คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1259

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังบริษัทเลิก: ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัทไม่ได้ ผู้ชำระบัญชีต้องฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 เป็นเรื่องที่บริษัทยังไม่เลิกและกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ถ้าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาแล้วไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิมที่ถูกเพิกถอนจะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และประกาศในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ก็เป็นเรื่องผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์และแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีแล้วขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังไม่
โจทก์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อโจทก์เสียไว้เกินต้องคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัทเลิกแล้ว: ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจฟ้องแทน ต้องเป็นผู้ชำระบัญชี
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และได้มีคำพิพากษาของศาลให้เลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี โดยชอบไปแล้ว ผู้มีอำนาจจัดการกิจการของโจทก์ได้แก่ผู้ชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 โดยไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ซึ่งเลิกบริษัทแล้วได้ ส่วนมาตรา 1169 เป็นเรื่องที่บริษัทยังมิได้เลิก และกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ถ้าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้
เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาไปแล้ว และไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้ แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิม ที่ถูกเพิกถอน จะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วก็เป็นเรื่องที่ ผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมาย การที่ผู้ชำระบัญชีคนเดิมไม่นำบอก ให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ชำระบัญชีคนใหม่และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์แล้วก็ตาม ซ. ก็หามีอำนาจฟ้องคดีนี้ในนามของโจทก์ได้ไม่ และการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้ยื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้ขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ชอบมาแต่แรก แม้ต่อมาจะมีการยื่นคำร้องดังกล่าว ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
โจทก์ฎีกาเพียงเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจขอถอนทนายความของจำเลยที่ถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนบริษัท และบทบาทของผู้ชำระบัญชี
ขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอถอนทนายความนั้นศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์แล้ว คดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจสั่งคำร้องคือศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตน เป็นการแต่งตั้งตัวแทน ตาม ป.พ.พ.ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนมาตรา 797 และย่อมมีสิทธิขอถอนทนายความซึ่งเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคหนึ่ง หากทนายความเสียหายอย่างไรชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่คู่ความที่ตั้งตนเป็นทนายตาม ป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคสอง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนทนายความเป็นเวลาที่จำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางถอนชื่อออกจากทะเบียน อันถือได้ว่าบริษัทได้เลิกแล้ว แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1249 ก็บัญญัติว่าให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 6 เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี และมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251, 1252 กับมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา1259 ตราบใดที่ยังไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ขึ้นมาใหม่ จำเลยที่ 2 และที่ 6 ในฐานะผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนทนายความแทนจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งคำร้องขอถอนทนายความ และสิทธิในการถอนทนายความของผู้ชำระบัญชี
ขณะที่จำเลยที่1และที่2ยื่นคำร้องขอถอนทนายความนั้นศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์แล้วคดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้มีอำนาจสั่งคำร้องคือศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้อง จำเลยที่1และที่2แต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนเป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ15ว่าด้วยตัวแทนมาตรา797และย่อมมีสิทธิขอถอนทนายความซึ่งเป็นแทนเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827วรรคหนึ่งหากทนายความเสียหายอย่างไรชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่คู่ความที่ตั้งตนเป็นทนายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827วรรคสอง ขณะที่จำเลยที่1ยื่นคำร้องขอถอนทนายความเป็นเวลาที่จำเลยที่1ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางถอนชื่อออกจากทะเบียนอันถือได้ว่าบริษัทได้เลิกแล้วแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249ก็บัญญัติว่าให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีจำเลยที่2และที่6เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251,1252กับมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1259ตราบใดที่ยังไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีจำเลยที่1ขึ้นมาใหม่จำเลยที่1และที่6ในฐานะผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนทนายความแทนจำเลยที่1ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษีหลังเลิกบริษัท การแจ้งไปยังผู้ไม่มีอำนาจทำให้หนี้ภาษีไม่แน่นอน และไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2517-2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบและแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชีซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายหลังเลิกบริษัท: อำนาจของผู้ชำระบัญชีและความแน่นอนของหนี้ภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2517 - 2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบ และแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ
กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่ มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชี ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกหนี้หลังเลิกบริษัท, การตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อกรรมการขัดแย้ง, และอำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อบริษัทเลิกกันแล้ว หน้าที่นำความไปจดทะเบียนเป็นของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1254 แต่บริษัท น. ยังไม่มีผู้ชำระบัญชี ทั้งโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท น.ยังโต้แย้งกันอยู่ในเรื่องการชำระบัญชี กรรมการของบริษัทย่อมยังไม่เข้าเป็นผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยซึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไปจดทะเบียนเลิกบริษัท น. เมื่อบริษัทเลิกกันแล้วแต่ยังไม่มีการชำระบัญชี จึงถือเป็นกรณีที่ผู้ชำระบัญชียังไม่ได้จัดการให้เงินหรือสิทธิเรียกร้องในหนี้ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจะต้องชำระให้แก่บริษัทเป็นของผู้ถือหุ้นคนใดโจทก์ในฐานะส่วนตัวที่เป็นผู้ถือหุ้นและไม่ใช่เป็นผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้ได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัท น.แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สมควรจะเป็นผู้ชำระบัญชี เพราะโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัท น. ต่างไม่ไว้วางใจกันและไม่อาจเป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกัน และเป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้ชำระบัญชีศาลก็มีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นคนกลางเป็นผู้ชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง, เช่าซื้อ, ผู้ชำระบัญชี, อายุความ, ดอกเบี้ยผิดนัด: หลักเกณฑ์และขอบเขต
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกัน ส. และ ว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือน พ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนหนี้ของ ส. และ ว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1259 ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ฯ นั้นในอรรถคดีด้วย
ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้
สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ยแก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับจำนองไม่เคลือบคลุม, อำนาจผู้ชำระบัญชี, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกันส.และว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือนพ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนหนี้ของส.และว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้องฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ๆ นั้นในอรรถคดีด้วย ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้ สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ย แก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา224 วรรคหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับจำนอง: ความชัดเจนของฟ้อง และอำนาจของผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกันส.และว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือนปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาจำนองท้ายฟ้อง พ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้โจทก์ คำฟ้องดังกล่าวแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วส่วนหนี้ของ ส.และว. เป็นหนี้อะไรนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้อง โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนองมิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่จำต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้มีบทบัญญัติว่าผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้นตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามมาตรา 1259 ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นในอรรถคดีด้วย และระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้
of 8