พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐในการดูแลรักษาความปลอดภัยทางถนน และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช.ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าสูญหาย แม้มีข้อจำกัดความรับผิดในใบตราส่ง
ก่อนที่เรือบรรทุกสินค้าจะมาถึงประเทศไทย จำเลยได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่าทำการติดต่อกับกรมเจ้าท่า ติดต่อกรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ครั้นเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยได้ติดต่อว่าจ้างขนถ่ายสินค้าลงจากเรือสินค้า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบว่าสินค้าได้มาถึงประเทศไทยแล้ว และรับใบตราส่งจากผู้ซื้อ แล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อเพื่อนำไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในกรณีที่จะมีการส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยเรือของบริษัทเจ้าของเรือ จำเลยจะเป็นผู้ออกใบตราส่งให้ โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับใบตราส่งของบริษัทดังกล่าว ในการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวนี้จำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากค่าระวางการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวแม้บางอย่างจะกระทำการแทนผู้ขนส่งต่างประเทศ แต่ก็เป็นการเข้าลักษณะร่วมกันทำการขนส่งกับผู้ขนส่งต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเรือ และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ซึ่งต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 618 ลักษณะ 8 เรื่องรับขนในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม
การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่า ผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625.
การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่า ผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอด กรณีสินค้าสูญหาย และข้อยกเว้นความรับผิดที่ไม่ชัดเจน
ก่อนที่เรือบรรทุกสินค้าจะมาถึงประเทศไทย จำเลยได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่า ทำการติดต่อกับกรมเจ้าท่า ติดต่อกรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ครั้นเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยได้ติดต่อว่าจ้างขนถ่ายสินค้าลงจากเรือสินค้าแจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบว่าสินค้าได้มาถึงประเทศไทยแล้ว และรับใบตราส่งจากผู้ซื้อ แล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อเพื่อนำไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในกรณีที่จะมีการส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยเรือของบริษัทเจ้าของเรือจำเลยจะเป็นผู้ออกใบตราส่งให้ โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับใบตราส่งของบริษัทดังกล่าว ในการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวนี้จำเลยได้รับประโยชน์ตอบ แทนโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จากค่าระวางการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวแม้บางอย่างจะกระทำการแทนผู้ขนส่งต่างประเทศ แต่ก็เป็นการเข้าลักษณะร่วมกันทำการขนส่งกับผู้ขนส่งต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเรือ และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา618 ลักษณะ 8 เรื่องรับขนในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่าผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตก เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากเหตุเพลิงไหม้: ไม่มีประมาทเลินเล่อและมิได้อ้างความรับผิดตามมาตรา 437
ในคดีละเมิดเนื่องจากเหตุเกิดเพลิงไหม้ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือลูกจ้าง เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือตั้งประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง ทั้งข้อเท็จจริงในทางพิจารณาก็ไม่ได้ความว่าเครื่องอบกระป๋องในโรงงานของจำเลยเป็นทรัพย์ที่อาจจะเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์สิน คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองเครื่องอบและน้ำยาฆ่าแมลงที่บรรจุอยู่ในกระป๋องที่ต้องอบในเครื่องอบนั้นเป็นทรัพย์ที่มีอันตรายโดยสภาพหรือโดยการใช้ตามมาตรา 437 วรรคสองและเหตุที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยต้องรับผิดหรือไม่
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์เสียหาย แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยแล้ว แต่เมื่อเหตุที่เพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยอ้างมูลละเมิดได้.
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์เสียหาย แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยแล้ว แต่เมื่อเหตุที่เพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยอ้างมูลละเมิดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากเพลิงไหม้โรงงาน: การพิสูจน์ความประมาทเลินเละและทรัพย์อันตราย
ประเด็นว่า เตา อบ และน้ำยาฆ่าแมลงที่จำเลยครอบครองเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพหรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ตามป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง หรือไม่นั้น เมื่อโจทก์มิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างหรือตั้งประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดตามมาตราดังกล่าวไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับขนทางทะเล: ข้อจำกัดความรับผิดในใบตราส่งเป็นโมฆะ หากไม่มีการตกลงชัดเจน และการใช้กฎหมายต่างประเทศต้องยกขึ้นว่ากันตั้งแต่ต้น
จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นฎีกาว่า การที่จะพิจารณาว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาขนส่งพิพาทให้โจทก์หรือไม่เพียงใด ต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางทะเลของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากคู่สัญญาขนส่งคือผู้ส่งและผู้ขนส่งได้ตกลงไว้เช่นนั้นตามมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้เพราะถือว่ามิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 249
ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีกฎหมายว่าด้วย การรับขนทางทะเลและไม่ปรากฏว่า มีจารีตประเพณีว่าด้วยการนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3ลักษณะ 8 เรื่องรับขน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรค 3
ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เขียนไว้ด้านหลังใบตราส่งนั้นหากไม่ปรากฏว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งย่อมเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 625.(ที่มา-ส่งเสริม)
ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีกฎหมายว่าด้วย การรับขนทางทะเลและไม่ปรากฏว่า มีจารีตประเพณีว่าด้วยการนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3ลักษณะ 8 เรื่องรับขน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรค 3
ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เขียนไว้ด้านหลังใบตราส่งนั้นหากไม่ปรากฏว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งย่อมเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 625.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับมูลละเมิด ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากผู้เอาประกัน
การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถโจทก์ที่ 2 เสียหายแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดระงับไป และทำให้ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยอาศัยมูลละเมิดและทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างระงับไปด้วย
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์ที่ 2 ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้ใช้ค่าซ่อมรถแทนโจทก์ที่ 2 ไป จึงเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามจำนวนที่ชดใช้ไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ที่ 2 ด้วยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์ที่ 2 ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้ใช้ค่าซ่อมรถแทนโจทก์ที่ 2 ไป จึงเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามจำนวนที่ชดใช้ไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ที่ 2 ด้วยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้ละเมิด & การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย
การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2ที่ 3 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถโจทก์ที่ 2 เสียหายแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่2 ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดระงับไป และทำให้ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยอาศัยมูลละเมิดและทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างระงับไปด้วย
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์ที่ 2 ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่1 ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้ใช้ค่าซ่อมรถแทนโจทก์ที่ 2ไป จึงเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามจำนวนที่ชดใช้ไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นเมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ที่ 2 ด้วยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3ได้.
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์ที่ 2 ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่1 ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้ใช้ค่าซ่อมรถแทนโจทก์ที่ 2ไป จึงเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามจำนวนที่ชดใช้ไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นเมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ที่ 2 ด้วยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อความรับผิดของคู่กรณีในคดีละเมิด
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดแก่โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อไว้ เอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 จึงถือว่าจำเลยที่ 1ยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยทำไว้กับโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยย่อมยังไม่ระงับไป เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้จ่ายค่าซ่อมรถที่เอาประกันภัยไว้แทนโจทก์ที่ 2 ไปแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2ผู้เอาประกันภัยได้ตามจำนวนเงินที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดเดิม ระงับไป และทำให้ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อมูลหนี้ละเมิดเดิม ระงับไปแล้วย่อมทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3ที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1ระงับไปด้วยโจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 และเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ โจทก์ที่ 1 คงรับช่วงสิทธิโจทก์ที่ 2 เรียกร้องได้เฉพาะจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับช่วงสิทธิฟ้องของบริษัทประกันภัย และการไม่ต้องห้ามฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากมูลละเมิดแยกกันมาเป็นส่วนสัดในสำนวนเดียวกัน โดยโจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกค่าซ่อมรถยนต์มามีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ชนะคดี ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้เพียงโจทก์ที่ 2 ชนะคดี โดยยกฟ้องโจทก์ที่ 1 เสียด้วย ดังนี้ ถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษากลับสำหรับคดีเฉพาะโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์คันที่รับประกันภัยไว้แก่ผู้รับซ่อมไป เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์ของเจ้าของรถยนต์ผู้เอาประกันภัย จึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าซ่อมรถได้
ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์คันที่รับประกันภัยไว้แก่ผู้รับซ่อมไป เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์ของเจ้าของรถยนต์ผู้เอาประกันภัย จึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าซ่อมรถได้