พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด: ข้อจำกัดการทำสัญญาค้ำประกันหลังเลิกห้าง และความรับผิดของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่าห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้นมิได้หมายความว่าในระหว่างนั้นห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้วและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทนแต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้วและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทนแต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วทำสัญญาค้ำประกัน: หุ้นส่วนไม่ต้องรับผิด ผู้จัดการต้องรับผิดเอง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้ฟังถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้น มิได้หมายความว่า ในระหว่างนั้น ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทน แต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทน แต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และอำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชีเกี่ยวกับหนี้ภาษีของห้าง
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม ห้างน.ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5),1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1259(1)
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่เลิกกิจการ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทน
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม ห้าง น. ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 (5), 1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1257 (1)
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายโดยใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง และอำนาจของผู้ชำระบัญชีในการดำเนินคดี
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวและฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการบริษัทนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะลงชื่อในใบแต่งทนาย 2 แห่งโดยมิได้ระบุว่าลงชื่อในฐานะอะไรก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในฐานะที่เป็นจำเลยเองแห่งหนึ่ง กับลงชื่อในนามบริษัทซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 อีกแห่งหนึ่งแล้ว
การใช้ดวงตราซึ่งมิใช่ดวงตราที่บริษัทจดทะเบียนไว้ไปประทับในใบแต่งทนายนั้น ถือว่าใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง แม้จะนำดวงตรานี้ไปจดทะเบียนภายหลัง ก็หามีผลย้อนหลังเป็นการรับรองให้การใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นการใช้ได้ขึ้นมาอย่างใดไม่
เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมีมติให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว ผู้ชำระบัญชีนั้นก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีในนามบริษัท และอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนตนในคดีอีกชั้นหนึ่งได้ การลงลายมือชื่อของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องประทับตราอย่างใด ฉะนั้น เพียงแต่ผู้รับมอบอำนาจลงชื่ออย่างเดียวในใบแต่งทนาย ก็มีผลเป็นการแต่งทนายในนามบริษัทนั้นแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจเอาดวงตราที่ไม่เคยจดทะเบียนมาประทับด้วย ก็ไม่ทำให้ใบแต่งทนายเสียไป
การใช้ดวงตราซึ่งมิใช่ดวงตราที่บริษัทจดทะเบียนไว้ไปประทับในใบแต่งทนายนั้น ถือว่าใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง แม้จะนำดวงตรานี้ไปจดทะเบียนภายหลัง ก็หามีผลย้อนหลังเป็นการรับรองให้การใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นการใช้ได้ขึ้นมาอย่างใดไม่
เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมีมติให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว ผู้ชำระบัญชีนั้นก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีในนามบริษัท และอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนตนในคดีอีกชั้นหนึ่งได้ การลงลายมือชื่อของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องประทับตราอย่างใด ฉะนั้น เพียงแต่ผู้รับมอบอำนาจลงชื่ออย่างเดียวในใบแต่งทนาย ก็มีผลเป็นการแต่งทนายในนามบริษัทนั้นแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจเอาดวงตราที่ไม่เคยจดทะเบียนมาประทับด้วย ก็ไม่ทำให้ใบแต่งทนายเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังเลิกบริษัท: ยังมีสิทธิดำเนินคดีได้จนกว่าผู้ชำระบัญชีจะถอนมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 มีความหมายว่า แม้บริษัทได้เลิกแล้ว แต่กฎหมายก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ในระหว่างเวลาที่จำเป็นแก่การชำระบัญชี. ฉะนั้น ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทก็ยังคงถือว่าเป็นบริษัทอยู่ในขณะชำระบัญชี และยังคงมีสิทธิดำเนินคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังเลิกบริษัท: ทนายความยังคงมีอำนาจดำเนินคดีได้จนกว่าผู้ชำระบัญชีจะถอนอำนาจ
ป.พ.พ. มาตรา 1249 มีความหมายว่าแม้บริษัทได้เลิกแล้ว แต่กฎหมายก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ระหว่างเวลาที่จำเป็นแก่การชำระบัญชี ฉะนั้น ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทก็ยังคงถือว่าเป็นทนายของบริษัทอยู่ในขณะชำระบัญชี และยังคงมีสิทธิดำเนินคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 (1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 (1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฎีกาของกรรมการบริษัทหลังเลิกบริษัท: ผู้ชำระบัญชีเท่านั้นที่มีอำนาจ และต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลา
เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและตั้งผู้อื่นเป็นผู้ขำระบัญชีแล้ว อำนาจของกรรมการบริษัทย่อมหมดไป กรรมการของบริษัท 2 นายซึ่งมิใช่ผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจลงชื่อในฟ้องฎีกาแทนบริษัทจำเลยที่ได้เลิกไปก่อนวันยื่นฎีกานั้นได้และผู้ชำระบัญชีจะให้สัตยาบันแก่ฎีกานั้นภายหลังที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้วไม่ได้ ตามนัยแห่งฎีกาที่ 425/2503
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26-27/2504
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26-27/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งขายทรัพย์ยึดของห้างหุ้นส่วนเพื่อป้องกันความเสียหาย
ในคดีเรื่องขอให้ถอดถอนผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่ ในระหว่างดำเนินคดีนั้น ศาลได้สั่งยึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนไว้ชั่วคราว ผู้ชำระบัญชีเดิมขอให้ขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนโดยอ้างว่า การยึดที่ดินของห้างหุ้นส่วนไว้เฉยๆ มีแต่ทางสิ้นเปลืองและเสียหายมาก เพราะต้องเสียค่ารักษาและที่สวนยางมีอาณาเขตกว้างขวางยากแก่การระวังรักษา ปรากฏว่ามีคนร้ายมาลักตัดยางเป็นนิจ เป็นที่เสียหายแก่สวนยางและผู้เป็นหุ้นส่วน ดังนี้ศาลมีอำนาจสั่งให้จัดการขายทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิโดยครอบครองปรปักษ์ แม้การซื้อขายจะผิดกฎหมาย โจทก์นำสืบได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเรือนพิพาทเป็นของโจทก์, จำเลยเป็นผู้อาศัย จำเลยเถียงว่าเรือนเป็นของจำเลย โจทก์เป็นผู้อาศัย ประเด็นจึงมีว่าเรือนเป็นของใคร โจทก์ย่อมนำสืบว่าเรือนเป็นของโจทก์เพราะครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้วได้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยาย ข้อเท็จจริงในฟ้องถึงการได้มาซึ่งเรือนพิพาท ก็ย่อมนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีกรรมสิทธิได้ หากจำเลยเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ยังไม่ชัดแจ้ง จำเลยก็ชอบที่จะขอร้องต่อศาลในชั้นชี้สองสถานและให้ศาลสอบถามโจทก์ให้ได้ความชัดขึ้นตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 183
โจทก์ได้ซื้อเรือนพิพาทจากบิดามารดาจำเลยและโจทก์ได้ครอบครองมานานกว่า 10 ปีแล้ว แม้การซื้อขายจะขัดกับ ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 456 และ 1299 หรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ได้กรรมสิทธิตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1382 แล้ว
ข้อนำสืบของโจทก์จะหักล้างข้อสันนิษฐานซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง.
โจทก์ได้ซื้อเรือนพิพาทจากบิดามารดาจำเลยและโจทก์ได้ครอบครองมานานกว่า 10 ปีแล้ว แม้การซื้อขายจะขัดกับ ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 456 และ 1299 หรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ได้กรรมสิทธิตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1382 แล้ว
ข้อนำสืบของโจทก์จะหักล้างข้อสันนิษฐานซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง.