คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 880

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุพพลภาพถาวรและข้อยกเว้นการแจ้งลายลักษณ์อักษรตามสัญญาประกันภัย
คำว่า"ทุพพลภาพ"หมายถึงหย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์และต้องพูดคุยกับลูกค้ามาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควรโจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุพพลภาพถาวรและการแจ้งให้บริษัทประกันทราบ การพิสูจน์เหตุจำเป็นไม่ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
คำว่า "ทุพพลภาพ" หมายถึง หย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติ โจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์ และต้องพูดคุยกับลูกค้าที่มาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์ การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสีย ไม่ได้ยินเสียง โจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไป ถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ" ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่า โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณี ในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควร โจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัยค้ำจุน และอายุความของหนี้ที่เกิดจากสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยหาได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องจึงเกิดจากสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่จำเลยทำกับผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ต้องเสียหายเข้าใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ต้องเสียหายซึ่งควรจะได้รับจากจำเลยแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหายฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงในนามของโจทก์เองได้ตามมาตรา880เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวจึงนำอายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยอีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยให้รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิดเพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา206เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยค้ำจุนและการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย หาได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องจึงเกิดจากสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่จำเลยทำกับผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา887 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ต้องเสียหายเข้าใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ต้องเสียหายซึ่งควรจะได้รับจากจำเลยแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหาย ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงในนามของโจทก์เองได้ตามมาตรา 880 เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวจึงนำอายุความละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้
เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย อีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย ฟ้องจำเลยให้รับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิด เพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา 206 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง & ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
เมื่อศาลจังหวัดระยองได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจัดการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลชั้นต้นให้หมายแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าโจทก์ทั้งสองจะดำเนินการอย่างไรให้แถลงภายใน15 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งแล้วไม่มาแถลงภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การที่ศาลพิพากษาคดีอาญาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 174,338 บาท ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 จ - 3838 กรุงเทพมหานคร และมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่ 1 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายนัด และการผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง
เมื่อศาลจังหวัดระยองได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจัดการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่1ไม่ได้ศาลชั้นต้นให้หมายแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าโจทก์ทั้งสองจะดำเนินการอย่างไรให้แถลงภายใน15วันโจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งแล้วไม่มาแถลงภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฎีกาสำหรับจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบด้วยมาตรา246และ247 คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการที่ศาลศาลอุทธรณ์คดีอาญาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้นเป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่1กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่1กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้วเมื่อโจทก์ที่1เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่1ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46 โจทก์ที่2ฟ้องขอให้จำเลยที่2ที่3และที่4ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่2เป็นจำนวนเงิน174,338บาทดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่โจทก์ที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่1เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน2จ-3838กรุงเทพมหานครและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่1เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่2และที่3หรือไม่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1หรือไม่และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่2เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่1ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่1ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่2ที่3และที่4จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่1ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8016/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แม้ผู้เอาประกันภัยผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ และไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้เอาประกันภัยในฟ้อง
จำเลยที่4เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ก่อให้เกิดขึ้นข้อที่ว่าจำเลยที่4รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากผู้ใดเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่4ทราบดีอยู่แล้วแม้โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัยก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม แม้จำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยจะปฎิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่แจ้งเหตุให้จำเลยที่4ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยทราบทันทีก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่4จะกล่าวเอาแก่จำเลยที่2ผู้เป็นคู่สัญญาจำเลยที่4จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่2กับจำเลยที่4หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8016/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แม้ผู้เอาประกันภัยผิดเงื่อนไข
จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ก่อให้เกิดขึ้น ข้อที่ว่าจำเลยที่ 4รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากผู้ใดเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ทราบดีอยู่แล้วแม้โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัย ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
แม้จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์-ประกันภัยโดยไม่แจ้งเหตุให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยทราบทันที ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 4 จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 4 จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7133/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความสูญหาย/เสียหายของสินค้า และอายุความฟ้องร้อง
ในการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น ใบตราส่งเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงว่าผู้ใดเป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว เพราะเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับของที่ส่ง จุดหมายปลายทาง ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า นอกจากนี้ยังกำหนดรายละเอียดถึงชื่อหรือยี่ห้อของผู้ส่ง จำนวนค่าระวาง พาหนะ สถานที่และวันที่ออกใบตราส่ง และลายมือชื่อผู้ขนส่งด้วย จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเดินเรือและดำเนินการพาณิชย์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศและในต่างประเทศ เมื่อใบตราส่งมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นใบตราส่งของจำเลย แม้จะปรากฏชื่อบริษัทย.ประทับไว้ และมีลายมือชื่อผู้จัดการอยู่ใต้ข้อความที่ระบุว่า "กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น วันที่ 19 มิถุนายน 2532" อันเป็นสถานที่และวันที่ออกใบตราส่งแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ย.เป็นผู้มีหน้าที่ออกใบตราส่งและเมื่อการสั่งซื้อสินค้ารายพิพาทผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยทางเรือดังนั้น ที่ปรากฏชื่อบริษัท ย. และลายมือชื่อผู้จัดการในใบตราส่งดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่บริษัท ย.โดยผู้จัดการลงชื่อในฐานะผู้ร่วมขนส่งเพื่อแสดงว่าใบตราส่งนั้นได้ออกที่ใดและเมื่อใดเท่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยและบริษัท ย.ร่วมกันขนส่งสินค้ารายพิพาท
การขนส่งสินค้ารายพิพาทแม้เรือที่ขนส่งเข้าเทียบท่าแล้ว แต่ก่อนที่ผู้รับตราส่งจะรับมอบสินค้าจากนายเรือไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบจำนวนเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง และตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งในการที่สินค้ารายพิพาทสูญหายหรือบุบสลายคงมีอยู่ตลอดเวลาที่การตรวจสอบสินค้านั้นยังไม่เสร็จสิ้น การที่เรือขนส่งสินค้ารายพิพาทเข้าเทียบท่าและผู้รับตราส่งรับสินค้ามาเพื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีสินค้าขาดจำนวนไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนอันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
แม้เรือจะขนสินค้ารายพิพาทมาถึงเมืองท่าปลายทางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2532 และผู้รับตราส่งขอรับสินค้าในวันดังกล่าว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง รวมทั้งตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าด้วย ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้นจะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อผู้รับตราส่งตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับจากวันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2533 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทสำหรับกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยรับขนของทางทะเล และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเช่นว่านั้นใช้บังคับในขณะนั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 279,088.29 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 6,977.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีการวมเข้าไปเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจำนวน 346,313.22 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,657.50 บาท จำเลยจึงชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 1,680 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินที่ชำระเกินมาดังกล่าวแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดูแลรักษารถยนต์ที่ได้รับมอบหมาย และข้อยกเว้นการไล่เบี้ยตามกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันไว้จากผู้เอาประกันภัยเพื่อรับจ้างติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าสจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์มิให้สูญหายเพื่อจะได้คืนรถยนต์ให้ผู้ว่าจ้างเมื่อรถยนต์สูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในครอบครองของจำเลยเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากส. ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ส. เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อส. มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามเสียก่อนโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากส.จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยบริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้นหมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะเมื่อจำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้างส. ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าสจึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะกรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าว
of 28