พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากผู้ชำระบัญชีที่ไม่ถูกต้อง การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ชำระบัญชี การฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 จึงมีอายุความห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 โจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินถึงจำเลยที่ 1 ให้ชำระภาษี เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยที่ 1 รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ตั้งแต่พ้น 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 นำเงินภาษีอากรไปชำระ อายุความจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 และเมื่อโจทก์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมมีผลต่อการบังคับคดีของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร เป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกัน กับการฟ้องคดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยที่ 1 รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่วันดังกล่าวและเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดนับแต่พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 วันที่ 30 กันยายน 2556 คดียังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการและผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1252 จำเลยที่ 2 จึงควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นการประเมินตนเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรโจทก์ แต่ไม่นำรายได้ที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 มาลงในงบดุลและไม่จัดการใช้หนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1254 จำเลยที่ 2 กลับทำงบดุลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 (ณ วันเลิก) โดยไม่ถูกต้องแล้วแบ่งกำไรสะสมคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่ต้องไม่เกินวงเงินที่เป็นทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
สำนักสืบสวนและคดีรายงานเรื่องการดำเนินคดีภาษีอากรและการดำเนินคดีละเมิดให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบ ตามบันทึกข้อความลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ซึ่ง ว. ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ลงนามให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการและผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1252 จำเลยที่ 2 จึงควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นการประเมินตนเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรโจทก์ แต่ไม่นำรายได้ที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 มาลงในงบดุลและไม่จัดการใช้หนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1254 จำเลยที่ 2 กลับทำงบดุลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 (ณ วันเลิก) โดยไม่ถูกต้องแล้วแบ่งกำไรสะสมคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่ต้องไม่เกินวงเงินที่เป็นทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
สำนักสืบสวนและคดีรายงานเรื่องการดำเนินคดีภาษีอากรและการดำเนินคดีละเมิดให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบ ตามบันทึกข้อความลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ซึ่ง ว. ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ลงนามให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของผู้สนับสนุนการกระทำผิด, การกำหนดสัดส่วนค่าเสียหาย, และการพิสูจน์หลักฐาน
เมื่อคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสอง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง คดีถึงที่สุดและมูลกรณีที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องร้องจำเลยที่ 2 รับผิดทางแพ่งชดใช้ค่าเสียหายในคดีนี้ก็เป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับในคดีอาญาคดีก่อนที่จำเลยที่ 2 รับสารภาพว่าได้กระทำความผิด และศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 มาด้วย จึงถือว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาคดีก่อน ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามที่ฟ้องจริง คงมีประเด็นตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เพียงว่า มีเหตุลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ทำนองว่า จำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ย ช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ 2 มีอาการเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ต่อมาบรรษัท ง. ฟ้องเรียกเงินกู้คืนจากบริษัท ฟ. และจำเลยร่วมแต่ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย และจำเลยที่ 2 มีส่วนช่วยติดตามยึดทรัพย์สินของบริษัท ฟ. เพื่อเยียวยาค่าเสียหายให้แก่บรรษัท ง. และมีเหตุส่วนตัวอื่น อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 อีกสถานหนึ่งและรอการลงโทษจำคุกให้นั้น ถือเป็นเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ใช้ประกอบดุลพินิจในประเด็นที่ว่าพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุที่จะลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ ไม่เป็นการลบล้างความผิดตามฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ให้หมดสิ้นไป
เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การสารภาพยอมรับว่า จำเลยที่ 2 กับพวกเป็นผู้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดในขั้นตอนก่อนหรือขณะกระทำความผิด ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอาญาว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำความผิดจริง และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดตามฟ้องโจทก์ แต่อุทธรณ์ยอมรับความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำลงไป มิได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโดยฟังว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิด แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยก้าวล่วงไปสู่พฤติการณ์แห่งคดีว่าจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้เห็นในการทุจริตกับจำเลยร่วม ก็ไม่มีผลเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงหักล้างเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาที่ฟังจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดในคดีอาญาที่ยุติเด็ดขาดไปแล้วแต่อย่างใดไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญารับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด การรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งในคดีนี้จึงไม่อาจรับฟังไปคนละทางกับข้อเท็จจริงที่รับฟังยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ในคดีนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท ฟ. โดยต้องลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยร่วมและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 2 จึงจำต้องใช้ความละเอียดรอบคอบเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ให้โอกาสจำเลยที่ 2 ด้วยการรอการลงโทษจำคุกมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ยกับบริษัท ฟ. ทั้งสองครั้งโดยไม่ใช้แบบฟอร์มสัญญาของโจทก์ การตรวจรับสินค้าหรือปุ๋ยตามสัญญาก็กระทำเพียงลำพัง จำเลยที่ 1 ไม่เคยนำสัญญาซื้อขายปุ๋ยดังกล่าวเสนอคณะกรรมการโจทก์พิจารณาให้ความเห็นชอบ พฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่ 1 มีลักษณะเป็นการกระทำตามลำพังเฉพาะตัว เพียงแต่อาศัยตำแหน่งที่ตนเองเป็นผู้อำนวยการของโจทก์มาทำการทุจริตเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลที่สาม โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นและไม่อยู่ในวิสัยหรือโอกาสที่จะตรวจสอบได้ในสารบบงานที่เกี่ยวข้อง โจทก์จึงไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังยุติว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย แต่การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ไปก่อหนี้ผูกพันลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ยทั้งสองสัญญากับโจทก์ ไม่ได้ความเป็นที่ประจักษ์ว่า จำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์หรือส่วนแบ่งโดยตรงจากเงินที่บริษัท ฟ. ได้รับจากบรรษัท ง. และพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยร่วมหรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการสร้างหลักฐานอันเป็นเท็จ อีกทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาหรือคำพิพากษาของศาลว่าจำเลยที่ 2 กระทำการยักยอกเบียดบังเอาสินค้าหรือเงินของบริษัท ฟ. ไป ลำพังคำให้การซัดทอดของ ส. ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงไม่น่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักให้รับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 จึงมีความร้ายแรงน้อยกว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 จะต้องชดใช้แก่โจทก์ย่อมมีสัดส่วนน้อยกว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม โดยกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์จำนวนหนึ่งในสี่ของค่าเสียหาย ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเท่ากับสัดส่วนความประมาทเลินเล่อของบรรษัท ง. ที่มีส่วนต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อหรือความผิดของฝ่ายตน
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาคดีก่อน ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามที่ฟ้องจริง คงมีประเด็นตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เพียงว่า มีเหตุลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ทำนองว่า จำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ย ช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ 2 มีอาการเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ต่อมาบรรษัท ง. ฟ้องเรียกเงินกู้คืนจากบริษัท ฟ. และจำเลยร่วมแต่ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย และจำเลยที่ 2 มีส่วนช่วยติดตามยึดทรัพย์สินของบริษัท ฟ. เพื่อเยียวยาค่าเสียหายให้แก่บรรษัท ง. และมีเหตุส่วนตัวอื่น อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 อีกสถานหนึ่งและรอการลงโทษจำคุกให้นั้น ถือเป็นเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ใช้ประกอบดุลพินิจในประเด็นที่ว่าพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุที่จะลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ ไม่เป็นการลบล้างความผิดตามฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ให้หมดสิ้นไป
เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การสารภาพยอมรับว่า จำเลยที่ 2 กับพวกเป็นผู้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดในขั้นตอนก่อนหรือขณะกระทำความผิด ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอาญาว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำความผิดจริง และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดตามฟ้องโจทก์ แต่อุทธรณ์ยอมรับความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำลงไป มิได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโดยฟังว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิด แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยก้าวล่วงไปสู่พฤติการณ์แห่งคดีว่าจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้เห็นในการทุจริตกับจำเลยร่วม ก็ไม่มีผลเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงหักล้างเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาที่ฟังจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดในคดีอาญาที่ยุติเด็ดขาดไปแล้วแต่อย่างใดไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญารับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด การรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งในคดีนี้จึงไม่อาจรับฟังไปคนละทางกับข้อเท็จจริงที่รับฟังยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ในคดีนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท ฟ. โดยต้องลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยร่วมและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 2 จึงจำต้องใช้ความละเอียดรอบคอบเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ให้โอกาสจำเลยที่ 2 ด้วยการรอการลงโทษจำคุกมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ยกับบริษัท ฟ. ทั้งสองครั้งโดยไม่ใช้แบบฟอร์มสัญญาของโจทก์ การตรวจรับสินค้าหรือปุ๋ยตามสัญญาก็กระทำเพียงลำพัง จำเลยที่ 1 ไม่เคยนำสัญญาซื้อขายปุ๋ยดังกล่าวเสนอคณะกรรมการโจทก์พิจารณาให้ความเห็นชอบ พฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่ 1 มีลักษณะเป็นการกระทำตามลำพังเฉพาะตัว เพียงแต่อาศัยตำแหน่งที่ตนเองเป็นผู้อำนวยการของโจทก์มาทำการทุจริตเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลที่สาม โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นและไม่อยู่ในวิสัยหรือโอกาสที่จะตรวจสอบได้ในสารบบงานที่เกี่ยวข้อง โจทก์จึงไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังยุติว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย แต่การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ไปก่อหนี้ผูกพันลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ยทั้งสองสัญญากับโจทก์ ไม่ได้ความเป็นที่ประจักษ์ว่า จำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์หรือส่วนแบ่งโดยตรงจากเงินที่บริษัท ฟ. ได้รับจากบรรษัท ง. และพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยร่วมหรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการสร้างหลักฐานอันเป็นเท็จ อีกทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาหรือคำพิพากษาของศาลว่าจำเลยที่ 2 กระทำการยักยอกเบียดบังเอาสินค้าหรือเงินของบริษัท ฟ. ไป ลำพังคำให้การซัดทอดของ ส. ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงไม่น่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักให้รับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 จึงมีความร้ายแรงน้อยกว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 จะต้องชดใช้แก่โจทก์ย่อมมีสัดส่วนน้อยกว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม โดยกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์จำนวนหนึ่งในสี่ของค่าเสียหาย ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเท่ากับสัดส่วนความประมาทเลินเล่อของบรรษัท ง. ที่มีส่วนต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อหรือความผิดของฝ่ายตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้ภาษีของบริษัท แม้จะยังไม่มีการแจ้งการประเมินอย่างเป็นทางการ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาไม่ทำให้ขาดอายุความ
จำเลยเป็นทั้งกรรมการและผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำกัด จึงมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตนเป็นกรรมการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1252 จำเลยจึงควรจะต้องทราบว่าบริษัทเป็นหนี้ค่าภาษีดังกล่าวแก่โจทก์ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการประเมินเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบ จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่
การชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1271ที่ให้มอบบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารทั้งหลายของบริษัทซึ่งได้ชำระบัญชีแก่นายทะเบียนเพื่อเก็บรักษาไว้ 10 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี การที่จำเลยมิได้เก็บรักษาเอกสารดังกล่าวโดยอ้างว่าไม่มีผู้เก็บรักษาจึงฟังไม่ขึ้น
เมื่อบริษัทจำกัดจดทะเบียนเลิกบริษัท จำเลยมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งเลิกกิจการภายหลังจากนั้น 1 ปีเศษ และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีในเวลา 2 เดือนเศษต่อมาโดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง การที่จำเลยมิได้กันเงินที่ชำระหนี้ให้โจทก์แต่กลับแบ่งเงินดังกล่าวเฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหุ้น จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1264,1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง แต่ศาลฎีกาเห็นว่า คดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล กรณีต้องด้วยมาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุด ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วันจึงไม่ขาดอายุความ
การชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1271ที่ให้มอบบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารทั้งหลายของบริษัทซึ่งได้ชำระบัญชีแก่นายทะเบียนเพื่อเก็บรักษาไว้ 10 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี การที่จำเลยมิได้เก็บรักษาเอกสารดังกล่าวโดยอ้างว่าไม่มีผู้เก็บรักษาจึงฟังไม่ขึ้น
เมื่อบริษัทจำกัดจดทะเบียนเลิกบริษัท จำเลยมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งเลิกกิจการภายหลังจากนั้น 1 ปีเศษ และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีในเวลา 2 เดือนเศษต่อมาโดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง การที่จำเลยมิได้กันเงินที่ชำระหนี้ให้โจทก์แต่กลับแบ่งเงินดังกล่าวเฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหุ้น จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1264,1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง แต่ศาลฎีกาเห็นว่า คดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล กรณีต้องด้วยมาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุด ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วันจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้ภาษีของบริษัท แม้จะยังไม่มีการแจ้งประเมิน และต้องเก็บรักษาเอกสารการชำระบัญชี
จำเลยเป็นทั้งกรรมการและผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำกัด จึงมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตนเป็นกรรมการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1252 จำเลยจึงควรจะต้องทราบว่าบริษัทเป็นหนี้ค่าภาษีดังกล่าวแก่โจทก์ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการประเมินเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบ จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่
การชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1271 ที่ให้มอบบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารทั้งหลายของบริษัทซึ่งได้ชำระบัญชีแก่นายทะเบียนเพื่อเก็บรักษาไว้ 10 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี การที่จำเลยมิได้เก็บรักษาเอกสารดังกล่าวโดยอ้างว่าไม่มีผู้เก็บรักษาจึงฟังไม่ขึ้น
เมื่อบริษัทจำกัดจดทะเบียนเลิกบริษัท จำเลยมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งเลิกกิจการภายหลังจากนั้น 1 ปีเศษ และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีในเวลา 2 เดือนเศษต่อมา โดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง การที่จำเลยมิได้กันเงินที่ชำระหนี้ให้โจทก์แต่กลับแบ่งเงินดังกล่าวเฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหุ้น จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1264 , 1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง แต่ศาลฎีกาเห็นว่า คดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล กรณีต้องด้วยมาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุด ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วัน จึงไม่ขาดอายุความ
การชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1271 ที่ให้มอบบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารทั้งหลายของบริษัทซึ่งได้ชำระบัญชีแก่นายทะเบียนเพื่อเก็บรักษาไว้ 10 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี การที่จำเลยมิได้เก็บรักษาเอกสารดังกล่าวโดยอ้างว่าไม่มีผู้เก็บรักษาจึงฟังไม่ขึ้น
เมื่อบริษัทจำกัดจดทะเบียนเลิกบริษัท จำเลยมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งเลิกกิจการภายหลังจากนั้น 1 ปีเศษ และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีในเวลา 2 เดือนเศษต่อมา โดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง การที่จำเลยมิได้กันเงินที่ชำระหนี้ให้โจทก์แต่กลับแบ่งเงินดังกล่าวเฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหุ้น จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1264 , 1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง แต่ศาลฎีกาเห็นว่า คดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล กรณีต้องด้วยมาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุด ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วัน จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ชำระบัญชีและการละเมิดจากความผิดพลาดในการชำระภาษี คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท บ. หน้าที่สำคัญที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องดำเนินการ คือการชำระสะสางการงานของบริษัทนั้นให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 การที่บริษัท บ. ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้การชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง จำเลยเป็นทั้งกรรมการและผู้ชำระบัญชีของบริษัท จึงมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตนเป็นกรรมการตามมาตรา 1168 และในฐานะเป็นผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1252 จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบก่อน จำเลยจึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ อีกทั้งเมื่อบริษัทจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วจำเลยมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งเลิกกิจการภายหลังจากนั้น 1 ปีเศษ และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีในเวลา 2 เดือนเศษต่อมาโดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่ แต่จำเลยไม่ได้กันเงินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ กลับแบ่งเงินดังกล่าวเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นจึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1264 และมาตรา 1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง ต่อมาศาลฎีกาเห็นว่าคดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางและพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับคำฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวนั้นถึงที่สุด เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วัน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง ต่อมาศาลฎีกาเห็นว่าคดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางและพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับคำฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวนั้นถึงที่สุด เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วัน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจเงินทุนฯ แม้ไม่ได้ปฏิบัติงานประจำ และประเด็นอายุความ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทและเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทดังกล่าวจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบใน แต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแก่บริษัทที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบได้ไม่
ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ มิใช่เป็นบทบังคับให้ คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ทั้งการที่คณะกรรมการดังกล่าวไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 144 ไม่ เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการให้รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ตามบทมาตราต่าง ๆ และมาตรา 75 วรรคหนึ่งและวรรคสองแห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งมาตรา 75 วรรคหนึ่งบัญญัติให้รับผิดมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ส่วนวรรคสอง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองถึงห้าปี และตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) บัญญัติถึงความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปีให้มีอายุความสิบปีนับแต่วันกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2531 โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2539 ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ มิใช่เป็นบทบังคับให้ คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ทั้งการที่คณะกรรมการดังกล่าวไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 144 ไม่ เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการให้รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ตามบทมาตราต่าง ๆ และมาตรา 75 วรรคหนึ่งและวรรคสองแห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งมาตรา 75 วรรคหนึ่งบัญญัติให้รับผิดมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ส่วนวรรคสอง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองถึงห้าปี และตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) บัญญัติถึงความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปีให้มีอายุความสิบปีนับแต่วันกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2531 โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2539 ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการธนาคารต่อความเสียหายจากสินเชื่อที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ และละเว้นการติดตามหนี้
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ต่างก็เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ต่างวาระกัน มีหน้าที่ดูแลกิจการทั้งหมดของธนาคารโจทก์ให้พนักงานปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารที่ได้วางไว้ตลอดถึงการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธนาคารพาณิชย์เมื่อมีการปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเงิน การค้ำประกันและอาวัลตั๋วเงินไม่เป็นไปตามระเบียบปกติของธนาคาร มิได้เร่งรัดติดตามหนี้สิน หรือดำเนินการใดเพื่อแก้ไขหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ สำหรับจำเลยที่ 4 แม้มิใช่เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แต่มีหน้าที่ดูแลด้านสินเชื่อภายในประเทศ ซึ่งจำเลยที่ 4ได้รับการสรุปภาระหนี้สินของธนาคารโจทก์จาก ป.หลายครั้งเพื่อให้สั่งการ แต่จำเลยที่ 4 ก็มิได้สั่งการแต่ประการใดเป็นเหตุให้ไม่สามารถติดตามหนี้สินจากลูกหนี้ของธนาคารโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และระเบียบปฏิบัติของธนาคารโจทก์ จำเลยที่ 4ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประกอบกิจการบริษัทของกรรมการซึ่งอำนาจของกรรมการจะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามมาตรา 1158 ถึง 1164 ส่วนมาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการ ซึ่งมาตรา 1168 วรรคแรก บัญญัติให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขาย ผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ส่วนวรรคสองหมายถึง กิจการที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมาขึ้น หาได้หมายความว่า กรรมการจะต้องร่วมกันรับผิดเฉพาะกิจการ 4 ประการ ที่บัญญัติในวรรคสอง มาตรา 1168 เท่านั้นไม่ เมื่อมาตรา 1168 บัญญัติให้กรรมการทุกคนต้องมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่อง การจะเป็นกรรมการของบริษัทใด กรรมการผู้นั้นจึงต้อง ประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจในการประกอบกิจการของบริษัท นั้นด้วย มิฉะนั้นกรรมการก็ไม่อาจเอื้อเฟื้อสอดส่อง กิจการให้ดีได้ ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ต้องอาศัยกรรมการผู้มีความรอบรู้ในธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย เพื่อให้เอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการของธนาคารให้ลุล่วงไปด้วยดี การที่ธุรกิจของโจทก์ประสบปัญหามาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2523ไม่ว่าการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ในระดับไม่พอใช้จนถึงด้อยคุณภาพจัดชั้นเป็นสูญและสงสัยจำนวนสูง การแสดงผลกำไรตั้งแต่ปี 2522 ผิดพลาดเพราะแท้จริงแล้วธุรกิจของโจทก์ ขาดทุนมิใช่กำไร มีการให้สินเชื่อแก่กลุ่มผู้บริหารมาก แม้ว่าการให้สินเชื่อดังกล่าวจะไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 12(2) และมาตรา 12 ทวิก็ตาม แต่หนี้ในกลุ่มดังกล่าว หลักประกันไม่คุ้มหรือไม่มีเลยดังนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7เป็นกรรมการของโจทก์มีหน้าที่ต้องดูแลการบริหารกิจการของโจทก์มิให้เสียหาย กลับปล่อยให้มีการให้สินเชื่อโดยหลักประกันไม่คุ้ม เมื่อหนี้ถูกจัดเป็นหนี้เสียก็มิได้เร่งรัดติดตามหนี้ แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะแจ้งให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานดังกล่าวจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ก็หาได้ดำเนินการใดเพื่อแก้ไขไม่ ดังนั้นเมื่อตามพฤติการณ์ควรจะรู้ข้อปัญหาดังกล่าว หรือโดยสามัญสำนึกของวิญญูชนผู้ประกอบการค้าเช่นนั้นควรจะพึงรู้ได้ แต่มิได้กระทำการใดเพื่อปกป้องความเสียหายอันจะเกิดแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 มิได้ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของโจทก์ จะอ้างว่าไม่รับรู้การบริหารงานของโจทก์หรือมิได้มาทำงานเป็นประจำก็ดี ไม่มีหน้าที่ก็ดีเพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการโจทก์ ระหว่างวันที่ 16กันยายน 2508 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2526 จำเลยที่ 5เป็นกรรมการโจทก์ ระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน 2519ถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2527 จำเลยที่ 6 เป็นกรรมการโจทก์ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม 2523 ถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2527และจำเลยที่ 7 เป็นกรรมการระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม 2518ถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2527 ดังนั้น หน้าที่ในการเอื้อเฟื้อสอดส่องของกรรมการ จึงมีเพียงในช่วงเวลาดังกล่าวการที่จะให้จำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 รับผิดในหนี้ที่ก่อหรืออนุมัติภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6และที่ 7 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์แล้วจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการธนาคารต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการบริหารจัดการธุรกิจ หากปล่อยปละละเลยจนเกิดความเสียหายต้องรับผิด
มีการปล่อยสินเชื่อจำนวน 28 ราย โดยไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารโจทก์ การให้สินเชื่อทั้ง 28 ราย ไม่เคยนำเข้าคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อ คณะกรรมการสะสางหนี้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ต่างก็เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ต่างวาระกัน มีหน้าที่ดูแลกิจการทั้งหมดของธนาคารโจทก์ให้พนักงานปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารที่ได้วางไว้ตลอดถึงการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ เมื่อมีการปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเงิน การค้ำประกันและอาวัลตั๋วเงินไม่เป็นไปตามระเบียบปกติของธนาคาร มิได้เร่งรัดติดตามหนี้สิน หรือดำเนินการใด เพื่อแก้ไขหนี้ดังกล่าว เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ สำหรับจำเลยที่ 4 แม้มิใช่เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แต่มีหน้าที่ดูแลด้านสินเชื่อภายในประเทศ ซึ่งได้มีการสรุปภาระหนี้สินของธนาคารโจทก์เสนอต่อจำเลยที่ 4 หลายครั้ง เพื่อให้สั่งการ แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 มิได้สั่งการแต่ประการใด เป็นเหตุให้ไม่สามารถติดตามหนี้สินจากลูกหนี้ของธนาคารโจทก์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากลูกหนี้ทั้ง 28 ราย ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นบริษัทซึ่งกรรมการของโจทก์หลายคนเป็นกรรมการในบริษัทลูกหนี้หลายบริษัทหรือมิฉะนั้นเป็นเพื่อนสนิทของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และระเบียบปฏิบัติของธนาคารโจทก์ จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
ป.พ.พ. มาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประกอบกิจการบริษัทของกรรมการ ซึ่งอำนาจของกรรมการจะมีเพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 1158 ถึง 1164 ส่วนมาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ซึ่งโดยมาตรา 1168 วรรคแรก บัญญัติให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ส่วนวรรคสองหมายถึงกิจการที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมากขึ้น หาได้หมายความว่า กรรมการจะต้องร่วมกันรับผิดเฉพาะกิจการ 4 ประการ ที่บัญญัติในวรรคสอง มาตรา 1168 เท่านั้นไม่ เมื่อมาตรา 1168 บัญญัติให้กรรมการทุกคนต้องมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่อง การจะเป็นกรรมการของบริษัทใด กรรมการผู้นั้นจึงต้องประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจในการประกอบกิจการของบริษัทนั้นด้วย มิฉะนั้นกรรมการก็ไม่อาจเอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการให้ดีได้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีความหมายตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ก. ให้สินเชื่อ ข. ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ค. ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และอาจกระทำธุรกิจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ทวิ คือธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการธนาคารพาณิชย์ หรือธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำ เช่น การเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงิน การรับอาวัลตั๋วเงิน การรับรองตั๋วเงิน การออกเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือการค้ำประกันหรือธุรกิจทำนองเดียวกันด้วย ซึ่งเมื่อมีการดำเนินการประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อไปแล้ว ก็จะต้องมีหน้าที่ติดตามประเมินผลและเร่งรัดจัดเก็บหนี้ดังกล่าวให้ได้ด้วย มิฉะนั้นก็จะทำให้การประกอบธุรกิจธนาคารมีข้อขัดข้อง และทำให้สินทรัพย์ขาดสภาพคล่อง ดังนั้น ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์จึงต้องอาศัยกรรมการผู้มีความรอบรู้ในธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย เพื่อให้เอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการของธนาคารให้ลุล่วงไปด้วยดี การที่ธุรกิจของโจทก์ประสบปัญหามาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2523 ไม่ว่าการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ในระดับไม่พอใช้จนถึงด้อยคุณภาพ จัดชั้นเป็นสูญและสงสัยจำนวนสูง การแสดงผลกำไรตั้งแต่ปี 2522 ผิดพลาดเพราะแท้จริงแล้วธุรกิจของโจทก์ขาดทุนมิใช่กำไร มีการให้สินเชื่อแก่กลุ่มผู้บริหารมาก แม้ว่าการให้สินเชื่อดังกล่าวจะไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 12 (2) และมาตรา 12 ทวิ ก็ตาม แต่หนี้ในกลุ่มดังกล่าว หลักประกันไม่คุ้มหรือไม่มีเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 เป็นกรรมการของโจทก์ มีหน้าที่ต้องดูแลการบริหารกิจการของโจทก์มิให้เสียหาย กลับปล่อยให้มีการให้สินเชื่อโดยหลักประกันไม่คุ้ม เมื่อหนี้ถูกจัดเป็นหนี้เสียก็มิได้เร่งรัดติดตามหนี้ แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ก็หาได้ดำเนินการใดเพื่อแก้ไขไม่ ดังนั้น เมื่อตามพฤติการณ์ควรจะรู้ข้อปัญหาดังกล่าว หรือโดยสามัญสำนึกของวิญญูชนผู้ประกอบการค้าเช่นนั้นควรจะพึงรู้ได้ แต่มิได้กระทำการใดเพื่อปกป้องความเสียหายอันจะเกิดแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 มิได้ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของโจทก์ จะอ้างว่าไม่รับรู้การบริหารงานของโจทก์หรือมิได้มาทำงานเป็นประจำก็ดี ไม่มีหน้าที่ก็ดี เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยกับจำเลยที่ 3จำเลยที่ 5 และกรรมการธนาคารโจทก์ชุดเดิมทำสัญญาให้ความช่วยเหลือพยุงฐานะธนาคารโจทก์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2527 แสดงให้เห็นว่าโจทก์เพิ่งทราบถึงการทำละเมิดและผู้ที่จะต้องรับผิดในวันนั้น คดีโจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2528 ไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประกอบกิจการบริษัทของกรรมการ ซึ่งอำนาจของกรรมการจะมีเพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 1158 ถึง 1164 ส่วนมาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ซึ่งโดยมาตรา 1168 วรรคแรก บัญญัติให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ส่วนวรรคสองหมายถึงกิจการที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมากขึ้น หาได้หมายความว่า กรรมการจะต้องร่วมกันรับผิดเฉพาะกิจการ 4 ประการ ที่บัญญัติในวรรคสอง มาตรา 1168 เท่านั้นไม่ เมื่อมาตรา 1168 บัญญัติให้กรรมการทุกคนต้องมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่อง การจะเป็นกรรมการของบริษัทใด กรรมการผู้นั้นจึงต้องประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจในการประกอบกิจการของบริษัทนั้นด้วย มิฉะนั้นกรรมการก็ไม่อาจเอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการให้ดีได้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีความหมายตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ก. ให้สินเชื่อ ข. ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ค. ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และอาจกระทำธุรกิจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ทวิ คือธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการธนาคารพาณิชย์ หรือธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำ เช่น การเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงิน การรับอาวัลตั๋วเงิน การรับรองตั๋วเงิน การออกเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือการค้ำประกันหรือธุรกิจทำนองเดียวกันด้วย ซึ่งเมื่อมีการดำเนินการประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อไปแล้ว ก็จะต้องมีหน้าที่ติดตามประเมินผลและเร่งรัดจัดเก็บหนี้ดังกล่าวให้ได้ด้วย มิฉะนั้นก็จะทำให้การประกอบธุรกิจธนาคารมีข้อขัดข้อง และทำให้สินทรัพย์ขาดสภาพคล่อง ดังนั้น ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์จึงต้องอาศัยกรรมการผู้มีความรอบรู้ในธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย เพื่อให้เอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการของธนาคารให้ลุล่วงไปด้วยดี การที่ธุรกิจของโจทก์ประสบปัญหามาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2523 ไม่ว่าการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ในระดับไม่พอใช้จนถึงด้อยคุณภาพ จัดชั้นเป็นสูญและสงสัยจำนวนสูง การแสดงผลกำไรตั้งแต่ปี 2522 ผิดพลาดเพราะแท้จริงแล้วธุรกิจของโจทก์ขาดทุนมิใช่กำไร มีการให้สินเชื่อแก่กลุ่มผู้บริหารมาก แม้ว่าการให้สินเชื่อดังกล่าวจะไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 12 (2) และมาตรา 12 ทวิ ก็ตาม แต่หนี้ในกลุ่มดังกล่าว หลักประกันไม่คุ้มหรือไม่มีเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 เป็นกรรมการของโจทก์ มีหน้าที่ต้องดูแลการบริหารกิจการของโจทก์มิให้เสียหาย กลับปล่อยให้มีการให้สินเชื่อโดยหลักประกันไม่คุ้ม เมื่อหนี้ถูกจัดเป็นหนี้เสียก็มิได้เร่งรัดติดตามหนี้ แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ก็หาได้ดำเนินการใดเพื่อแก้ไขไม่ ดังนั้น เมื่อตามพฤติการณ์ควรจะรู้ข้อปัญหาดังกล่าว หรือโดยสามัญสำนึกของวิญญูชนผู้ประกอบการค้าเช่นนั้นควรจะพึงรู้ได้ แต่มิได้กระทำการใดเพื่อปกป้องความเสียหายอันจะเกิดแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 มิได้ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของโจทก์ จะอ้างว่าไม่รับรู้การบริหารงานของโจทก์หรือมิได้มาทำงานเป็นประจำก็ดี ไม่มีหน้าที่ก็ดี เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยกับจำเลยที่ 3จำเลยที่ 5 และกรรมการธนาคารโจทก์ชุดเดิมทำสัญญาให้ความช่วยเหลือพยุงฐานะธนาคารโจทก์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2527 แสดงให้เห็นว่าโจทก์เพิ่งทราบถึงการทำละเมิดและผู้ที่จะต้องรับผิดในวันนั้น คดีโจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2528 ไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอมทำบัญชีเท็จ ไม่เป็นผู้เสียหาย และไม่ขาดประโยชน์อันควร จึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ. ห้างหุ้นส่วนฯ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยทำนองเดียวกันว่า โจทก์รู้เห็นยินยอมให้บริษัทที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและจำเลยเป็นกรรมการทำบัญชี 2 ชุดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสียภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีนี้ได้ และเหตุที่ไม่ได้แบ่งเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเนื่องจากต้องนำเงินไปใช้ขยายกิจการของบริษัทผู้ถือหุ้นซึ่งรวมทั้งโจทก์มิได้ขาดประโยชน์อันควรได้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามฟ้องเช่นนี้ ถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัททำบัญชีเท็จว่าบริษัทขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอม การทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้ ไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42
จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัททำบัญชีเท็จว่าบริษัทขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอม การทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้ ไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอมการทำบัญชีเท็จ ไม่เป็นผู้เสียหาย และไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ห้างหุ้นส่วนฯ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยทำนองเดียวกันว่า โจทก์รู้เห็นยินยอมให้บริษัทที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและจำเลยเป็นกรรมการทำบัญชี 2 ชุดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสียภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีนี้ได้ และเหตุที่ไม่ได้แบ่งเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเนื่องจากต้องนำเงินไปใช้ขยายกิจการของบริษัท ผู้ถือหุ้นซึ่งรวมทั้งโจทก์มิได้ขาดประโยชน์อันควรได้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามฟ้อง เช่นนี้ ถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัททำบัญชีเท็จว่าบริษัทขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอม การทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้ ไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42
จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัททำบัญชีเท็จว่าบริษัทขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอม การทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้ ไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42