พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความตัดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิไม่ได้
พนักงานสอบสวนได้บันทึกแจ้งข้อหาจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาขับรถประมาทเฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเปรียบเทียบปรับไว้ว่า คู่กรณีตกลงกันโดยทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหาย เป็นที่พอใจแล้ว โดย ส. ผู้เอาประกันภัยและจำเลยลงชื่อไว้ จึงเป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างซ่อมรถที่เสียหายเอง มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งมีผลให้ ส. ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้อีก การที่โจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ ส. เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย แต่ ส. เป็นผู้เสียหายย่อมมีสิทธิทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการชน ย่อมตัดสิทธิผู้รับประกันภัยในการรับช่วงเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อเหตุ
จำเลยขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนรถยนต์กระบะของ ส. ที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย ซึ่งตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี นอกจากพนักงานสอบสวนจะทำบันทึกแจ้งข้อหาจำเลยเป็นคดีอาญาและเปรียบเทียบปรับอันทำให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันแล้ว พนักงานสอบสวนยังทำบันทึกเกี่ยวกับค่าเสียหายมีข้อความว่า คู่กรณีสมัครใจตกลงกันโดยทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกค่าเสียหาย ตกลงกันเป็นที่พอใจแล้วจึงให้ ส. และจำเลยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน ดังนี้แสดงว่า ส. และจำเลยตกลงกันว่าไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน เป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างซ่อมรถที่เสียหายเอง ข้อตกลงเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ทำให้ ส. ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถของ ส. จะรับช่วงสิทธิของ ส. ได้เพียงเท่าที่ ส. ผู้เอาประกันภัยมีอยู่เท่านั้น แม้ ส. จะทำบันทึกตกลงกับจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก็ตาม แต่ ส. เป็นผู้ได้รับความเสียหายกรณีละเมิดถูกรถยนต์จำเลยเฉี่ยวชน ย่อมมีสิทธิที่จะทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่กับจำเลยด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน อันเป็นการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อ ส. ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย ดังนี้ โจทก์ผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของ ส. ที่จะมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ส. ผู้เอาประกันภัยไปเป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ที่โจทก์ทำไว้กับ ส. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยและความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ในอุบัติเหตุทางรถยนต์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ธ. ขับ ซึ่งโจทก์ได้แนบกรมธรรม์ประกันภัยไว้ท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวได้ระบุถึงความรับผิดของโจทก์ว่า หากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย บริษัทมีสิทธิจัดการซ่อม และโจทก์ยังได้บรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า โจทก์ได้จัดการซ่อมและส่งมอบรถยนต์คันดังกล่าวคืนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติว่า ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถบรรทุกทั้งสองฝ่ายในการแซงรถคันหน้า ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลไม่อนุญาตให้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การที่ ว. ผู้ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์และ ย. ผู้ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อต่างขับแซงรถยนต์กระบะที่แล่นอยู่ด้านหน้าและรถยนต์บรรทุกทั้งสองคันชนกันที่บริเวณกลางถนน ต้องถือว่าเหตุที่รถยนต์บรรทุกทั้งสองคันชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ ว. และ ย. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของ ย. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10418/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีละเมิด: การพิจารณาปีที่เกิดเหตุผิดพลาดในคำฟ้องและเอกสารประกอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากเจ้าของรถ มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2542 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2540จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัย แต่การแปลคำฟ้องมิได้พิจารณาเฉพาะข้อความที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเท่านั้น ต้องพิจารณาเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบด้วย เมื่อเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้องอันได้แก่แผนที่เกิดเหตุ รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีและหนังสือทวงถามให้ชดใช้ค่าเสียหายต่างระบุตรงกันว่าเหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2542 จึงเห็นได้ชัดว่าโจทก์พิมพ์ปีที่เกิดเหตุละเมิดผิดพลาด ซึ่งเป็นความผิดพลาดเล็กน้อยอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วว่าเหตุละเมิดเกิดในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย ส่วนเอกสารท้ายฟ้องจะรับฟังได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดในมูลละเมิดได้ แม้โจทก์จะมิได้แก้ไขคำฟ้องในส่วนที่พิมพ์ผิดพลาดดังกล่าวและจำเลยทั้งสองจะให้การต่อสู้ในเรื่องนี้หรือไม่ ก็ไม่มีผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10325/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของประกันภัย, ความรับผิดของนายจ้าง, และข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริง
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันไว้ นาย ส.ค. เป็นผู้เช่าซื้อ โดยมี นาย ส.พ. เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อ ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบแต่ผู้เดียวในบรรดาอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถยนต์ ส่วนตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจำต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อด้วยในฐานะลูกหนี้ร่วม นาย ส.พ. ผู้ค้ำประกันจึงมีส่วนได้เสียในความเสียหายของรถยนต์คันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และนาย ส.พ. จึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 แล้วเกิดเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยทั้งสองฝ่ายประมาทพอ ๆ กัน หรือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แล้วพิพากษายกฟ้องและฟ้องแย้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็หาได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างซึ่งขับรถไปในทางการที่จ้างหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 510,569 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 330,667 บาท โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายส่วนที่ยังขาดอยู่อีก 179,902 บาท แก่โจทก์ ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกา จึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเพียงฝ่ายเดียว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 แล้วเกิดเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยทั้งสองฝ่ายประมาทพอ ๆ กัน หรือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แล้วพิพากษายกฟ้องและฟ้องแย้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็หาได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างซึ่งขับรถไปในทางการที่จ้างหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 510,569 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 330,667 บาท โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายส่วนที่ยังขาดอยู่อีก 179,902 บาท แก่โจทก์ ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกา จึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเพียงฝ่ายเดียว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7274/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถจากผู้ทำละเมิด แม้ยังไม่ได้ชำระเงินค่าซ่อม แต่ได้ส่งซ่อมแล้ว ถือใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว
ขณะฟ้องคดีโจทก์ยังมิได้ชำระเงินค่าซ่อมรถยนต์คันที่รับประกันภัยเนื่องจากอู่ยังซ่อมไม่เสร็จ แต่การที่โจทก์นำรถยนต์ไปให้อู่ทำการซ่อมและทางอู่ได้รับทำการซ่อมให้ในราคาที่ตกลงกันไว้นั้น โจทก์ย่อมมีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าซ่อมตามจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ ทั้งต่อมาทางอู่ได้ทำการซ่อมรถยนต์จนเสร็จและมอบรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปเรียบร้อยแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามจำนวนเงินราคาค่าจ้างที่ได้ตกลงไว้กับอู่ โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าของรถยนต์มาเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้อู่ไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2542 จนกว่าจะชำระเสร็จ
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้อู่ไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2542 จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลคุ้มครองสินค้าตั้งแต่ยังไม่ลงเรือ การรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับฝาก
ตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อความว่า "VOYAGE : At and from LAEM CHABANG , THAILAND TO HOCHI MINH" แปลว่าคุ้มครองที่และจากแหลมฉบัง ประเทศไทย ถึง โฮจิมินห์ ในประเทศเวียดนาม คำว่า ที่และจากแหลมฉบังย่อมเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่าคุ้มครองภัยที่เกิดที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย ไม่ใช่เฉพาะนับจากเรือออกจากท่าเรือแหลมฉบัง
สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปขณะเก็บอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝาก เป็นการฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปขณะเก็บอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝาก เป็นการฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยทางทะเล ความคุ้มครองสินค้าขณะอยู่ในคลังสินค้า และอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลคุ้มครองที่และจากแหลมฉบัง ประเทศไทยถึงโฮจิมินห์ในประเทศเวียดนามคำว่าที่และจากแหลมฉบังย่อมเป็นการคุ้มครองภัยที่เกิดที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วยไม่ใช่เฉพาะนับจากเรือออกจากท่าเรือแหลมฉบัง ดังนั้นกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลที่มีผลคุ้มครองสินค้าตั้งแต่เวลาที่สินค้าอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบังขณะรอบรรทุกลงเรือจึงคุ้มครองสินค้าขณะอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบังก่อนขนสินค้าลงเรือด้วย เมื่อสินค้าได้สูญหายไปขณะที่อยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าซึ่งได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายให้แก่ผู้รับตราส่งไปแล้วตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ที่รับฝากสินค้าไว้และจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนภัยของจำเลยที่ 4 ผู้รับฝากสินค้าไว้ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝากเป็นการฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อผู้ขนส่งส่งมอบและผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ผู้รับตราส่งรู้ว่าสินค้าหายไป จากวันดังกล่าวนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 9 ธันวาคม 2542 ยังไม่ครบ 10 ปี ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝากเป็นการฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อผู้ขนส่งส่งมอบและผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ผู้รับตราส่งรู้ว่าสินค้าหายไป จากวันดังกล่าวนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 9 ธันวาคม 2542 ยังไม่ครบ 10 ปี ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้, การบังคับชำระหนี้, และสิทธิเรียกร้องค่าเบี้ยประกันภัย
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 1 มีใจความว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญาในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ได้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารฯ สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ประการใดส่วนที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฯซึ่งมีข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่เรียกจากลูกค้าและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขและจะเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศไม่ได้นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีของธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ เท่านั้น ไม่รวมถึงโจทก์ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ฯ การที่โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญากู้เงินข้อ 1 โดยมิได้ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยนี้ก่อน จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้
โจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยได้ต่อเมื่อโจทก์ได้ทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก่อนแล้วเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
โจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยได้ต่อเมื่อโจทก์ได้ทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก่อนแล้วเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ