พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความพยาน การใช้บันทึกคำให้การแทนการเบิกความต่อหน้าศาล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
การเบิกความเป็นพยานต่อศาลนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 113 ซึ่งนำมาใช้บังคับในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติว่า พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามมิให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา ซึ่งเห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์ให้ศาลและคู่ความฝ่ายอื่นได้มีโอกาสรับฟังคำเบิกความของพยานโดยตรง ให้พยานเล่าเหตุการณ์ที่ตนประสบมาด้วยตนเองและจากความทรงจำของพยานเอง มิให้มีโอกาสเสริมแต่งเรื่องราวให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง เว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายให้เสนอคำพยานด้วยวิธีอื่น ในคดีอาญาซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 230/2 บัญญัติข้อยกเว้นดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า ศาลอาจอนุญาตให้เสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้ ในกรณีที่ไม่อาจสืบพยานตามวิธีการที่บัญญัติในมาตรา 230/1 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาบังคับใช้โดยอนุโลมด้วยการให้พยานที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ.ดังกล่าวเบิกความด้วยวิธีส่งบันทึกถ้อยคำแทนการมาเบิกความด้วยวาจาได้ ดังนั้น การที่ทนายโจทก์ทั้งสองเสนอบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแล้วแถลงขอให้ศาลใช้เป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ แม้ทนายจำเลยจะแถลงรับว่าให้ถือเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง ก็ไม่อาจถือว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ บันทึกดังกล่าวคงมีลักษณะเป็นคำแถลงของพยานที่ศาลรับไว้เท่านั้น ส่วนจะนำมารับฟังได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะพยานหลักฐาน แต่อย่างไรก็ดี ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่ได้อ้างส่งบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองเป็นพยานเพียงลำพัง เพราะพยานดังกล่าวได้มาเบิกความต่อหน้าศาลโดยเบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้าน และเบิกความตอบทนายโจทก์ทั้งสองถามติงด้วย แม้ถือไม่ได้ว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง แต่ก็คงมีผลเพียงว่าทนายโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจซักถามพยานของตนก่อนเท่านั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9208-9209/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาหมดอายุตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนต้องคืนหลักประกัน
การปล่อยชั่วคราวของพนักงานสอบสวนนั้น สามารถให้ปล่อยชั่วคราวได้สูงสุดเพียง 6 เดือนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 113 วรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นอันสิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนไม่อาจควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องมาขอปล่อยผู้ต้องหาด้วยการนำโฉนดที่ดินมาให้จำเลยยึดถือไว้อีก จำเลยจึงต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างและขอบเขตความรับผิดของบริษัทในเครือ: การพิสูจน์อำนาจและการเชิดตัวแทน
บันทึกยืนยันข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.1 มีข้อความเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งลงนามแทนโดย ส. กับ ช. แต่ในขณะตกลงว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น ส.หรือกรรมการอื่นในบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังมิได้เข้าไปเป็นกรรมการในบริษัทจำเลยที่ 4 แต่เพิ่งเข้ามาเป็นกรรมการในบริษัทจำเลยที่ 4 ในภายหลัง ส. จึงกระทำการในฐานะกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น แต่ตามข้อบังคับบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กำหนดให้มีกรรมการบริษัท 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัท จึงจะสามารถกระทำกิจการต่าง ๆ ผูกพันบริษัทได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ ดังนั้น การที่ส.ไปเจรจาตกลงว่าจ้างโจทก์ รวมทั้งทำหนังสือยืนยันข้อตกลงโดยลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. ซึ่งขณะนั้น ช. ก็ยังไม่ได้เข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานตามสัญญาว่าจ้างและขอเบิกเงินค่าตอบแทนกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามสัญญา จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ได้เชิด ส. ให้เป็นตัวแทนของบริษัทจำเลยที่ 2 และที่ 3 สัญญาว่าจ้างตามเอกสารหมาย ล.1 จึงผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น
แม้เอกสารหมาย จ.7จะกล่าวถึงจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าการกระทำของบริษัทหนึ่ง ให้มีผลผูกพันบริษัทในเครือด้วย เมื่อบริษัทในเครือแต่ละบริษัทได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน การกระทำกิจการใด ๆ หรือการทำนิติกรรมใด ๆ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมีผลผูกพันบริษัทหรือไม่ ก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงใด ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การปฏิเสธว่า ส.หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์เชิด ส. หรือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 การที่บริษัท อ. เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของจำเลยที่ 4 จากจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 4 ถือเอาประโยชน์จากการเป็นตัวแทนของ ส. ได้ สัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 30ได้ให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อใช้บังคับในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ โดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกา ซึ่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 31 ศาลมีอำนาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาเบิกความเป็นพยานต่อหน้าศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ค. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทนการนำ ค. มาเบิกความต่อศาลได้
แม้เอกสารหมาย จ.7จะกล่าวถึงจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าการกระทำของบริษัทหนึ่ง ให้มีผลผูกพันบริษัทในเครือด้วย เมื่อบริษัทในเครือแต่ละบริษัทได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน การกระทำกิจการใด ๆ หรือการทำนิติกรรมใด ๆ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมีผลผูกพันบริษัทหรือไม่ ก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงใด ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การปฏิเสธว่า ส.หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์เชิด ส. หรือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 การที่บริษัท อ. เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของจำเลยที่ 4 จากจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 4 ถือเอาประโยชน์จากการเป็นตัวแทนของ ส. ได้ สัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 30ได้ให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อใช้บังคับในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ โดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกา ซึ่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 31 ศาลมีอำนาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาเบิกความเป็นพยานต่อหน้าศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ค. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทนการนำ ค. มาเบิกความต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่ปรึกษา/จัดหาผู้ลงทุน ผลผูกพันบริษัทในเครือ ความรับผิดชอบของกรรมการ
บันทึกยืนยันข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.1 มีข้อความเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งลงนามแทนโดย ส. กับ ช. แต่ในขณะตกลงว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น ส. หรือกรรมการอื่นในบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังมิได้เข้าไปเป็นกรรมการในบริษัทจำเลยที่ 4 แต่เพิ่งเข้ามาเป็นกรรมการในบริษัทจำเลยที่ 4 ในภายหลัง ส. จึงกระทำการในฐานะกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น แต่ตามข้อบังคับบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กำหนดให้มีกรรมการบริษัท 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัท จึงจะสามารถกระทำกิจการต่าง ๆ ผูกพันบริษัทได้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ ดังนั้น การที่ ส. ไปเจรจาตกลงว่าจ้างโจทก์ รวมทั้งทำหนังสือยืนยันข้อตกลงโดยลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. ซึ่งขณะนั้น ช. ก็ยังไม่ได้เข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานตามสัญญาว่าจ้างและขอเบิกเงินค่าตอบแทนกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามสัญญา จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้เชิด ส. ให้เป็นตัวแทนของบริษัทจำเลยที่ 2 และที่ 3 สัญญาว่าจ้างตามเอกสารหมาย ล.1 จึงผูกพันจำเลยที่ 2และที่ 3 เท่านั้น
แม้เอกสารหมาย จ.7 จะกล่าวถึงจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือ และจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 จะเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าการกระทำของบริษัทหนึ่ง ให้มีผลผูกพันบริษัทในเครือด้วย เมื่อบริษัทในเครือแต่ละบริษัทได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน การกระทำกิจการใด ๆ หรือการทำนิติกรรมใด ๆ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมีผลผูกพันบริษัทหรือไม่ ก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงใด ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การปฏิเสธว่า ส. หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์เชิด ส. หรือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 การที่บริษัท อ. เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของจำเลยที่ 4 จากจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 4 ถือเอาประโยชน์จากการเป็นตัวแทนของ ส. ได้ สัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 30 ได้ให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อใช้บังคับในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ โดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกา ซึ่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540ข้อ 31 ศาลมีอำนาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาเบิกความเป็นพยานต่อหน้าศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ค. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทนการนำ ค. มาเบิกความต่อศาลได้
แม้เอกสารหมาย จ.7 จะกล่าวถึงจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือ และจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 จะเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าการกระทำของบริษัทหนึ่ง ให้มีผลผูกพันบริษัทในเครือด้วย เมื่อบริษัทในเครือแต่ละบริษัทได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน การกระทำกิจการใด ๆ หรือการทำนิติกรรมใด ๆ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมีผลผูกพันบริษัทหรือไม่ ก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงใด ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การปฏิเสธว่า ส. หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์เชิด ส. หรือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 การที่บริษัท อ. เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของจำเลยที่ 4 จากจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 4 ถือเอาประโยชน์จากการเป็นตัวแทนของ ส. ได้ สัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 30 ได้ให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อใช้บังคับในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ โดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกา ซึ่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540ข้อ 31 ศาลมีอำนาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาเบิกความเป็นพยานต่อหน้าศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ค. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทนการนำ ค. มาเบิกความต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4177/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความโดยอ้างเอกสารที่รับรองแล้ว ไม่ถือว่าเสียเปรียบ หากศาลตรวจสอบได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 113 บัญญัติห้ามมิให้พยานเบิกความโดยอ่านจากข้อความที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญนั้น ก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อไม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบในเชิงคดี การที่พยานเบิกความถึงตัวเลขตามที่พยานจดมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรากฏในเอกสารที่พยานเบิกความรับรองส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลอยู่แล้ว และศาลก็พิจารณาตัวเลขจากเอกสารเองได้จึงไม่ทำให้อีกฝ่ายเสียเปรียบในเชิงคดี และการที่ศาลชั้นต้นจดข้อความตามที่พยานอ่านข้อความที่จดมาเกี่ยวกับตัวเลข โดยไม่มีการทักท้วงถือได้ว่าพยานได้รับอนุญาตจากศาลให้อ่านข้อความที่จดมาได้โดยปริยายแล้ว ศาลจึงรับฟังข้อที่พยานเบิกความโดยอ่านข้อความที่จดมานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4177/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความโดยอ้างเอกสารที่รับรองแล้ว ไม่ถือเป็นการเสียเปรียบ และการอนุญาตโดยปริยาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 113 บัญญัติห้ามมิให้พยานเบิกความโดยอ่านจากข้อความที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญนั้น ก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อไม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบในเชิงคดี การที่พยานเบิกความถึงตัวเลขตามที่พยานจดมาซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรากฏในเอกสารที่พยานเบิกความรับรองส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลอยู่แล้ว และศาลก็พิจารณาตัวเลขจากเอกสารเองได้ จึงไม่ทำให้อีกฝ่ายเสียเปรียบในเชิงคดี และการที่ศาลชั้นต้นจดข้อความตามที่พยานอ่านข้อความที่จดมาเกี่ยวกับตัวเลขโดยไม่มีการทักท้วงถือได้ว่าพยานได้รับอนุญาตจากศาลให้อ่านข้อความที่จดมาได้โดยปริยายแล้ว ศาลจึงรับฟังข้อที่พยานเบิกความโดยอ่านข้อความที่จดมานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความแทนจำเลย: ศาลไม่รับฟังคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจ เหตุเป็นกิจเฉพาะตัวของจำเลย
การเบิกความต่อศาลเป็นกิจเฉพาะตัว โดยสภาพไม่อาจตั้งให้ผู้อื่นทำแทนได้
ตามบัญชีพยานระบุว่าจำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน โดยมิได้ระบุ ส. เป็นพยานดังนี้แม้ปรากฏว่า ส. ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ยื่นคำให้การและเบิกความแทนจำเลยและศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำ ส. เข้าเบิกความศาลก็จะรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2), 88
ตามบัญชีพยานระบุว่าจำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน โดยมิได้ระบุ ส. เป็นพยานดังนี้แม้ปรากฏว่า ส. ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ยื่นคำให้การและเบิกความแทนจำเลยและศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำ ส. เข้าเบิกความศาลก็จะรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2), 88
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกคืนราคารถเช่าซื้อที่หาย: ไม่ใช่ค่าเช่าซื้อ ใช้ อายุความ 10 ปี
อายุความเรียกให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถยนต์เช่าซื้อที่หายส่งคืนไม่ได้ ไม่ใช่เรียกค่าเช่าซื้อ มีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 2 ปี ตามมาตรา 165(6)
พยานโจทก์เบิกความโดยอ่านเอกสารที่ส่งต่อศาลเป็นเอกสารที่จำเลยไม่ได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้อง ศาลอนุญาตให้พยานอ่านข้อความนั้นได้
พยานโจทก์เบิกความโดยอ่านเอกสารที่ส่งต่อศาลเป็นเอกสารที่จำเลยไม่ได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้อง ศาลอนุญาตให้พยานอ่านข้อความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162-1164/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกและสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ผลกระทบต่อเจ้าหนี้และการได้ลาภงอกเงย
สัญญามีข้อความว่า " ที่ดินมรดกเรื่องนายคำ ร้องคัดค้านนายอ่องซึ่งเป็นส่วนของนางเทียบนายแว้นั้นข้าพเจ้าเป็นน้องนางเทียบนายแว้เป็นผู้รับมรดกที่ดินรายนี้ ข้าพเจ้ายอมยกที่ดินรายนี้มีเท่าใดให้นายอ่องทั้งสิ้น เพราะข้าพเจ้าได้รับเงินนายอ่องไป410บาทโดยขายให้นายอ่อง จึงได้ลงลายมือไว้เป็นสำคัญ" ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามธรรมดา
การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วนแต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้เพราะไม่มีทางบังคับชำระได้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. ม.237
การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วนแต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้เพราะไม่มีทางบังคับชำระได้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. ม.237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162-1164/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินมรดกที่มีข้อพิพาท และการเพิกถอนนิติกรรมเนื่องจากผู้รับโอนรู้ถึงการเสียเปรียบของเจ้าหนี้เดิม
สัญญามีข้อความว่า " ที่ดินมรดกเรื่องนายคำ ร้องคัดค้านนายอ่องซึ่งเป็นส่วนของนางเทียบนายแว้นั้นข้าพเจ้าเป็นน้องนางเทียบ นายแว้เป็นผู้รับมรดกที่ดินรายนี้ ข้าพเจ้ายอมยกที่ดินรายนี้มีเท่าใดให้นายอ่องทั้งสิ้น เพราะข้าพเจ้าได้รับเงินนายอ่องไป 410 บาท โดยขายให้นายอ่อง จึงได้ลงลายมือไว้เป็นสำคัญ " ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามธรรมดา
การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกับประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วน แต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเพราะมี+สิทธิชำระได้ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.ม. 237
การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกับประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วน แต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเพราะมี+สิทธิชำระได้ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.ม. 237