คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 525

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายทรัพย์มรดกและสินสมรส, อายุความมรดก, สิทธิของทายาทและผู้รับโอน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่อยู่กินกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่มีสินเดิม ฝ่ายชายได้ 2 ส่วนฝ่ายหญิงได้ 1 ส่วน
การยกให้ที่ดินที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สมบูรณ์ สำหรับปัญหาการครอบครองปรปักษ์นั้น มิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัย
สินสมรสในส่วนของ ป. นั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. สามีของป. จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้เพราะมิใช่มรดกของ ท. การที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์สินส่วนนี้ของ ป.ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 ต่อมา จึงไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
สำหรับสินสมรสส่วนของ ท.นั้น เป็นมรดกของ ท. ซึ่ง ป.ภริยาของ ท. กับจำเลยที่ 1 น้องของ ท.มีสิทธิได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของ ท.โดยทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1724 การขายทรัพย์มรดกเป็นเรื่องอยู่ภายในขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกอย่างหนึ่งดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 1736 และมาตรา 1740 บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือโดยสมยอมกัน ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
จำเลยที่ 3 รับโอนที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป.จากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าได้สมรู้หรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือรับโอนโดยไม่สุจริตอย่างไร ทั้งเป็นการรับโอนโดยมีค่าตอบแทน แม้การโอนก่อนหน้านี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่สุจริต ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เป็นมรดกของ ท.ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 คงต้องเพิกถอนเฉพาะการโอนในส่วนที่เป็นสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วน เท่านั้น
จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป. จากจำเลยที่ 1 โดยทราบว่ายังมีผู้อื่นนอกจากจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. และจำเลยที่ 1ยังมิได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนในฐานะผู้จัดการมรดกมีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ในฐานะทายาทด้วยครึ่งหนึ่ง จึงให้เพิกถอนการโอนเฉพาะในส่วนที่เกินสิทธิของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโฉนดนี้ไม่เต็มทั้งแปลงโดยรับโอนเพียง 16 ไร่เศษ ในจำนวน 22 ไร่เศษ กล่าวคือต้องเพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เกิน 1 ใน 3 ส่วน ของที่ดิน และเมื่อนำส่วนที่เพิกถอนไปรวมกับส่วนที่จำเลยที่ 1รับโอนไว้เองจำนวน 6 ไร่แล้ว ได้จำนวน 2 ใน 3 ส่วน ครบจำนวนตามสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของผู้จัดการมรดกยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วนนั้น ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท.จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างอายุความมรดกมาตัดสิทธิ ป.เจ้าของหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เกี่ยวกับสินสมรสส่วนของ ท. 2 ส่วน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.นั้น การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยที่ 1 จะยกอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกโดยเสน่หา การบอกล้างโมฆียกรรม และผลของการครอบครองทรัพย์สิน
จ. ทายาทคนหนึ่งทำหนังสือยกทรัพย์สินส่วนของตนซึ่งมีสิทธิจะได้จากการแบ่งปันในกองมรดกให้แก่ ส.และส. ยอมรับเอาทรัพย์นั้นแล้ว หนังสือนี้เป็นสัญญาให้โดยเสน่หา หาใช่เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดก ลงชื่อยินยอมและรับรู้การยกทรัพย์สินส่วนของ จ. ให้ ส. ในหนังสือยกให้นั้นถือว่ามีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้แก่ ส. โดยปริยายแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1379 สำหรับทรัพย์มรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคนนั้น การโอนจึงทำได้โดย จ.ผู้โอนสั่งจำเลยที่ 2 ผู้แทนว่า ต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทน ส.ผู้รับโอนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1380 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 2รับรู้การยกให้ดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าต่อไปจำเลยที่ 2จะถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทน ส. โดยไม่ต้องจดทะเบียนการยกให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 อีก สัญญาให้จึงสมบูรณ์ โจทก์โต้แย้งเพียงว่าหนังสือยกให้นั้นมิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง แต่รับการให้โดยเสน่หา เท่ากับโจทก์รับว่าหนังสือยกให้ทำเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2510 จริง เพียงแต่โต้แย้งว่ามิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังที่จำเลยกล่าวอ้างเท่านั้นโจทก์จะฎีกาว่าหนังสือยกให้นี้ทำเมื่อปี 2521 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วหาได้ไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยในปัญหานี้ให้ก็เป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยเสน่หาในทรัพย์มรดก: ผลของการส่งมอบโดยปริยายและการบอกล้างโมฆียกรรมเกินกำหนด
การที่ จ. ทายาททำหนังสือยกส่วนได้ของตนที่จะได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 ในฐานะทรัสตีให้แก่ ส. เป็นการโอนทรัพย์สินอันเป็นมรดกที่ตกได้แก่ตนด้วยการให้โดยเสน่หาแก่ ส.และส. ยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการให้โดยเสน่หา หาใช่เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ในขณะที่ จ. ทำสัญญาให้นั้น ทายาททุกคนรวมทั้งทรัสตีได้ตกลงยกเลิกทรัสต์กันแล้ว โดยให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทรัสตีในขณะนั้นทำการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาททรัพย์มรดกทั้งหมดจึงมีจำเลยที่ 2ในฐานะทรัสตีและในฐานะผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาแทนทายาททุกคน การที่ จ. ทำสัญญาให้โดยเสน่หาแล้ว ส. ทำบันทึกมอบฉันทะให้ จ. เป็นผู้รับส่วนแบ่งมรดกดังกล่าวแทน โดยจำเลยที่ 2 ลงชื่อยินยอมและรับรู้การยกให้กับการมอบฉันทะดังกล่าว เท่ากับเป็นการตกลงว่าต่อแต่นั้นไปจำเลยที่ 2จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกอันเป็นส่วนได้ของ จ. แทน ส.เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้โดยปริยายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1379 การให้ทรัพย์สินในส่วนที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์จึงสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 สำหรับมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ก็มีจำเลยที่ 2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคน การโอนจึงทำได้โดย จ.ผู้โอนสั่งจำเลยที่ 2 ผู้แทนว่าต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทน ส.ผู้รับโอนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 วรรคสองเมื่อ จ. ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของในหนังสือสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน การให้โดยเสน่หาจึงไม่อาจจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ได้การรับรู้การยกให้ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการรับว่าต่อไปจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทน ส. โดยไม่ต้องจดทะเบียนการยกให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 อีก การที่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่า จ. ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งมรดกให้แก่ ส. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2510 แต่โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า หนังสือที่ จ. ทำขึ้นดังกล่าวเป็นหนังสือยกให้ส่วนแบ่งมรดกมิใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง การให้ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ เท่ากับโจทก์รับว่าหนังสือยกให้ได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2510 เพียงแต่โต้แย้งว่ามิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง โจทก์จะฎีกาว่าหนังสือยกให้ทำเมื่อปี 2521 อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วหาได้ไม่ต้องฟังว่า จ. ทำหนังสือยกให้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2510 โจทก์เพิ่งบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2527เป็นการบอกล้างเมื่อเกินสิบปี จึงบอกล้างไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143(มาตรา 181 ที่แก้ไขใหม่)สัญญาให้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิพากษายกฟ้องกรณีพินัยกรรมปลอมและทรัพย์มรดก โดยพิจารณาจากลักษณะลายมือชื่อและอายุของผู้ทำพินัยกรรม
เมื่อปรากฏว่าคำพยานโจทก์หลายปากขัดกันเป็นข้อพิรุธ อีก ทั้งพยานโจทก์ทุกปากล้วนเป็นผู้ใกล้ชิดกับโจทก์ทั้งสิ้น ไม่มี คนใดพอที่จะถือได้ว่าเป็นพยานคนกลางโดยแท้จริง ประกอบกับเมื่อ พิจารณาลายมือชื่อของ บ. ในพินัยกรรมที่โจทก์อ้างเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของ บ. ในเอกสารอื่น ๆ แล้ว จึงเชื่อได้ว่า บ. มิได้ทำพินัยกรรม การยกให้อสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์และจำเลยร่วมเป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ย่อมมีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในบ้านพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360วรรคสอง แต่คำฟ้องแย้งของจำเลยร่วมเรียกร้องเอาดอกผลของ บ้านพิพาทจากโจทก์เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวทั้งหมด ศาลจะพิพากษา ให้จำเลยร่วมได้รับแต่ส่วนแบ่งในเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมควรได้แต่ส่วนแบ่งเท่าใดก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้การยกให้ไม่จดทะเบียน การขุดร่องน้ำทำถนนในที่ดินของผู้อื่นถือเป็นการละเมิด
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี มิใช่ครอบครองแทนทายาทอื่น ดังนี้ แม้การ ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลย ก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นตั้งแต่วันครบ 10 ปี นับแต่ วัน ได้รับ การยกให้ การที่โจทก์ขุดร่องน้ำและทำถนนในที่ดินพิพาท ภายหลัง จาก ที่จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จึงเป็นการละเมิด ต่อจำเลย โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์เข้าไป ขุด ร่องน้ำและทำถนนในที่ดินพิพาทเป็นการละเมิด จึงฟ้องแย้งให้ โจทก์ ทำการถมร่องน้ำและรื้อถนนในที่ดินพิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม ดังนี้ ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวพันกับที่ดินพิพาทจึง เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4307/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขัดแย้ง: การให้กรรมสิทธิ์ร่วมโดยเสน่หาแล้วขอถอนคืนเนื่องจากเนรคุณ เป็นฟ้องที่ไม่ชัดเจน
คำฟ้องโจทก์ตอนแรกบรรยายว่า โจทก์มีความประสงค์ให้ กำลังใจจำเลยเพื่อให้มุมานะ ในการศึกษา จึงได้ยอมจดทะเบียนลงชื่อ โจทก์กับจำเลยร่วมกันเป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง หมายความว่า โจทก์ ให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินตามฟ้องโดยเสน่หา แต่คำฟ้อง ของโจทก์ตอนต่อมาบรรยายว่า ที่ดินตามฟ้องโจทก์ลงชื่อจำเลย ร่วมไว้โดยเสน่หา ทั้งยังไม่ได้ให้ โดยเด็ดขาด เพียงลงชื่อไว้แทนชั่วคราว และโจทก์ยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนี้อย่างเป็นเจ้าของตลอดมา หมายความว่า โจทก์ยัง ไม่ได้ยกที่ดินให้จำเลยเด็ดขาด เพราะโจทก์ยังคงครอบครองเป็น เจ้าของแต่ผู้เดียว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน ที่โจทก์ยกให้ จึงเป็นฟ้องที่ขัดกันและเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การให้ไม่สมบูรณ์ แต่ครอบครองต่อเนื่องเกิน 10 ปี
แม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่บิดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยครอบครองไว้เพื่อตนเอง ซึ่งเมื่อนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายจนถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาส่วนมรดกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 2 เพิ่งจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทในภายหลังย่อมหมดสิทธิที่จะรับมรดก และการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าวจะถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองและเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ และสิทธิของทายาทที่ขาดอายุความ
แม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่บิดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยครอบครองไว้เพื่อตนเอง ซึ่งเมื่อนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายจนถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382
ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาส่วนมรดกภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 2 เพิ่งจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทในภายหลัง ย่อมหมดสิทธิที่จะรับมรดก และการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าวจะถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองและเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม การโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน และผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของร่วม
บ้านพิพาทเป็นของจำเลยกับ ช. ร่วมกัน แม้หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฏชื่อ ช.เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและช. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทให้ผู้ร้อง ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนมาเป็นของผู้ร้องด้วย เพราะจำเลยมิได้แสดงเจตนายกให้ผู้ร้องทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นการที่ ช. จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง จะถือว่าจำเลยยอมให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนไปเป็นของผู้ร้องด้วยไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยบ้านพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม การโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น
บ้านพิพาทเป็นของจำเลยกับ ช.ร่วมกัน แม้หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฏชื่อ ช.เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว และช.จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทให้ผู้ร้อง ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนมาเป็นของผู้ร้องด้วย เพราะจำเลยมิได้แสดงเจตนายกให้ผู้ร้อง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นการที่ ช.จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง จะถือว่าจำเลยยอมให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนไปเป็นของผู้ร้องด้วยไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยบ้านพิพาท
of 28