พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาททางถนน: ผู้ขับชนท้ายต้องรับผิดชอบหากไม่ใช้ความระมัดระวังแม้ผู้ถูกชนกลับช่องทางไม่ปลอดภัย
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน ขณะที่คนขับรถยนต์คันที่บริษัทโจทก์รับประกันภัยไว้ขับรถแซงรถคันหน้าขึ้นไปแล้วกลับเข้ามาในช่องเดินรถเดิม จำเลยซึ่งขับรถอยู่ห่างจากรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ทางด้านหลัง ย่อมมองเห็นตลอดเวลาและควรใช้ความระมัดระวังชะลอความเร็วของรถลงเนื่องจากเป็นเวลาหลังฝนตกถนนลื่น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ การที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้แล่นกลับเข้ามาในช่องเดินรถเดิมและอยู่ห่างรถยนต์ที่จำเลยขับประมาณ2 เมตร แต่จำเลยไม่สามารถห้ามล้อหยุดรถได้ทัน เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับชนท้ายรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายประมาทยิ่งกว่าคนขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายสองในสามส่วนให้แก่โจทก์ที่รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง และเหตุสุดวิสัยของผู้ขับขี่ ทำให้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหาย
การที่บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่ง กับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งได้ตกลงกันชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดของ จำเลยที่ 2 ที่ไม่รับประกันความเสียหายของสินค้าที่ส่งข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 และมีผลให้บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่งไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้เอา ประกันภัยเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัททั้งสองไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัททั้งสอง แต่หาอาจก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัททั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกกระจกที่โจทก์รับประกันภัยความเสียหายไว้จากบริษัทผู้ส่งมาถึงที่เกิดเหตุ มีรถยนต์บรรทุกกระบะพ่วงขับแซงรถของจำเลยที่ 1 ขึ้นไปแต่แซงยังไม่พ้น แล้วหักหัวรถตัดหน้ารถจำเลยที่ 1 กะทันหัน จำเลยที่ 1 จึงหักหัวรถหลบไปทางซ้าย แต่หักมากไม่ได้เพราะติดราวสะพาน แล้วจำเลยที่ 1 หักหัวรถมา ทางขวาเข้าช่องทางปกติ เชือกซึ่งยึดกระจกที่บรรทุกมาขาด ทำให้กระจกไปตีกระบะด้านซ้ายหักกระจกแตกเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกกระจกที่โจทก์รับประกันภัยความเสียหายไว้จากบริษัทผู้ส่งมาถึงที่เกิดเหตุ มีรถยนต์บรรทุกกระบะพ่วงขับแซงรถของจำเลยที่ 1 ขึ้นไปแต่แซงยังไม่พ้น แล้วหักหัวรถตัดหน้ารถจำเลยที่ 1 กะทันหัน จำเลยที่ 1 จึงหักหัวรถหลบไปทางซ้าย แต่หักมากไม่ได้เพราะติดราวสะพาน แล้วจำเลยที่ 1 หักหัวรถมา ทางขวาเข้าช่องทางปกติ เชือกซึ่งยึดกระจกที่บรรทุกมาขาด ทำให้กระจกไปตีกระบะด้านซ้ายหักกระจกแตกเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของขนส่งกับผู้ส่งมีผลผูกพันผู้รับประกันภัยที่รับช่วงสิทธิ
บริษัท ส. ผู้ส่งกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 มีผลให้บริษัท ส. ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ส. ไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัท ส. แต่หาอาจก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส. มาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งและการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
เมื่อบริษัท ส. และบริษัท ว. ผู้ส่ง กับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ได้ตกลงกันชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 และมีผลให้บริษัททั้งสองไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ แม้โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัททั้งสองไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัททั้งสอง แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัททั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากทรัพย์อันตราย-แท่นไฮดรอลิกชำรุด-ผู้รับประกันภัยต้องร่วมรับผิด
ความเสียหายของรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วง 4 คัน เกิดขึ้นในขณะที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กำลังยกแท่นไฮดรอลิกเพื่อเทน้ำตาลดิบออกจากรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วงซึ่งจอดอยู่บนแท่นไฮดรอลิกนั้นลงฉางเก็บโดยแท่นไฮดรอลิกดังกล่าวเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้มีไว้ในครอบครองจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดขึ้นแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่า เหตุที่เกิดความเสียหายสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยที่ 1
ขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำตาลดิบมาจากจังหวัดอุดรธานี ระหว่างการเดินทางน้ำตาลมีความชื้นสูงจึงเกาะกันแน่น ซึ่งก่อนเทมิได้มีการทำให้น้ำตาลแตกตัวทั้งหมดก่อนที่จะยกแท่นไฮดรอลิกขึ้นเทแต่อย่างใด น้ำตาลดิบที่ยังคงมีสภาพเกาะกันแน่นย่อมทำให้น้ำหนักเฉลี่ยไม่สม่ำเสมอ เมื่อถ่ายน้ำหนักออกจากรถพ่วงทันทีทันใดย่อมทำให้แหนบรถเกิดแรงต้านดีดตัวรถให้ลอยขึ้นข้ามที่กั้นล้อแล้วดึงโซ่ที่มัดคานหน้าไว้ขาดก่อนที่จะไหลลงมากระโดดข้ามที่กั้นล้อทุกล้อ ทำให้รถยนต์บรรทุกและรถพ่วงที่บรรทุกน้ำตาลมาไหลชนรถยนต์บรรทุกและรถพ่วงคันอื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย เพราะจำเลยที่ 1 อาจป้องกันได้โดยทำให้น้ำตาลแตกตัวเสียก่อนที่จะนำรถขึ้นแท่นไฮดรอลิก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วงคันที่ได้รับความเสียหายและได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมแซมรถที่เสียหายนั้นไปแล้ว
ขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำตาลดิบมาจากจังหวัดอุดรธานี ระหว่างการเดินทางน้ำตาลมีความชื้นสูงจึงเกาะกันแน่น ซึ่งก่อนเทมิได้มีการทำให้น้ำตาลแตกตัวทั้งหมดก่อนที่จะยกแท่นไฮดรอลิกขึ้นเทแต่อย่างใด น้ำตาลดิบที่ยังคงมีสภาพเกาะกันแน่นย่อมทำให้น้ำหนักเฉลี่ยไม่สม่ำเสมอ เมื่อถ่ายน้ำหนักออกจากรถพ่วงทันทีทันใดย่อมทำให้แหนบรถเกิดแรงต้านดีดตัวรถให้ลอยขึ้นข้ามที่กั้นล้อแล้วดึงโซ่ที่มัดคานหน้าไว้ขาดก่อนที่จะไหลลงมากระโดดข้ามที่กั้นล้อทุกล้อ ทำให้รถยนต์บรรทุกและรถพ่วงที่บรรทุกน้ำตาลมาไหลชนรถยนต์บรรทุกและรถพ่วงคันอื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย เพราะจำเลยที่ 1 อาจป้องกันได้โดยทำให้น้ำตาลแตกตัวเสียก่อนที่จะนำรถขึ้นแท่นไฮดรอลิก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วงคันที่ได้รับความเสียหายและได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมแซมรถที่เสียหายนั้นไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยตามสัญญารักษาความปลอดภัยและการชดใช้ค่าเสียหายจากการโจรกรรม
จำเลยทำสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยกับบริษัท อ. โดยยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัท อ. ในกรณีที่ทรัพย์สินสูญหายเนื่องจากการโจรกรรม ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญา เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายเป็นทรัพย์สินที่บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 กรณีสัญญาบริการรักษาความปลอดภัย
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 880 เป็นการห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยใช้สิทธิเรียกค่าทดแทนต่อบุคคลภายนอก ในเมื่อตนได้รับค่าทดแทนจากผู้รับประกันภัยแล้ว แต่เพื่อมิให้บุคคลภายนอกที่ทำความเสียหายขึ้นหลุดพ้นจากความรับผิดไปลอย ๆ กฎหมายจึงบัญญัติให้สิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากบุคคลภายนอกนั้น ตกไปเป็นของผู้รับประกันภัยโดยวิธีการที่เรียกว่ารับช่วงสิทธิ โดยสิทธิของผู้เอาประกันภัยอันมีต่อผู้ทำความเสียหายนั้นอาจเป็นสิทธิเรียกร้องฐานละเมิดหรืออาจเป็นสิทธิตามสัญญาก็ได้ และผู้รับประกันภัยจะรับช่วงสิทธิก็ต่อเมื่อได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว
ทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม และจำเลยต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยที่ทำไว้ เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายดังกล่าว บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ทำละเมิดโดยตรงก็ตาม
ทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม และจำเลยต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยที่ทำไว้ เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายดังกล่าว บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ทำละเมิดโดยตรงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9023/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และขอบเขตการจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนจำเลยที่ 2 ตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อบริษัท ค. ซึ่งเป็นผู้ส่งของส่วนพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 3 เพียงแต่ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นเท่านั้นไม่มีบทบัญญัติใดยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ
เมื่อสินค้าได้รับความเสียหายเพียง 38 เปอร์เซ็นต์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัท ค. ซึ่งเป็นผู้ส่งของไป 50 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ โจทก์จึงรับช่วงสิทธิมาเป็นจำนวน 38 เปอร์เซ็นต์ตามความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้รับอย่างแท้จริงเท่านั้น
เมื่อสินค้าได้รับความเสียหายเพียง 38 เปอร์เซ็นต์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัท ค. ซึ่งเป็นผู้ส่งของไป 50 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ โจทก์จึงรับช่วงสิทธิมาเป็นจำนวน 38 เปอร์เซ็นต์ตามความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้รับอย่างแท้จริงเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9023/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนตามกฎหมายรับขนของทางทะเล และอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
ใบตราส่งเป็นแบบพิมพ์ของจำเลยที่ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่ง ทั้งตู้สินค้าที่ใช้ในการขนส่งเป็นของจำเลยที่ 2 จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้า ส่วนจำเลยที่ 1 ปรากฏตามใบตราส่งด้านล่างระบุว่า จำเลยที่ 2 เพื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของสายการเดินเรือ แสดงว่า จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้เป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่น
บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของสายการเดินเรือได้ออก ใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งของ และด้านหลังของใบตราส่งมีตราประทับของจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนจำเลยที่ 2 ตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อผู้ส่งของ
ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ไม่มีบทบัญญัติใดยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศไว้
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 7 (5) บัญญัติไว้ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง และในคดีนี้เป็นเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา
โจทก์ผู้รับประกันสินค้าชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ โจทก์จึงรับช่วงสิทธิมาเป็นจำนวนตามความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้รับอย่างแท้จริง
ตามใบตราส่งด้านหน้าและใบแนบมีข้อความระบุไว้ว่า บรรจุใน 1,000 กล่อง จึงเท่ากับ 1,000 หน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59 (1) เมื่อปรากฏว่าความเสียหายของสินค้ามี 38 เปอร์เซ็นต์ ความเสียหายอย่างน้อยที่สุดเมื่อคิดตามหน่วยการขนส่ง คือ 380 กล่อง หรือ 380 หน่วยการขนส่ง ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง จึงจำกัดความรับผิดไว้ไม่เกิน 3,800,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่า เมื่อความเสียหายที่แท้จริงต่ำกว่าจำนวนที่จำกัดความรับผิดไว้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดตามความเสียหายที่แท้จริงตามมาตรา 58 วรรคสอง
บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของสายการเดินเรือได้ออก ใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งของ และด้านหลังของใบตราส่งมีตราประทับของจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนจำเลยที่ 2 ตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อผู้ส่งของ
ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ไม่มีบทบัญญัติใดยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศไว้
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 7 (5) บัญญัติไว้ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง และในคดีนี้เป็นเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา
โจทก์ผู้รับประกันสินค้าชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ โจทก์จึงรับช่วงสิทธิมาเป็นจำนวนตามความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้รับอย่างแท้จริง
ตามใบตราส่งด้านหน้าและใบแนบมีข้อความระบุไว้ว่า บรรจุใน 1,000 กล่อง จึงเท่ากับ 1,000 หน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59 (1) เมื่อปรากฏว่าความเสียหายของสินค้ามี 38 เปอร์เซ็นต์ ความเสียหายอย่างน้อยที่สุดเมื่อคิดตามหน่วยการขนส่ง คือ 380 กล่อง หรือ 380 หน่วยการขนส่ง ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง จึงจำกัดความรับผิดไว้ไม่เกิน 3,800,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่า เมื่อความเสียหายที่แท้จริงต่ำกว่าจำนวนที่จำกัดความรับผิดไว้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดตามความเสียหายที่แท้จริงตามมาตรา 58 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีสินค้าเสียหาย ผู้รับของไม่ปฏิเสธการรับ
ตามรายงานการตรวจสอบสินค้าซึ่งจำเลยทำการขนส่งให้กับบริษัท ท. ได้ระบุไว้ว่า เมื่อสินค้ามาถึงและ ก่อนนำเข้าคลังสินค้า กล่องบรรจุสินค้า 1 หีบห่อจากทั้งหมด 5 หีบห่ออยู่ในสภาพเปียกชื้น ส่วนสภาพความเสียหายของสินค้าไม่อาจมองเห็นได้และไม่สามารถวิเคราะห์สภาพของเครื่องจักรที่อยู่ภายในเนื่องจากสินค้าดังกล่าวประกอบด้วยอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่สลับซับซ้อน ดังนั้น การที่บริษัท ท. ได้รับสินค้าไว้โดยมีรายงานความเสียหายของสินค้ามาพร้อมด้วยนั้น จะถือว่าบริษัท ท. รับเอาสินค้าหรือของไว้โดยไม่อิดเอื้อนไม่ได้ จำเลยจึงยังไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 วรรคแรก ส่วนการอ้างประโยชน์ตามมาตรา 623 วรรคสอง ในกรณีความชำรุดบกพร่องมิได้ปรากฏแต่สภาพภายนอกซึ่งเจ้าของสินค้าต้องบอกกล่าวแก่ผู้ขนส่งภายใน 8 วัน นับแต่วันรับมอบนั้น ต้องปรากฏว่ามีการรับของโดยมิได้อิดเอื้อนและมีการจ่ายค่าระวางแล้ว ตามมาตรา 623 วรรคแรกด้วย ความรับผิดของจำเลยจึงจะสิ้นสุดลง เมื่อข้อเท็จจริงถือไม่ได้ว่า บริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้รับของไว้โดยไม่อิดเอื้อน แม้ว่าผู้รับตราส่งจะมิได้แจ้งเกี่ยวกับ ความเสียหายให้จำเลยทราบภายใน 8 วัน ก็ตาม ความรับผิดของจำเลยก็ยังไม่สิ้นสุดลง