คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 525

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิฟ้องถอนคืนการให้
โจทก์กับ ช.เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยและ ล.จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมที่ ช.ทำไว้อันเป็นการได้มาโดยทางมรดกมิใช่รับโอนมาโดยโจทก์ยกให้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้
ปัญหาว่า พินัยกรรมฉบับที่ ช. ทำดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงใดหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่
การที่โจทก์ลงชื่อให้ความยินยอมในพินัยกรรมของ ช.ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่การยกให้ สิทธิในการฟ้องเรียกคืนการให้จึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์กับ ช. เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยและ ล.จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมที่ ช. ทำไว้อันเป็นการได้มาโดยทางมรดกมิใช่รับโอนมาโดยโจทก์ยกให้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิ ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ ปัญหาว่า พินัยกรรมฉบับที่ ช. ทำดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงใดหรือไม่ โจทก์ซึ่ง เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์ลงชื่อให้ความยินยอมในพินัยกรรมของ ช. ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรม ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3566-3567/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการทำพินัยกรรมโมฆะ การครอบครองปรปักษ์ และการครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ
น. ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงที่ 1 ที่ 3 ซึ่งเป็นที่ดิน น.ส. 3 และที่ดินแปลงที่ 4 ซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดให้แก่โจทก์ทั้งสองและนาง จ. ภริยาผู้ตาย ส่วนที่ดินแปลงที่ 2 ซึ่งเป็นที่ดิน น.ส. 3 นั้นให้ขายเพื่อนำไปใช้จัดงานศพผู้ตาย แต่เนื่องจากพินัยกรรมดังกล่าวไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ที่ทำจึงไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 พินัยกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 แต่ถึงแม้พินัยกรรมดังกล่าวจะเป็นโมฆะ นาง จ. ก็มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวในฐานะคู่สมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 และ 1635 (2)
โจทก์ทั้งสองครอบครองที่ดินแปลงที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับนาง จ. มาตลอด โดยถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของตนตามพินัยกรรม และโจทก์ทั้งสองได้ครอบครองที่ดินแปลงที่ 2 โดยถือว่าเป็นของตนตามที่นาง จ. ยกให้เนื่องจากโจทก์ทั้งสองได้จ่ายค่าจัดงานศพของ น. แม้พินัยกรรมของ น. จะเป็นโมฆะ และการยกให้ของนาง จ. จะไม่สมบูรณ์เนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่การครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสองก็เป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน โจทก์ทั้งสองจึงได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทแปลงที่ 1 และที่ 3 ครึ่งหนึ่ง กับได้สิทธิครอบครองที่ดินแปลงที่ 2 ตามที่นาง จ. ยกให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 ส่วนที่ดินแปลงที่ 4 โจทก์ทั้งสองก็ได้ครอบครองร่วมกับนาง จ. โดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ตามส่วนที่ น. ทำพินัยกรรมให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่สมบูรณ์หากไม่ได้จดทะเบียน & ทางสาธารณะยังคงสภาพ แม้ไม่ได้ใช้ประโยชน์
แม้ ท. เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณี ที่โจทก์ได้ภารจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อ ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อม ไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งและคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วยเมื่อ ท. ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มี ผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภารจำยอมหรือเปิดทางพิพาท แก่โจทก์ การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะ เมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าว กีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎร ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้ คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะ อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมไม่สมบูรณ์หากมิได้จดทะเบียน และสิทธิจำเป็นต้องมีข้อจำกัด
แม้ ท.เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคหนึ่ง และคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับ ท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ท.ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภาระจำยอมหรือเปิดทางพิพาทแก่โจทก์
การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะเมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าวกีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎรใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำเนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7011/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้ด้วยวาจาไม่สมบูรณ์จนกว่าจะจดทะเบียน การสละมรดกต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผล
บ. ยกที่ดินให้แก่ ว. ด้วยวาจา โดยมีเจตนาจะไปดำเนินการจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง ถือว่าในขณะนั้น บ. ยังมิได้มีเจตนาสละการครอบครอง การที่ ว. เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก่อนทำการโอนจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ บ. ที่บอกจะยกให้ ไม่ได้เข้าครอบครองในฐานะผู้แย่งการครอบครอง แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ฉะนั้นเมื่อการยกที่ดินพิพาทให้ระหว่าง บ. กับ ว. ยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การให้ดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 ที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของ ว. โดยการให้ เมื่อ บ. ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ บ. ไม่อาจนำที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ. ผู้ตายไปโอนให้ ว. ภายหลัง บ. ถึงแก่ความตายแล้วได้ และเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ทายาทของ บ. ได้แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือว่าขอสละมรดก ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่ายอมสละมรดก ดังนั้น หลังจากที่ บ. ตาย แม้จะได้มีการจดทะเบียนการยกให้ที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ ว. โดยขณะจดทะเบียนทายาททุกคนของ บ. ทราบและไม่มีผู้ใดคัดค้าน ก็ถือไม่ได้ว่าทายาทของ บ. ได้สละมรดกรายนี้แล้ว การทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทก็ไม่มีผลให้ ว. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิของประชาชนในการใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณสมบัติ
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยได้จัดสรรแบ่งขายโดยรังวัดแบ่งแยกออกเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยจำเลยใช้แผนผังโฆษณาขายที่ดินเพื่อแสดงว่าที่ดินที่จัดสรรแบ่งขาย มีถนนใหญ่ตัดผ่านกลางที่ดินและมีถนนซอยผ่านที่ดินที่แบ่งขายทุกแปลงออกสู่ถนนใหญ่ และผู้ซื้อที่ดินแต่ละแปลงจะต้องสละที่ดินของตนเองทำเป็นถนนซอยของส่วนรวม ส่วนถนนใหญ่จำเลยจะกันที่ดินของจำเลยไว้ให้ทำเป็นถนนใหญ่ จึงเป็นการที่จำเลยได้อุทิศโฉนดเลขที่พิพาทเป็นทางสาธารณะคือถนนสายพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออก แม้ภายหลังทางราชการทำถนนเคลื่อนจากแนวถนนเดิม ก็หามีผลทำให้ถนนสายพิพาทกลับกลายเป็นไม่ใช่ทางสาธารณะไม่ ถนนสายพิพาทย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่จำเลยได้แสดงเจตนาอุทิศถนนสายพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามป.พ.พ.มาตรา 525
ถนนสายพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งโจทก์มีส่วนใช้และดูแลรักษาคุ้มครองป้องกัน การที่จำเลยทั้งหกไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวที่อุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ฟ้องโจทก์บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อที่ดินกับจำเลย รวมถึงความรับผิดและข้อผูกพันของจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินที่แบ่งขาย ให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี และตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฎว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะระบุที่ดินเลขโฉนดซึ่งพิมพ์ผิดพลาดไปก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไป ทั้งปรากฎว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินที่พิมพ์ผิดพลาดให้เป็นการถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม
คดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ10,000 บาท แทนโจทก์จึงไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้แก้ไขในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิในที่ดินสาธารณะ
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อมาจำเลยได้จัดสรรแบ่งขายโดยรังวัดแบ่งแยกออกเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยจำเลยใช้แผนผัง โฆษณาขายที่ดินเพื่อแสดงว่าที่ดินที่จัดสรรแบ่งขายมีถนนใหญ่ตัดผ่านกลางที่ดินและมีถนนซอยผ่านที่ดินที่แบ่งขายทุกแปลงออกสู่ถนนใหญ่ และผู้ซื้อที่ดินแต่ละแปลงจะต้องสละที่ดินของตนเองทำเป็นถนนซอยของส่วนรวมส่วนถนนใหญ่จำเลยจะกันที่ดินของจำเลยไว้ให้ทำเป็นถนนใหญ่ จึงเป็นการที่จำเลยได้อุทิศโฉนดเลขที่พิพาทเป็นทางสาธารณะ คือถนนสายพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออก แม้ภายหลัง ทางราชการทำถนนเคลื่อนจากแนวถนนเดิม ก็หามีผลทำให้ถนน สายพิพาทกลับกลายเป็นไม่ใช่ทางสาธารณะไม่ ถนนสายพิพาท ย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทันทีที่จำเลยได้แสดงเจตนาอุทิศถนนสายพิพาทเป็น ทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย โดยไม่จำต้องจดทะเบียน โอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ถนนสายพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งโจทก์มีส่วนใช้และดูแลรักษาคุ้มครองป้องกัน การที่จำเลยทั้งหกไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวที่อุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อที่ดินกับจำเลย รวมถึงความรับผิดและข้อผูกพันของจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินที่แบ่งขายให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี และตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะระบุที่ดินเลขโฉนด ซึ่งพิมพ์ผิดพลาดไปก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไป ทั้งปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินที่พิมพ์ผิดพลาดให้เป็นการถูกต้อง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม คดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 10,000 บาท แทนโจทก์จึงไม่ชอบเพราะตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดี ไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนโดยมิได้แก้ไขในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยการส่งมอบการครอบครองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีเอกสารจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่ง ต. ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มี ข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบ การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด การที่ต. รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาท ให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดู นางแตงมาเป็นเวลาถึง7ปีแสดงว่าต. มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของต. จะมีสิทธิจัดการได้ ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิ ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ไม่ใช่การมรดก ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลพ.ศ. 2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสียก่อน คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลาม ที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับแก่คดี
of 28