คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 880

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์หลังตกลงค่าเสียหายส่วนบุคคล: ศาลยืนตามอุทธรณ์
แม้ข้อตกลงระหว่าง ส. กับจำเลยตามรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันมีใจความว่า ส.ได้เรียกร้องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลตัวเองและของภรรยาเป็นเงินรวม 27,500 บาท และไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและอาญาก็ตามแต่ยังมีข้อความอีกว่า สำหรับรถยนต์ของ ส. นั้น คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะไปทำการเจรจากันในภายหลังต่อไปแสดงว่าคู่กรณีเจตนาแยกการเรียกค่าเสียหายจากการซ่อมแซมรถยนต์ออกจากค่าเสียหายจำนวน 27,500 บาทส.จึงไม่สูญสิทธิที่จะเรียกร้องค่าซ่อมแซมรถยนต์ในภายหลังเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของ ส. ได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปซ่อมแซมและชำระค่าซ่อมแซมแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของ ส.ในอันที่จะเรียกร้องเงินค่าซ่อมแซมรถยนต์จากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์จากการประกันภัย แม้มีข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายอื่นแล้ว
แม้ข้อตกลงระหว่างพันจ่าอากาศเอก ส. กับจำเลยตามรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันจะมีใจความว่า พันจ่าอากาศเอก ส. ได้เรียกร้องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลตัวเองและของภรรยาเป็นเงินรวม 27,500 บาทและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและอาญาก็ตาม แต่ก็ยังมีข้อความอีกว่า สำหรับรถยนต์ของพันจ่าอากาศเอก ส. นั้นคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะไปทำการเจรจากันในภายหลังต่อไป แสดงว่าคู่กรณีเจตนาแยกการเรียกค่าเสียหายจากการซ่อมแซมรถยนต์ออกจากค่าเสียหายจำนวน 27,500 บาท พันจ่าอากาศเอกส. จึงไม่สูญสิทธิที่จะเรียกร้องค่าซ่อมแซมรถยนต์ในภายหลังเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของพันจ่าอากาศเอก ส. ได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปซ่อมแซมและชำระค่าซ่อมแซมแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของพันจ่าอากาศเอก ส. ในอันทีจะเรียกร้องเงินค่าซ่อมแซมรถยนต์จากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิประกันภัย และขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยผิดเงื่อนไข
บันทึกข้อตกลงมีข้อความว่า ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ตกลงชดใช้ค่าทดแทนค่าเสียหายให้กับฝ่ายผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ตายและผู้บาดเจ็บโดยผู้เสียหายรับเงินแล้วไม่ประสงค์จะฟ้องร้องต่อไปอีก เป็นการตกลงชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการบาดเจ็บและตายเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายอันเกิดกับรถยนต์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก เมื่อผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถยนต์แล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยได้ เงื่อนไขความรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยต้องเคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องนำหลักฐานนั้นมาแสดงต่อผู้รับประกันภัยมิฉะนั้นผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชอบชดใช้ค่าทดแทนนั้น มิได้ระบุชัดแจ้งว่าให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญา การผิดเงื่อนไขหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยคู่สัญญา จะยกเหตุแห่งการผิดเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4631/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 3 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4631/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการขับรถประมาทและการรับประกันภัย การคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลยที่ 3มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 3 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งหลายทอดและช่วงสิทธิจากประกันภัยสินค้า
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ผู้รับตราส่งได้นำใบตราส่งพร้อมหลักฐานอื่นไปขอออกสินค้าลูกปืนและตลับลูกปืนที่สั่งซื้อจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้วสิทธิของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนสินค้ารายนี้ย่อมตกได้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปย่อมได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องผู้รับขนผู้ก่อความเสียหายแก่สินค้ารายนี้ได้
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับสินค้าในใบตราส่ง เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย บริษัทตัวแทนเรือในต่างประเทศได้แจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดร.ไปรับสินค้าจากคลังสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1มีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา618
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ผู้ควบคุมการเดินเรือของประเทศสหภาพโซเวียต โดยได้รับค่าตอบแทนตามอัตราสินค้าเข้าและสินค้าออกของค่าระวาง แต่ในคดีนี้เรือบรรทุกสินค้าของประเทศสหภาพโซเวียตมิได้เข้ามาในประเทศไทย โดยได้ขนถ่ายสินค้ารายนี้ให้สายการเดินเรืออื่นทำการขนส่งอีกทอดหนึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมดำเนินการขนส่งหรือได้ผลประโยชน์ในการขนส่งสินค้ารายนี้ ดังนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมขนส่งด้วยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ขนส่งร่วมกันและการช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยสินค้า
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ผู้รับตราส่งได้นำใบตราส่งพร้อมหลักฐานอื่นไปขอออกสินค้าลูกปืนและตลับลูกปืนที่สั่งซื้อจากการท่าเรือแห่ง ประเทศไทยแล้วสิทธิของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนสินค้ารายนี้ย่อมตกได้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปย่อมได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องผู้รับขนผู้ก่อความเสียหายแก่สินค้ารายนี้ได้
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับสินค้าในใบตราส่ง เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย บริษัทตัวแทนเรือในต่างประเทศได้แจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ไปรับสินค้าจากคลังสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 มีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ผู้ควบคุมการเดินเรือของประเทศสหภาพโซเวียต โดยได้รับค่าตอบแทนตามอัตราสินค้าเข้าและสินค้าออกของค่าระวาง แต่ในคดีนี้เรือบรรทุกสินค้าของประเทศสหภาพโซเวียตมิได้เข้ามาในประเทศไทย โดยได้ขนถ่ายสินค้ารายนี้ให้สายการเดินเรืออื่นทำการขนส่งอีกทอดหนึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมดำเนินการขนส่งหรือได้ผลประโยชน์ในการขนส่งสินค้ารายนี้ ดังนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมขนส่งด้วยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 616, 625 บังคับ
โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งของทางทะเลของประเทศใด มาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616 และ 625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการบำรุงรักษาสะพาน ทำให้ผู้ขับขี่ได้รับความเสียหาย
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตร มาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 (3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการเสริมถนนและไม่แก้ไขป้ายความสูงสะพาน
น. ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลัง คอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารภมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้ สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตรแต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตรน. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดู ว่ารถจะแล่นลอดใต้ สะพานไปได้หรือไม่ แล้ว น. ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อท.บอกให้หยุด น. ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อย ของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยว ชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่า สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น. เชื่อ ว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้เช่น สะพานลอย6 สะพานที่ น. ขับลอด ผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ช. การที่ น. มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้าย ซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้าย และช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบกพ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้ สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตรได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.
of 28