พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14218/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การว่าจ้างดูแลความปลอดภัย, ตัวการร่วม, การรับช่วงสิทธิจากผู้รับประกันภัย, การวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินซึ่งเป็นรถยนต์ของบุคคลทั่วไปที่นำเข้ามาจอดในลานจอดรถของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทปล่อยให้มีผู้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยไม่คืนบัตรจอดรถ จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 แม้จะให้การว่า จำเลยที่ 3 มิได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของลูกค้าผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอกแต่จำเลยที่ 3 ก็ให้การว่าจำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้มาดำเนินการดูแลและรักษาความปลอดภัยแก่พนักงานและทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ที่อยู่ภายในสาขานครปฐม โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ตามสัญญาจ้างที่จะต้องจัดหาพนักงานรักษาความปลอดภัย อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 มิได้ให้การว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างบริษัท บ. ดูแลความปลอดภัยให้จำเลยที่ 3 เช่นนี้จึงแปลได้ว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยแล้ว การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 3 มิได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 แต่ว่าจ้างบริษัท บ. ดูแลรักษาความปลอดภัยให้จำเลยที่ 3 จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างบริษัท บ. จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาท ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังเป็นยุติตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัย การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 มิได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทอันเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดี ซึ่งมีผลทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่จะมุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ต้องพึงมีตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่... กลับปล่อยให้มีผู้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยไม่รับคืนบัตรจอดรถเท่ากับว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานละเมิดไว้ด้วย หาได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานฝากทรัพย์เท่านั้นไม่
จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร การที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณลานจอดรถจึงเป็นการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 และลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำการดูแลรักษาความปลอดภัยแทน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ในการดูแลรักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับบัตรจอดรถคืนจากผู้ขับรถ เมื่อปรากฏว่ามีผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยออกจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยบัตรจอดรถยังอยู่กับ ช. และ ไม่ปรากฏว่ามีการคืนบัตรจอดรถหมายเลขทะเบียนเดียวกับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติหน้าที่เรียกคืนบัตรจอดรถจากคนร้ายเป็นเหตุให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป อันเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจาก ช. ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น" ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องจากผู้ทำละเมิดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ต้องพึงมีตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่... กลับปล่อยให้มีผู้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยไม่รับคืนบัตรจอดรถเท่ากับว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานละเมิดไว้ด้วย หาได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานฝากทรัพย์เท่านั้นไม่
จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร การที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณลานจอดรถจึงเป็นการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 และลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำการดูแลรักษาความปลอดภัยแทน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ในการดูแลรักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับบัตรจอดรถคืนจากผู้ขับรถ เมื่อปรากฏว่ามีผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยออกจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยบัตรจอดรถยังอยู่กับ ช. และ ไม่ปรากฏว่ามีการคืนบัตรจอดรถหมายเลขทะเบียนเดียวกับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติหน้าที่เรียกคืนบัตรจอดรถจากคนร้ายเป็นเหตุให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป อันเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจาก ช. ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น" ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องจากผู้ทำละเมิดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12849/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของอาคารต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของบริษัทรักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 2 เจ้าของอาคารศูนย์การค้า ซ. จัดลานจอดรถเพื่อให้บริการแก่ร้านค้าที่มาเช่าพื้นที่และลูกค้าของร้านค้าเพื่อจอดรถยนต์ขณะเข้าไปใช้บริการยังร้านค้าที่เช่าพื้นที่ในอาคารศูนย์การค้าและมอบให้บริษัท น. เป็นผู้จัดการให้บริการด้านสาธารณูปโภคทั้งหมดรวมทั้งการรักษาความปลอดภัยภายในอาคารและนอกอาคารโดยมีการแบ่งผลประโยชน์จากการจัดเก็บรายได้จากร้านค้าที่เช่าพื้นที่และรับบริการ จำเลยที่ 2 กับบริษัท น. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้อาคารศูนย์การค้า ซ. ร่วมกัน โดยจำเลยที่ 2 จัดเก็บค่าเช่าพื้นที่อาคาร ส่วนบริษัท น. จัดเก็บค่าบริการด้านสาธารณูปโภค การที่บริษัท น. เข้าทำสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลรักษาความปลอดภัยที่อาคารศูนย์การค้าจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่อาคารศูนย์การค้า จำเลยที่ 2 เจ้าของอาคารศูนย์การค้าจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์การค้าย่อมแสดงให้ผู้มาใช้บริการที่อาคารศูนย์การค้าเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้า พฤติการณ์ของบริษัท น. กับจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบการค้าร่วมกัน ย่อมถือได้ว่าบริษัท น. กับจำเลยที่ 2 เป็นตัวการด้วยกันในการทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 รักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์การค้า เมื่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเพราะความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11044/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. เช่าทรัพย์: ความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน
แม้คู่ความจะรับกันว่า สัญญาระหว่างบริษัท ท. กับจำเลยเป็นการเช่าทรัพย์ตามข้อความที่ระบุในสำเนาหนังสือขอเสนอราคาค่าเช่าและใบรับงานเช่า แต่ ข. คนขับรถเครนคันเกิดเหตุเป็นพนักงานบริษัทจำเลยเป็นผู้ควบคุมปั้นจั่นรถเครนในการยกเครื่องจักรขึ้นลงตามความชำนาญงานของตน ส่วน ก. พนักงานบริษัท ท. เป็นเพียงผู้กำหนดจุดที่ตั้งเครื่องจักร ก. ไม่มีอำนาจกำหนดวิธีการใช้อุปกรณ์หรือปั้นจั่นของรถเครน ดังนี้ การงานที่ทำดังกล่าวมีลักษณะสำคัญเป็นการงานที่จำเลยตกลงรับทำให้บริษัท ท. ผู้ว่าจ้างจนสำเร็จและผู้ว่าจ้างตกลงให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น โดยจำเลยเป็นผู้จัดหาเครื่องมือคือรถเครน สัญญาระหว่างบริษัท ท. กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 เพราะมุ่งเน้นเอาผลสำเร็จของการงานที่ทำเป็นสำคัญ หาใช่เป็นสัญญาเช่าทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 จำเลยรวมทั้งพนักงานของจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบปั้นจั่นรถเครนคันเกิดเหตุให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนนำไปใช้ทำการงานที่รับจ้าง เป็นเหตุให้เครื่องจักรรูดตกลงไปกระแทกพื้นได้รับความเสียหาย เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยและพนักงานขับรถบริษัทจำเลย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท ฮ. ผู้ซื้อเครื่องจักร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11027/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การรู้ตัวผู้เสียหายและผู้ก่อเหตุเป็นสำคัญในการนับอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด กรณีจึงต้องนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดประการหนึ่ง และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกประการหนึ่งประกอบกันเป็นวันใด และพ้นหนึ่งปีนับแต่วันดังกล่าว คดีจึงจะขาดอายุความ แม้ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้ยื่นฟ้องกรมทางหลวงชนบทเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้รับผิดในเหตุละเมิด โดยเข้าใจว่ากรมทางหลวงชนบทมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทางหลวงที่เกิดเหตุ ต่อมากรมทางหลวงชนบทยื่นคำให้การในคดีดังกล่าว โจทก์ได้รับสำเนาคำให้การวันที่ 1 กันยายน 2551 ทำนองว่าโจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 1 กันยายน 2551 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยเข้ารับช่วงสิทธิของพันตำรวจโท บ. ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 สิทธิของโจทก์จึงมีเท่ากับสิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่โดยมูลหนี้ต่อจำเลยตามที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์นำสืบเพียงว่าเหตุเกิดวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 โดยไม่ได้นำสืบว่าพันตำรวจโท บ. ไม่รู้ตัวผู้พึงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันเกิดเหตุ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าพันตำรวจโท บ. รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2550 เพราะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจทางหลวงย่อมรู้ว่าถนนที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลของจำเลยอายุความละเมิดจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากพันตำรวจโท บ. จึงต้องฟ้องจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าวด้วย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การหักลบค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 กำหนดให้ค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 25 วรรคสอง และเมื่อบริษัทรับประกันภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด มาตรา 31 บัญญัติว่าย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากบุคคลภายนอกหรือจากเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถ หรือผู้ประสบภัย หากเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลดังกล่าว แม้มาตรา 22 จะไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตาม ป.พ.พ. แต่ก็มิได้หมายความว่าเป็นการให้สิทธิโจทก์ในอันจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลที่รับไปแล้วได้อีก จึงต้องนำเงินที่โจทก์ได้รับมาแล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหักออกจากค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จ่ายไปจริงด้วย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฟ้องโดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความให้ 10,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฟ้องโดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความให้ 10,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10154/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยทรัพย์สินแขก แม้แขกประมาทเลินเล่อเองก็ยังต้องรับผิด
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมจึงมีหน้าที่ต้องรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามา โรงแรมของจำเลยมีห้องพัก 48 ห้อง มีทางเข้าออกเพียงทางเดียว มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่ 2 คน อ. ทำหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยและทำหน้าที่เปิดห้องพักให้แขกทางเข้าออกของโรงแรมไม่มีแผงเหล็กล้อเลื่อน ไม่มีไม้กั้นรถเข้าออก มีเพียงป้อมยาม เช่นนี้แสดงว่าขณะ อ. ไปเปิดห้องพักให้แขกจะไม่มีพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยตรวจตราหรือดูแลรักษาความปลอดภัย คงมีเพียงพนักงานเก็บเงินคนเดียวประจำอยู่ที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนเข้าพัก ซึ่งย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่าบุคคลดังกล่าวไม่อาจดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าได้ คงทำได้เพียงอำนวยความสะดวกในการเข้าพักเท่านั้น ทั้งการขับรถเข้าออกโรงแรมสามารถกระทำได้โดยง่ายเพราะไม่มีแผงกั้นและจำเลยก็ไม่ได้จัดให้มีวิธีรักษาความปลอดภัยวิธีอื่นใดทำให้คนร้ายเข้ามาภายในห้องพักของแขกที่เข้ามาพักอาศัยได้โดยง่าย แม้ดาบตำรวจ ส. กับ ร. จะล็อกเพียงลูกบิดประตูห้องโดยไม่ได้ล็อกกลอนประตูและอุปกรณ์ล็อกรูปตัวยูทั้งที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งอยู่ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติวิสัยของคนเข้าพักอาศัย ไม่อาจถือว่าเป็นความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัย เพราะหากโรงแรมของจำเลยมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ ก็ย่อมเป็นการยากที่คนร้ายจะสามารถเข้าไปภายในห้องพักของลูกค้าได้ จำเลยจึงต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10008/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ถือเป็นการระงับหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์บุตรจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนรถยนต์ที่ อ. ขับซึ่งเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย พนักงานสอบสวนทำบันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า อ. ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด โดยคู่กรณีลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน จึงเป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไป มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เป็นผลให้ อ. ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ที่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้ อ. เป็นการปฏิบัติตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้จำกัดสิทธิ์ อ. หรือผู้เสียหายที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6097/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางอากาศ: ผลผูกพันตามใบตราส่งและอัตราแลกเปลี่ยน
จำเลยสามารถจำกัดความรับผิดตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งเป็นเงิน 852 เอสดีอาร์ เมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเป็นเงินบาทเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ในการพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จึงต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว แม้คู่ความจะไม่ได้อุทธรณ์ปัญหานี้ขึ้นมาก็เห็นสมควรให้อัตราแลกเปลี่ยนไม่เกินอัตราในวันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5108/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมรับผิดชอบรถลูกค้าหาย แม้จอดรถที่โรงแรมอื่น หากมีวิธีปฏิบัติอาศัยพึ่งพากัน
ป. เข้าพักที่โรงแรม ก. ของจำเลยโดยนำรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปจอดที่ลานจอดรถของโรงแรม ร. ตามที่พนักงานของโรงแรม ก. บอก โดยไม่มีใครทักท้วงหรือห้ามไม่ให้ ป. นำรถเข้าไปจอด ย่อมแสดงให้เห็นวิธีปฏิบัติว่า โรงแรม ก. อาศัยพึ่งพิงลานจอดรถของโรงแรม ร. เสมือนเป็นลานจอดรถของตนในกรณีที่รถยนต์ของลูกค้าของโรงแรม ก. เป็นรถขนาดใหญ่และไม่สามารถเข้าไปจอดในลานจอดรถของโรงแรม ก. ได้ และน่าจะได้รับความยินยอมจากโรงแรม ร. เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น ย่อมเป็นการยากที่บุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่ลูกค้าของโรงแรม ร. จะสามารถนำรถเข้าไปจอดภายในลานจอดรถของโรงแรมได้ เมื่อรถบรรทุกที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไป จำเลยในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมจึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่ง ป. คนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยแล้ว ย่อมได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4966/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดทางประกันภัย: สิทธิของผู้รับประกันภัยย่อมมีเท่ากับผู้เอาประกันภัย
โจทก์ฟ้องโดยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้รับประกันภัยจึงมีเท่ากับสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่โดยมูลหนี้ต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย