พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6132/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษี: ระยะเวลา และการได้รับแจ้ง
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกทั้งสองฉบับ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19 เนื่องจากเป็นกรณีโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ไม่ถูกต้อง และในกรณีที่มีการแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีได้ โดยมิได้มีข้อจำกัดว่าจะนำเอกสารที่ได้จากการตรวจค้นและยึดเอกสาร โดยเจ้าพนักงานตำรวจมาเป็นเหตุในการออกหมายเรียกไม่ได้
การออกหมายเรียก ป.รัษฎากร ตาม มาตรา 19 จะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียก ลงวันที่ 26 มีนาคม 2547 เพื่อตรวจสอบภาษีอากรสำหรับปีภาษี 2544 และปีภาษี 2545 กรณีย่อมถือว่าวันที่มีการออกหมายเรียกคือวันที่ 26 มีนาคม 2547 เมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2544 ในวันที่ 28 มีนาคม 2545 และสำหรับปีภาษี 2545 ในวันที่ 31 มีนาคม 2546 การออกหมายเรียกดังกล่าวจึงได้กระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ ส่วนเมื่อมีการออกหมายเรียกแล้วจะส่งให้โจทก์ได้โดยวิธีใดและถือว่าโจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 8 แห่ง ป.รัษฎากร การส่งหมายเรียกจึงเป็นคนละกรณีกับการออกหมายเรียก ย่อมไม่อาจนำเอาวันที่มีการส่งหมายเรียกได้โดยชอบตามมาตรา 8 มาถือว่าเป็นวันที่มีการออกหมายเรียกตามมาตรา 19
การออกหมายเรียก ป.รัษฎากร ตาม มาตรา 19 จะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียก ลงวันที่ 26 มีนาคม 2547 เพื่อตรวจสอบภาษีอากรสำหรับปีภาษี 2544 และปีภาษี 2545 กรณีย่อมถือว่าวันที่มีการออกหมายเรียกคือวันที่ 26 มีนาคม 2547 เมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2544 ในวันที่ 28 มีนาคม 2545 และสำหรับปีภาษี 2545 ในวันที่ 31 มีนาคม 2546 การออกหมายเรียกดังกล่าวจึงได้กระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ ส่วนเมื่อมีการออกหมายเรียกแล้วจะส่งให้โจทก์ได้โดยวิธีใดและถือว่าโจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 8 แห่ง ป.รัษฎากร การส่งหมายเรียกจึงเป็นคนละกรณีกับการออกหมายเรียก ย่อมไม่อาจนำเอาวันที่มีการส่งหมายเรียกได้โดยชอบตามมาตรา 8 มาถือว่าเป็นวันที่มีการออกหมายเรียกตามมาตรา 19
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนภาษีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน สิทธิเป็นของผู้ให้เช่า (นางประไพ) ไม่ใช่ผู้รับสิทธิเก็บกิน (โจทก์)
คดีนี้ พ. เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดเป็นผู้ทำสัญญาให้บริษัท บ. เช่า เป็นเวลา 30 ปี บริษัท บ. ตกลงชำระค่าหน้าดิน 87,500,000 บาท ในวันเดียวกัน พ. ทำหนังสือสัญญาให้สิทธิเก็บกินบนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นหลาน และบริษัท บ. ตกลงจ่ายค่าหน้าดินและค่าเช่าให้แก่โจทก์ทั้งสามในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกิน แต่เพิ่งไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายหลังจากที่มีการทำสัญญาเช่าแล้ว ดังนั้น ผู้มีเงินได้ตามสัญญาเช่า คือ พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่า โจทก์ทั้งสามเป็นเพียงผู้รับเงินค่าเช่าแทน พ. เท่านั้น
การที่บริษัท บ. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่โจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการออกหนังสือรับรองผิดหน่วยภาษี โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษี
การที่บริษัท บ. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่โจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการออกหนังสือรับรองผิดหน่วยภาษี โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ และอำนาจการประเมินและอายัดทรัพย์สินของเจ้าพนักงาน
บริษัท ก.ได้รับโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม2526 ต่อมาบริษัท ก.จดทะเบียนโอนขายแก่โจทก์ทั้งห้าเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2528ในราคา 7,000,000 บาท แล้วโจทก์ทั้งห้าได้จดทะเบียนโอนขายแก่บริษัท ร.เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2528 ในราคา 69,800,000 บาท แต่โจทก์ที่ 2 ได้รับตั๋วแลกเงินธนาคารลงวันที่ 11 มีนาคม 2528 จำนวนเงิน 5,000,000 บาท จากบริษัท ร.เป็นการชำระเงินค่าที่ดินบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับลงวันที่ 12มีนาคม 2528 แทนผู้ขายทุกคน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2528 อันแสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งห้ามีความผูกพันต่อบริษัท ร.ตามสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ก่อนที่จะซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัท ก. ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ทั้งห้าได้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาโดยการจดทะเบียนซื้อจากบริษัท ก.นั้น โจทก์ทั้งห้ามีเจตนาที่จะนำที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาจดทะเบียนโอนขายแก่บริษัท ร.ในราคา69,800,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขายที่มีความผูกพันกันอยู่ดังกล่าวแล้ว และหลังจากซื้อที่ดินมาได้แล้ว โจทก์ทั้งห้าก็ได้จดทะเบียนโอนขายดังกล่าวให้แก่บริษัท ร.จำกัด ไปตามเจตนาที่ซื้อมา เมื่อราคาที่ดินที่ซื้อมาต่ำ แต่ราคาที่ขายไปสูงและคำนวณผลต่างของราคาซื้อบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อลบด้วยราคาขายแล้ว ผลปรากฏว่าโจทก์ทั้งห้ามีกำไรหลายเท่าตัว ทั้งราคาที่ขายไปเป็นราคาที่บริษัท ร.ตกลงไว้ตามสัญญาจะซื้อขายลงวันที่ 12 มีนาคม 2528 หาใช่ราคาตลาดของที่ดินทั้งสองแปลงสูงขึ้นเอง หลังจากที่โจทก์ทั้งห้าซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัท ก.ไม่ ดังนี้ถือได้ว่าการที่โจทก์ทั้งห้าขายที่ดินทั้งสองแปลงแก่บริษัท ร.ไปนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
เงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) จึงเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา40 (8) ซึ่งมาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดย พ.ร.ฎ.เมื่อ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ บัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่ง ป.รัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณการประเมินโดยหักค่าใช้จ่ายให้จำนวน 8,396,290 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนในการซื้อที่ดินมา 7,000,000 บาท ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน 1,396,290 บาทอันเป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
กรณีที่ผู้มีเงินได้จากการขายที่ดินซึ่งที่ดินนั้นได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ผู้มีเงินได้จากการขายไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงาน-ประเมินได้ แนวปฏิบัติตามนัยหนังสือกรมสรรพากรที่ กค.0802/766 ลงวันที่ 18มกราคม 2528 ก็ให้เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายในกรณีเช่นนี้ให้ในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ตามกรณีของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้ โจทก์ทั้งห้าสามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ครบถ้วนและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้หักให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หาใช่กรณีโจทก์ทั้งห้าไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ตามนัยหนังสือดังกล่าวไม่ จึงใช้อัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมินตามนัยหนังสือดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินทั้งสองโฉนดจากบริษัท ร.มาเองทั้งหมดรวม 69,800,000 บาท โดยโจทก์ที่ 2มีชื่อในโฉนดที่ดินที่ขายทั้งสองโฉนดนั้น แม้โจทก์ที่ 2 จะต้องโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ก็มีสิทธิเพียงหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่งต้องโอนให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามส่วน เมื่อโจทก์ที่ 2 มีชื่อในโฉนดที่ดินอันเป็นหนังสือสำคัญที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินโฉนดดังกล่าว เจ้าพนักงาน-ประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 2 ได้ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 61
กรณีการอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ไม่ชำระเงินตามการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายจึงถือเป็นภาษีอากรค้าง นายอำเภอในเขตท้องที่นั้นมีอำนาจสั่งอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ ส่วนคำสั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 นั้น เนื่องจากการประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 4 ไม่ชอบ จึงมีผลให้ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง นายอำเภอแห่งท้องที่จึงไม่มีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4และขายทอดตลาดเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามประเมินได้ ดังนั้น การที่นายอำเภอแห่งท้องที่สั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบไปด้วย
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้วว่า โจทก์ทั้งห้ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุอันควรผ่อนผันให้โจทก์ทั้งห้า และศาลภาษีอากรกลางก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้วว่า มีเหตุอันควรลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นนี้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับภาษีการค้าและเบี้ยปรับภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้อง ไม่เป็นการฝ่าฝืนป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
เงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) จึงเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา40 (8) ซึ่งมาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดย พ.ร.ฎ.เมื่อ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ บัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่ง ป.รัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณการประเมินโดยหักค่าใช้จ่ายให้จำนวน 8,396,290 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนในการซื้อที่ดินมา 7,000,000 บาท ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน 1,396,290 บาทอันเป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
กรณีที่ผู้มีเงินได้จากการขายที่ดินซึ่งที่ดินนั้นได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ผู้มีเงินได้จากการขายไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงาน-ประเมินได้ แนวปฏิบัติตามนัยหนังสือกรมสรรพากรที่ กค.0802/766 ลงวันที่ 18มกราคม 2528 ก็ให้เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายในกรณีเช่นนี้ให้ในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ตามกรณีของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้ โจทก์ทั้งห้าสามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ครบถ้วนและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้หักให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หาใช่กรณีโจทก์ทั้งห้าไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ตามนัยหนังสือดังกล่าวไม่ จึงใช้อัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมินตามนัยหนังสือดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินทั้งสองโฉนดจากบริษัท ร.มาเองทั้งหมดรวม 69,800,000 บาท โดยโจทก์ที่ 2มีชื่อในโฉนดที่ดินที่ขายทั้งสองโฉนดนั้น แม้โจทก์ที่ 2 จะต้องโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ก็มีสิทธิเพียงหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่งต้องโอนให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามส่วน เมื่อโจทก์ที่ 2 มีชื่อในโฉนดที่ดินอันเป็นหนังสือสำคัญที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินโฉนดดังกล่าว เจ้าพนักงาน-ประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 2 ได้ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 61
กรณีการอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ไม่ชำระเงินตามการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายจึงถือเป็นภาษีอากรค้าง นายอำเภอในเขตท้องที่นั้นมีอำนาจสั่งอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ ส่วนคำสั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 นั้น เนื่องจากการประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 4 ไม่ชอบ จึงมีผลให้ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง นายอำเภอแห่งท้องที่จึงไม่มีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4และขายทอดตลาดเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามประเมินได้ ดังนั้น การที่นายอำเภอแห่งท้องที่สั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบไปด้วย
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้วว่า โจทก์ทั้งห้ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุอันควรผ่อนผันให้โจทก์ทั้งห้า และศาลภาษีอากรกลางก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้วว่า มีเหตุอันควรลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นนี้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับภาษีการค้าและเบี้ยปรับภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้อง ไม่เป็นการฝ่าฝืนป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การอายัดทรัพย์ และขอบเขตความรับผิดของผู้อื่นในการชำระภาษี
การที่โจทก์ทั้งห้ามีความผูกพันต่อบริษัทร.ตามสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ก่อนที่จะซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากบริษัทก.และในขณะที่โจทก์ทั้งห้าได้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาโดยการจดทะเบียนซื้อจากบริษัทก. โจทก์ทั้งห้ามีเจตนาที่จะนำที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาจดทะเบียนโอนขายให้แก่บริษัทร.ตามสัญญาจะซื้อขายที่มีความผูกพันกันอยู่ดังกล่าว และหลังจากซื้อที่ดินมาได้แล้วโจทก์ทั้งห้าได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่บริษัทร. ไปตามเจตนาที่ซื้อมาเมื่อราคาที่ซื้อมาต่ำแต่ราคาที่ขายไปสูงและคำนวณผลต่างของราคาซื้อบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อลบด้วยราคาขายแล้ว โจทก์ทั้งห้ามีกำไรหลายเท่าตัวทั้งราคาที่ขายไปเป็นราคาที่บริษัทร. ตกลงไว้ตามสัญญาจะซื้อขายหาใช่ราคาตลาดของที่ดินทั้งสองแปลงสูงขึ้นเอง หลังจากที่โจทก์ ทั้งห้าซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัทก. ไม่ ดังนี้ คนที่ขายที่ดินทั้งสองแปลงแก่บริษัทร. นั้น เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร สำหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งมาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา เมื่อพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11)พ.ศ.2502 มาตรา 8 ทวิ บัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนในการซื้อที่ดินมา ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนอันเป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว กรณีของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้สามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ครบถ้วน และเจ้าพนักงานประเมินได้หักให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หาใช่กรณีโจทก์ทั้งห้าไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ตามนัยหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค.0802/766 ลงวันที่18 มกราคม 2528 และที่ กค.0802/7789 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2531ไม่ จึงใช้อัตราร้อยละ 78 ของเงินได้พึงประเมินตามนัยหนังสือดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้มีเจตนาซื้อและขายที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวและมิได้รับเงินจากการขายที่ดินนั้น แต่ลงชื่อ ร่วมในการซื้อและมอบอำนาจในการขายไปตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมิได้เป็นผู้ได้รับเงินได้ พึงประเมินในการที่ที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นได้ขายไปโดยการดำเนินการ ของโจทก์ที่ 2 และตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด เจ้าพนักงาน ประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 การที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระเงินตามการประเมินจึงถือเป็นภาษีอากร ค้างนายอำเภอแห่งท้องที่นั้นมีอำนาจสั่งอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ แต่เนื่องจากการประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ที่ 4 จึงไม่เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง นายอำเภอ แห่งท้องที่จึงไม่มีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 และขายทอดตลาด เพื่อให้ได้ชำระภาษีอากรค้างตามการประเมินได้ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้บรรยายไว้ในตอนท้ายของคำฟ้องว่าโจทก์ทั้งห้ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุอันควรผ่อนผันให้โจทก์ทั้งห้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้วว่ามีเหตุอันควรลดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นนี้หรือไม่ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับภาษีการค้าและเบี้ยปรับภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากชื่อในโฉนด: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องเสียภาษีแม้มีการร่วมทุน
โจทก์ร่วมลงทุนกับ ว. ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลโดยใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวแม้ว่าต่อมาจะได้ขายที่ดังกล่าวไปและแบ่งปันเงินที่ได้จากการขายที่ดินกันตามอัตราส่วนที่ลงหุ้นแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากเงินได้ที่ได้จากการขายที่ดินทั้งหมดได้ เพราะโจทก์มีชื่อในโฉนดที่ดินอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินแต่เพียงผู้เดียวและโจทก์เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้นไว้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 61 ดังนั้น แม้ศาลภาษีอากรกลางจะยอมให้โจทก์นำสมุห์บัญชีธนาคาร และ ว.มาสืบยืนยันข้อเท็จจริงว่าว. ร่วมลงทุนและได้รับทุนและส่วนแบ่งกำไรคืนไปแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์หลุดพ้นหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีการค้าจากการขายที่ดินทั้งหมดได้ การสืบพยานทั้งสองปากดังกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรกลางจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้หมายเรียกสมุห์บัญชีธนาคาร และตัดพยานปากนาย ว. เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้มีชื่อในโฉนดต้องรับผิดชอบภาษีจากการขายที่ดิน แม้มีการร่วมลงทุน
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน อันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินแต่เพียงผู้เดียว และโจทก์เป็นผู้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินโฉนดดังกล่าว โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าโดยคิดจากจำนวนเงินที่ขายที่ดินได้ทั้งหมดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 61 และมาตรา 87(1) ที่โจทก์อ้างว่าได้ร่วมลงทุนกับ ล. โจทก์ประสงค์จะสืบพยานต่อไปก็ไม่ทำให้โจทก์พ้นจากหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากการขายที่ดินทั้งหมด ดังนี้ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งตัดพยาน จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า: การประเมินจากชื่อในโฉนดและหลักฐานการรับเงิน
โจทก์ที่ 2 ร่วมกับ ป. จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อ ขายและแบ่งแยกขายที่ดิน แต่ห้างหุ้นส่วนมิได้ดำเนินการทำเองทั้งหมดได้ ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีชื่อ ในโฉนด ที่ดินและขายให้ลูกค้าเมื่อโจทก์ที่ 2 มีชื่อ ในโฉนด ถือ กรรมสิทธิ์อยู่ย่อมก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ทั้งตาม หลักฐานการซื้อ ขายมีชื่อ โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินย่อมต้อง ถือ ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินได้พึงประเมินนั้นไว้ ดังนี้มาตรา 61 แห่ง ป.รัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากผู้มีชื่อ ในหนังสือสำคัญนั้นก็ได้แต่ ถ้า มีการโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่บุคคลอื่นบุคคลนั้นมีสิทธิหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่ง โอนให้แก่บุคคลอื่นตาม ส่วน การประกอบธุรกิจซื้อ ขายและแบ่งแยกขายที่ดิน เป็นการหาผลประโยชน์อันมีมูลค่าจากที่ดินที่จัดสรรและปลูกบ้านขายเป็นจำนวนมาก ดังนี้เป็นการประกอบการค้าอันต้อง เสียภาษีการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายเดิม
การประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ตาม มาตรา61ในกรณีที่เกิดขึ้นก่อนมี พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10)พ.ศ.2496 ใช้บังคับ ต้องวินิจฉัยคดีตาม มาตรา 61 ก่อนที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)
โจทก์เข้าหุ้นส่วนกับผู้อื่นทำการขนส่งชักลากไม้กับบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าโดยโจทก์เป็นผู้ทำสัญญากับบริษัทเมื่อสิ้นปีโจทก์และผู้ถือหุ้นแต่ละคนได้เสียภาษีเงินได้ของแต่ละคนแล้วดังนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ตามสัญญาที่ทำไว้ กับบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าอีกหาได้ไม่
โจทก์เข้าหุ้นส่วนกับผู้อื่นทำการขนส่งชักลากไม้กับบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าโดยโจทก์เป็นผู้ทำสัญญากับบริษัทเมื่อสิ้นปีโจทก์และผู้ถือหุ้นแต่ละคนได้เสียภาษีเงินได้ของแต่ละคนแล้วดังนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ตามสัญญาที่ทำไว้ กับบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้ย้อนหลังก่อนมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.ม.รัษฎากร (ฉบับที่ 10) ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายเดิม
การปรเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ตาม ม.61 ในกกรณีที่เกิดขึ้นก่อนมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 ใช้บังคับ ต้องวินิจฉัยคดีตาม ม.61 ก่อนที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.ม.รัษฎากร (ฉบับที่ 10 )
โจทก์เข้าหุ้นส่วนกับผู้อื่นทำการขนส่งชักลากไม้กับบริษัทยอมเบยืเบอร์ม่าโดยโจทก์เป็นผู้ทำสัญญากับบริษัทเมื่อสิ้นปีโจทก์และผู้ถือหุ้นแต่ละคนได้เสียภาษีเงินได้ของแต่ละคนแล้วดังนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ตามสัญญาที่ทำไว้ กับบริษัทบอมเบย์เบอร์มาอีกหาได้ไม่
โจทก์เข้าหุ้นส่วนกับผู้อื่นทำการขนส่งชักลากไม้กับบริษัทยอมเบยืเบอร์ม่าโดยโจทก์เป็นผู้ทำสัญญากับบริษัทเมื่อสิ้นปีโจทก์และผู้ถือหุ้นแต่ละคนได้เสียภาษีเงินได้ของแต่ละคนแล้วดังนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ตามสัญญาที่ทำไว้ กับบริษัทบอมเบย์เบอร์มาอีกหาได้ไม่