พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิในคดีละเมิด: เริ่มนับจากวันที่ชำระค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป ฉะนั้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกละเมิดโดยตรงมิได้ เมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนแต่ละจำนวนไปในวันใดโจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยในจำนวนค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวนับแต่วันนั้นเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคิดดอกเบี้ยของผู้รับประกันภัย: เริ่มนับจากวันที่ชำระค่าสินไหมทดแทน ไม่ใช่วันเกิดเหตุ
ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยและฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้นับตั้งแต่วันที่ตนได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปไม่ใช่นับตั้งแต่วันทำละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้รับช่วงสิทธิประกันภัย: การคิดดอกเบี้ยเริ่มต้นเมื่อใด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปฉะนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกละเมิดโดยตรงมิได้เมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนแต่ละจำนวนไปในวันใดโจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยในจำนวนค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวนับแต่วันนั้นเป็นต้นไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซ่อมรถเองหลังชน ไม่ตัดสิทธิประกันภัย ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด
การที่เจ้าของรถยนต์ตกลงกันในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีหลังเกิดเหตุรถยนต์ชนกันว่า " เจ้าของรถต่างไม่ติดใจค่าเสียหายจะนำไปซ่อมเอง เพราะมีประกันภัยไว้" แสดงว่าเจ้าของรถยังมีความประสงค์ที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ ข้อตกลงดังกล่าวไม่ทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลง จึงไม่เป็นข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่เสียหายได้รถยนต์คันดังกล่าวอันเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขนทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลยจึงเป็นสาขาของจำเลยเมื่อสาขาดังกล่าวมี สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย ต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลย จะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ก็หาทำให้ ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น ต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องจะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบ ที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมาศาลฎีกาจึงสมควร วินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัด ความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิ ของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัย ทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบ เพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อนมิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้นเป็นวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็น สาระสำคัญก็ได้หาเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัด ความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิ ของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัย ทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบ เพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อนมิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้นเป็นวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็น สาระสำคัญก็ได้หาเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขนส่งทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลย จึงเป็นสาขาของจำเลย เมื่อสาขาดังกล่าวมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้างที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่ แม้จะนอกเวลาราชการ
จำเลยที่ 2 เป็นทหารพลขับ มีหน้าที่ขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 เป็นประจำและเป็นผู้ครอบครองดูแลรถดังกล่าว ได้ขับรถไปปฏิบัติราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เมื่อเสร็จภาระกิจแล้วได้นำรถออกจากค่ายเพื่อไปรับประทานอาหารที่ตลาดแม้จะหมดเวลาราชการและมิได้ขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชา แต่ก็เป็นเวลาต่อเนื่องคาบเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 กลับจากไปปฏิบัติราชการ ของจำเลยที่ 1 มา แล้วเลยใช้รถขับไปเพื่อหาอาหารรับประทาน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานซึ่งได้กระทำการ ตามหน้าที่การงานของจำเลยที่1 เมื่อจำเลยที่ 2 ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้างเมื่ออยู่ในขอบเขตหน้าที่ แม้จะนอกเวลาราชการ
จำเลยที่ 2 เป็นทหารพลขับ มีหน้าที่ขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 เป็นประจำและเป็นผู้ครอบครองดูแลรถ ดังกล่าว ได้ขับรถไปปฏิบัติราชการตามคำสั่งของ ผู้บังคับบัญชา เมื่อเสร็จภาระกิจแล้วได้นำรถออกจาก ค่ายเพื่อไปรับประทานอาหารที่ตลาด แม้จะหมดเวลาราชการ และมิได้ขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชา แต่ก็เป็นเวลาต่อเนื่องคาบเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 กลับจากไปปฏิบัติราชการ ของ จำเลยที่ 1 มา แล้วเลยใช้รถขับไปเพื่อหาอาหารรับประทาน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานซึ่งได้กระทำการ ตามหน้าที่การงานของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทประกันภัยที่รับช่วงสิทธิจากผู้ประสบภัย ขึ้นอยู่กับการกระทำละเมิดของจำเลยต่อผู้ประสบภัยโดยตรง
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 2โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด ทำให้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้นั้นเสียหายโดยโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 มาฟ้อง และโจทก์ที่ 2 ฟ้องเรียกร้องค่าที่สินค้าซึ่งบรรทุกมาในรถคันดังกล่าวเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ เช่นนี้ แม้คดีสำหรับโจทก์ที่ 1 จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคแรกแต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยไปแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับช่วงสิทธิใด ๆ ไปจากโจทก์ที่ 2 เลยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลย อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน สมควรยกขึ้นวินิจฉัยไปถึงคดีในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1ตาม มาตรา 142(5) ด้วย จึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทประกันภัยต้องพึ่งการกระทำละเมิดของจำเลยต่อผู้เอาประกัน หากจำเลยไม่มีความผิด ผู้รับประกันภัยไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 2โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด ทำให้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้นั้นเสียหายโดยโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 มาฟ้องและโจทก์ที่ 2 ฟ้องเรียกร้องค่าที่สินค้าซึ่งบรรทุกมาในรถคันดังกล่าวเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์เช่นนี้แม้คดีสำหรับโจทก์ที่ 1 จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคแรกแต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยไปแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับช่วงสิทธิใด ๆ ไปจากโจทก์ที่ 2 เลยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนสมควรยกขึ้นวินิจฉัยไปถึงคดีในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ตาม มาตรา 142(5) ด้วย จึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง