พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5539/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัย: การรับช่วงสิทธิและการนับระยะเวลา
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเมื่อ 12 มีนาคม 2527หลังเกิดเหตุผู้เอาประกันภัยไปแจ้งความในวันเดียวกัน โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 แล้วมายื่นฟ้องในวันที่10 ตุลาคม 2527 เกินกำหนดเวลา 6 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 678
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5539/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโรงแรม กรณีรถยนต์สูญหายในโรงแรม
ตามสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยมีมูลหนี้สืบเนื่องมากจาก ช. ผู้เอาประกันภัยได้นำรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ไปจอดในบริเวณโรงแรมของจำเลยซึ่งจำเลยในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆอันเกิดแต่ทรัพย์สิน ซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามาซึ่งเกี่ยวกับอายุความเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 678 มีอายุความ 6 เดือนนับแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้น เมื่อเหตุรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเกิดขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม 2527หลังเกิดเหตุ ช. ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนแล้วเดินทางกลับกรุงเทพมหานครในวันเดียวกัน โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามมาตรา 880 มาและยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากจำเลย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2527เกินกำหนดเวลาหกเดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5539/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของรถยนต์ในโรงแรม
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเมื่อ12 มีนาคม 2527 หลังเกิดเหตุผู้เอาประกันภัยไปแจ้งความในวันเดียวกัน โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 แล้วมายื่นฟ้องในวันที่ 10 ตุลาคม 2527 เกินกำหนดเวลา 6 เดือนคดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 678
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้ขนส่งหลายคนในสัญญาขนส่ง และการระงับความรับผิดจากการประนีประนอมยอมความ
ดวงตราของโจทก์ที่ประทับในใบแต่งทนายความมีรูปร่างลักษณะ และรายละเอียดตัวอักษรในดวงตราเหมือนกับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกรมทะเบียนการค้าทุกประการต่างกันแต่เพียงว่ามีขนาดไม่เท่ากัน ดังนี้ เมื่อกรมทะเบียนการค้าไม่มีระเบียบข้อบังคับว่าดวงตราที่ใช้ประทับจะต้องมีขนาดเท่าดวงตราที่จดทะเบียนไว้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับประทับในใบแต่งทนายความ อีกทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายความใหม่มีกรรมการของบริษัทลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ต่อศาลและให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ได้ดำเนินไปแล้วศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต การยื่นคำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิได้ฟ้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัยจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคแรกอันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ และไม่ตกอยู่ภายในบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายที่ไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่า มีจำนวนเท่าใดแน่นอน จึงไม่ระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เครื่องจักรแม้จะมีราคาหลายล้านบาท แต่ก็เป็นสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 จำเลยที่ 1 รับจ้าง ส. ขนเครื่องจักร แล้วไปติดต่อจำเลยที่ 3ให้จัดหารถบรรทุกเครื่องจักรให้ จำเลยที่ 3 ออกใบเสร็จรับเงินและใบรับของให้จำเลยที่ 1 และติดต่อหารถบรรทุกให้ ซึ่งเป็นรถที่จดทะเบียนใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งและดำเนินการรับจ้างขนส่งสินค้าในนามของจำเลยที่ 5 โดยระบุในหนังสือแสดงการจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 5 มีสิทธิครอบครองและใช้ประกอบการขนส่งไปบรรทุกเครื่องจักรให้ ส. พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5เป็นการขนส่งหลายคนหลายทอด ดังนั้นเมื่อเครื่องจักรบุบสลายระหว่างขนส่ง จะต้องร่วมกันรับผิด จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดทุนทรัพย์ฎีกา: คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทในชั้นฎีกา ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นที่รับไม่ได้
โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดและการรับประกันภัยค้ำจุนซึ่งทำให้โจทก์แต่ละคนเสียหาย แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 คนละไม่ถึงสองแสนบาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การที่จำเลยทั้งสองฎีกาให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรกที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คนขับรถของโจทก์ที่ 2 มีส่วนประมาทด้วยค่าต่อตัวถังกับห้องเย็นรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 2 ไม่เกิน100,000 บาท และรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไม่เสื่อมสภาพนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องช่วงและดอกเบี้ยจากการชำระค่าสินไหมทดแทน: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทน
โจทก์จ่ายเงินแทน ป. ผู้เอาประกันภัยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2530 โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าวจึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือข้อที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย และความเสียหายเกิดจากการขนส่งทางทะเล ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นอำนาจฟ้อง ปัญหานี้ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อนี้ขึ้นมาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคแรก (เดิม) สินค้าที่เสียหายเกิดจากการขนส่งทางทะเล จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งร่วมทอดสุดท้ายต้องร่วมรับผิดในความเสียหายดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระแทนให้ผู้รับตราส่งไปแล้วจึงรับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่งมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลยได้ จำเลยฎีกาในข้อที่มิได้ให้การไว้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากข้อต่อสู้ของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิค่าเสียหายจากประกันภัย: ข้อจำกัดความคุ้มครองและอำนาจฟ้อง
จำเลยขับรถชนรถของ พ.ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย และ พ.ได้นำรถไปซ่อมและชำระค่าซ่อมเรียบร้อยแล้ว เมื่อโจทก์ขอต่อรองและชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าสินไหมทดแทนที่น้อยกว่าความเป็นจริงให้แก่ พ.ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของ พ.เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ สัญญาประกันภัยไม่คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.9.2 ย่อมไม่เกิดสิทธิที่โจทก์จะรับช่วงสิทธิได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ สัญญาประกันภัยไม่คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.9.2 ย่อมไม่เกิดสิทธิที่โจทก์จะรับช่วงสิทธิได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทประกันภัยที่รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย กรณีผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
จำเลยขับรถชนรถของ พ.ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย และ พ. ได้นำรถไปซ่อมและชำระค่าซ่อมเรียบร้อยแล้ว เมื่อโจทก์ขอต่อรองและชดใช้ค่าเสียหายเป็น ค่าสินไหมทดแทนที่น้อยกว่าความเป็นจริงให้แก่ พ.ไปแล้วโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของพ. เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ขับรถที่เอาประกันภัย ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ สัญญาประกันภัย ไม่คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 3.9.2. ย่อมไม่เกิดสิทธิที่โจทก์จะรับช่วงสิทธิได้ ตามกฎหมาย โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยหลังชำระค่าซ่อมรถยนต์ที่เสียหายจากอุบัติเหตุ
โจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยนำรถของโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยที่ถูกรถของฝ่ายจำเลยชนเสียหายไปให้อู่ซ่อมจนเสร็จ และโจทก์ที่ 1มอบรถให้โจทก์ที่ 2 รับไปเรียบร้อยแล้ว ความเสียหายที่โจทก์ที่ 2เจ้าของรถได้รับคือรถของตนบุบสลายเสียหายเพราะถูกฝ่ายจำเลยชนเมื่อโจทก์ที่ 1 ได้สั่งให้อู่จัดการซ่อมและอู่ทำการซ่อมเสร็จเรียบร้อยจนกระทั่งส่งมอบให้โจทก์ที่ 2 รับไปแล้ว ดังนั้นโจทก์ที่ 1ก็ต้องมีความผูกพันที่จะต้องใช้ราคาซ่อมให้แก่อู่ตามจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ ถือว่าโจทก์ที่ 1 ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามจำนวนราคาค่าจ้างที่ได้ตกลงไว้กับอู่ผู้ทำการซ่อม โจทก์ที่ 1จึงรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่มีต่อฝ่ายจำเลยแล้ว