พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินด้วยวาจาไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้รับให้ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ก่อนมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมได้สั่งให้พี่ชายโจทก์แบ่งที่ดินของมารดาโจทก์ซึ่งพี่ชายโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแทนให้แก่โจทก์และพี่น้องอีก 3 คน พี่ชายโจทก์ได้แบ่งที่ดินให้พี่น้อง 3 คนแล้ว แต่ยังไม่ได้แบ่งให้โจทก์ พี่ชายโจทก์ก็ถึงแก่กรรมไปก่อน ดังนี้ เมื่อมารดายกที่ดินให้โจทก์ด้วยวาจาไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การให้ดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525,456 ที่ดินยังเป็นของมารดา โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกที่ดินจากจำเลยซึ่งเป็นภรรยาและผู้จัดการมรดกของพี่ชายในฐานะผู้รับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ด้วยวาจาไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และสิทธิในการฟ้องเรียกทรัพย์คืน
มารดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ด้วยวาจา ไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การให้ดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525,456 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยังเป็นของมารดาโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลย ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของมารดาโจทก์ รูปคดีมิใช่เรื่องลาภมิควรได้ตามที่โจทก์อ้างในคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองหลังการยกให้และเงื่อนไขไม่สมบูรณ์
ห.คงมีแต่เพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้นขณะที่ยกที่ดินดังกล่าวให้จำเลย เมื่อ ห.ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยเข้าครอบครอง ถือได้ว่าสละเจตนาที่จะครอบครองที่ดินดังกล่าว และการยกให้มีผลสมบูรณ์ทันที ไม่ต้องไปจดทะเบียนทำนิติกรรมการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท หลังจาก ห.ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว ได้มีการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทในนามของ ห.แม้ห.ยังมิได้จดทะเบียนโอนให้จำเลย แต่จำเลยได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตลอดจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเป็นเวลากว่า10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิครอบครองที่ดิน แม้ไม่มีการจดทะเบียน ก็สามารถทำให้ได้กรรมสิทธิ์
ห.คงมีแต่เพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น ขณะที่ยกที่ดินดังกล่าวให้จำเลย เมื่อ ห.ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยเข้าครอบครอง ถือได้ว่าสละเจตนาที่จะครอบครองที่ดินดังกล่าว และการยกให้มีผลสมบูรณ์ทันที ไม่ต้องไปจดทะเบียนทำนิติกรรมการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
หลังจาก ห.ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว ได้มีการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทในนามของ ห. แม้ ห.ยังมิได้จดทะเบียนโอนให้จำเลย แต่จำเลยได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตลอดจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382
หลังจาก ห.ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว ได้มีการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทในนามของ ห. แม้ ห.ยังมิได้จดทะเบียนโอนให้จำเลย แต่จำเลยได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตลอดจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมยังคงมีอยู่แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ และผู้รับโอนมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์
ขณะโจทก์ที่ 1 เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้กระทำละเมิด แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทยกให้โจทก์ที่ 2 อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ที่ 2 ผู้รับโอนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 57(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดยังคงอยู่แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ และการเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมของผู้รับโอน
ขณะโจทก์ที่ 1 เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้กระทำละเมิด แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทยกให้โจทก์ที่ 2 อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ที่ 2 ผู้รับโอนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 57(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306-4307/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถว จำเลยต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพถนนตามสัญญา
จำเลยประกาศโฆษณาขายที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ซื้อว่ามีถนนกว้าง 10 เมตร เมื่อครบ 10 ปีแล้วจะยกให้เป็นทางสาธารณะ เป็นสัญญาต่อเนื่องในการขายระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่การให้คำมั่นว่าจะให้จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
จำเลยผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ยอมให้บุคคลภายนอกเช่าทรัพย์สินไปและทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อโจทก์ผู้มี สิทธิใช้ทรัพย์สินนั้นตามสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์
จำเลยผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ยอมให้บุคคลภายนอกเช่าทรัพย์สินไปและทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อโจทก์ผู้มี สิทธิใช้ทรัพย์สินนั้นตามสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ การส่งมอบการครอบครองเป็นหลักฐานสิทธิ และสิทธิในการฟ้องขับไล่
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบการครอบครองของที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองแล้ว ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินย่อมโอนการครอบครองกันได้เพียงการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่จำต้องไปทำหนังสือหรือจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
แม้หนังสือซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่จำเลยบุกรุกเข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อจำเลยบุกรุกเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ละครั้งไม่เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมไม่ขาดสิทธิที่จะฟ้องขับไล่เรียกการครอบครองที่ดินพิพาทคืนจากจำเลย
แม้หนังสือซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่จำเลยบุกรุกเข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อจำเลยบุกรุกเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ละครั้งไม่เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมไม่ขาดสิทธิที่จะฟ้องขับไล่เรียกการครอบครองที่ดินพิพาทคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, มรดก, การโอนกรรมสิทธิ์, สิทธิในทรัพย์สิน
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว
ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้
เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้
เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส การโอนกรรมสิทธิ์ และการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัวหลังการเสียชีวิต
การที่คู่สมรสยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเป็นสินสมรสเฉพาะส่วนของตนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าคู่สมรสนั้นได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรส และตกเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การให้อสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่บ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อทางพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายกรรมสิทธิ์ในบ้านยังคงเป็นของผู้ให้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร และเครื่องประดับอื่น ๆ คือสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน เข็มขัดนาก ซึ่งเป็นของภรรยามีราคาไม่มากนักเป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะแม้จะได้มาโดยสามีเป็นผู้หามาให้ หรือภรรยาหามาเองในระหว่างสมรสก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของภรรยา.