พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์และการพิสูจน์การครอบครองโดยสงบและเปิดเผย
การที่ อ. ยกที่ดินมีโฉนดให้แก่โจทก์และ ก.การยกให้นั้นมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ได้มอบโฉนดที่ดินและใบนำสำรวจพื้นที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ให้แก่โจทก์ โจทก์กับ ก.ต่างครอบครองที่ดินที่ได้รับการยกให้นั้นตามส่วนของตน เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งว่า ก.ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งแปลงนั้นศาลไม่อาจบังคับได้เพราะคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์เป็นบุคคลนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ที่ดินยังไม่จดทะเบียน: ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับ
จำเลยทำหนังสือสัญญาให้ที่ดินมีโฉนดโดยเสน่หาแก่โจทก์โดยจะนำไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินภายในกำหนด 7 วัน แต่เมื่อการให้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินหลังหย่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ไม่ต้องจดทะเบียนตามมาตรา 525
การยกให้โดยเสน่หาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่จะตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 521 จะต้องมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรืออีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้รับ บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย นอกจากโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลง และบ้านอีก 1 หลัง ตกเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับได้ หากไม่ใช่พินัยกรรมและศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
เดิม ฝ. ฟ้อง ป. ขอถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณต่อมาได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว โดย ป.ยอมคืนที่พิพาทให้ ฝ.และฝ. ยอมให้ ป. ทำกินในที่พิพาทโดย ป. ยอมให้ข้าวเปลือกแก่ ฝ.ปีละ120กิโลกรัมห้ามฝ.จำหน่ายจ่ายโอนที่พิพาท เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. ตามเดิม สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแต่เป็นสัญญาที่ ฝ. กับ ป. ทำขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วสัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ และการที่ตกลงกันว่า เมื่อ ฝ.ถึงแก่กรรม ให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมที่พิพาทจึงตกเป็นของ ป. ตามคำพิพากษาตามยอม มิใช่เป็นมรดกของ ฝ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยการส่งมอบ และผลกระทบต่อการขอคืนของกลาง
ผู้ร้องได้ยกรถยนต์ของกลางให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 1แล้ว หลังจากยกให้ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย การให้รถยนต์ของกลางเพียงแต่ส่งมอบให้ก็สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 แล้ว หลักฐานทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่กรณีที่จะต้องจดทะเบียนการโอนตาม มาตรา 525 ฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องจึงไม่อาจขอคืนรถยนต์ของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้โดยมิได้จดทะเบียน การครอบครอง และการโอนมรดกตามพินัยกรรม
พระภิกษุ ป. ทำหนังสือยกที่ดินให้โจทก์และ พ. มารดาจำเลยคนละครึ่งโดยมอบอำนาจให้โจทก์ยื่นคำร้องขอออก น.ส.3 รังวัดแบ่งแยกให้แก่โจทก์และจดทะเบียนโอนส่วนที่เหลือให้แก่ พ. ต่อมาได้มีการรังวัดแล้ว แต่ยังไม่ทันแบ่งแยก ป. มรณภาพเสียก่อน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเมื่อนำมาประกอบกับข้อความในพินัยกรรมของ ป. ที่ยกเลิกการยกที่พิพาทแก่โจทก์ แสดงว่า ป. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่เป็นกรณีเจตนาสละการครอบครองไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลที่ดิน มาตรา 4 ทวิเมื่อการให้รายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินโดยยังมิได้จดทะเบียน: ผลทางกฎหมายตาม ป.พ.พ. และ ป.ที่ดิน
พระภิกษุ ป. ทำหนังสือยกที่ดินให้โจทก์และ พ.มารดาจำเลยคนละครึ่งโดยมอบอำนาจให้โจทก์ยื่นคำร้องขอออก น.ส.3 รังวัดแบ่งแยกให้แก่โจทก์และจด-ทะเบียนโอนส่วนที่เหลือให้แก่ พ. ต่อมาได้มีการรังวัดแล้ว แต่ยังไม่ทันแบ่งแยก ป.มรดกภาพเสียก่อน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเมื่อนำมาประกอบกับข้อความในพินัยกรรมของป.ที่ยกเลิกการยกที่พิพาทแก่โจทก์ แสดงว่า ป.ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่เป็นกรณีเจตนาสละการครอบ-ครองไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 525 และ ป.ที่ดิน มาตรา4 ทวิ เมื่อการให้รายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินต้องทำตามฟอร์มและจดทะเบียน การครอบครองจึงไม่สมบูรณ์หากยังมิได้จดทะเบียน
การยกให้ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก)โดยผู้ให้ประสงค์จะยกให้โดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่เจตนาสละการครอบครอง การให้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 4 ทวิ เมื่อ ป. เจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก ยกที่ดินพิพาทให้แก่จ. แต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่ จ. เข้าครอบครองที่ดินจึงเป็นการครอบครองแทนเจ้าของ มิใช่ยึดถือครอบครองในฐานะเจ้าของ จึงไม่มีสิทธิครอบครอง ต่อมา ป. ยกเลิกการให้ที่ดินพิพาทแก่ จ. และได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่ ล. แทน เมื่อ ป. ถึงแก่กรรมล. ได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของ ป.แล้วจ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องที่ดินพิพาทจาก ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินให้เป็นถนนสาธารณะโดยปริยาย ทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ต่อมาจะมีการโอนสิทธิ
บ.อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นถนนสาธารณะเพื่อให้ประชาชนใช้ร่วมกันโดยปริยาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแม้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นผู้ดูแลถนนสาธารณสมบัติของแผ่นดินยังไม่ได้ทำถนนในที่ดินพิพาท และบ.ได้ไปขอออก น.ส.3 ที่ดินพิพาทในนามของตนอีก ก็ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทกลับเป็นของ บ.การที่ บ. โอนที่ดินพิพาทให้ป.และ ป.โอนให้โจทก์หาทำให้ ป. และโจทก์ ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าบ. ผู้โอนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนบ้านสังหาริมทรัพย์และการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน โดยไม่ต้องจดทะเบียน
จำเลยซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดอย่างสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องรื้อถอนออกไป การซื้อขายในลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 และจำเลยย่อมโอนต่อให้ผู้ร้องสอดอย่างการโอนสังหาริมทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยยกบ้านหลังพิพาทให้ผู้ร้องสอดโดยเสน่หา จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่โดยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทออกไป
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ยอมให้ผู้ร้องสอดอาศัยในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้านพิพาทได้ตลอดชีวิตของผู้ร้องสอดโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410 แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคแรก ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การโอนบ้านอย่างสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนละกรณีกันเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ไม่ทำให้การโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดไม่ต้องรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ยอมให้ผู้ร้องสอดอาศัยในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้านพิพาทได้ตลอดชีวิตของผู้ร้องสอดโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410 แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคแรก ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การโอนบ้านอย่างสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนละกรณีกันเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ไม่ทำให้การโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดไม่ต้องรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์