม่ได้มอบหมายให้กันอย่างแท้จริง ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่านา 10 ไร่นี้เป็นของหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 หญิงจะฟ้องเรียกนา 10 ไร่นี้ในฐานเป็นของหมั้นไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นสัญญาให้ที่มีการตอบแทน จุดประสงค์ของผู้ให้ก็เพื่อให้คู่สมรสได้ใช้สร้อยทำกินด้วยกันเป็นสำคัญ เมื่อหญิงกับชายไม่ได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และบัดนี้ยังแยกไม่ได้อยู่กินด้วยกันอีก ก็นับว่าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ให้ จึงไม่มีเหตุที่หญิงจะเรียกร้องเอานานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้/หมั้นที่ยังไม่สมบูรณ์: ข้อกำหนดเรื่องการสมรสตามกฎหมายและการไม่เป็นไปตามเจตนาเดิม
พ่อแม่ฝ่ายชายทำสัญญายกที่นา 10 ไร่โดยแบ่งออกจากนาแปลงใหญ่ + ให้เป็นของหมั้นแก่หญิงต่อมาหญิงชายได้แต่งงานอยู่กินด้วยกันที่บ้านชายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นาที่ยกให้ก็ยังไม่ได้มอบหมายให้กันอย่างแท้จริง ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่านา 10 ไร่นี้เป็นของหมั้นตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1436 หญิงจะฟ้องเรียกนา 10 ไร่นี้ในฐานเป็นของหมั้นไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นสัญญาให้ที่มีการตอบแทน จุดประสงค์ของผู้ให้เพื่อให้คู่สมรสได้ใช้สรอยทำกินด้วยกันเป็นสำคัญ เมื่อหญิงกับชายไม่ได้สมรสกันโดยถูกต้องตาม ก.ม.แล้วและบัดนี้ยังแยกไม่ได้อยู่กินด้วยกันอีก ก็นับว่าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ให้ จึงไม่มีเหตุที่หญิงจะเรียกร้องเอานานี้ได้ส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเรือน (ทรัพย์ติดที่ดิน) ด้วยวาจาไม่สมบูรณ์ ถือเป็นมรดกต้องแบ่ง
พูดยกเรือนให้หลานก่อนตาย. โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 นั้น ถือว่าไม่สมบูรณ์เพราะเรือนเป็นทรัพย์ติดที่ดิน ตามมาตรา 100 ฉะนั้นเมื่อผู้ให้ตาย เรือนนี้จึงตกเป็นทรัพย์มรดกตกทอดยังทายาทเช่นเดียวกับทรัพย์อื่นผู้รับได้ครอบครองเรือนยังไม่ถึง 10 ปียังไม่ได้กรรมสิทธิ์
of 28