คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานฯ การส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์ไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องมารับหนังสือที่ส่งถึงโจทก์จากตู้ที่เช่านั้น เมื่อผู้จัดการของโจทก์ได้รับหมายเรียกซึ่งจำเลยส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปจากที่ทำการไปรษณีย์นั้นแล้วถือได้ว่าเป็นการส่งหมายเรียกโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถูกต้องชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่จำต้องนำไปส่งที่สำนักงานของโจทก์
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบกับให้นำบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปส่งมอบเพื่อไต่สวนและตรวจสอบแต่โจทก์ไม่ยอมไปพบและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีการค้าโดยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87 (3) ประกอบด้วยมาตรา 87 ทวิ (8) กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 88
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ ในการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พนักงานไปรษณีย์ได้เก็บคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นไว้ โดยออกหนังสือแจ้งความให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2529 ต่อมาโจทก์มอบให้คนของโจทก์มารับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันคือภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2529 แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 และ11 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องในวันที่12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีถูกต้องตามกฎหมาย แม้ส่งหมายเรียก/หนังสือแจ้งทางตู้ไปรษณีย์ และโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์ไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องมารับหนังสือที่ส่งถึงโจทก์จากตู้ที่เช่านั้น เมื่อผู้จัดการของโจทก์ได้รับหมายเรียกซึ่งจำเลยส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปจากที่ทำการไปรษณีย์นั้นแล้วถือได้ว่าเป็นการส่งหมายเรียกโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถูกต้องชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่จำต้องนำไปส่งที่สำนักงานของโจทก์
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบกับให้นำบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปส่งมอบเพื่อไต่สวนและตรวจสอบแต่โจทก์ไม่ยอมไปพบและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีการค้าโดยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87(3) ประกอบด้วยมาตรา 87 ทวิ (8) กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 88
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ ในการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พนักงานไปรษณีย์ได้เก็บคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นไว้ โดยออกหนังสือแจ้งความให้โจทก์ทราบเมือ่วันที่ 3 เมษายน 2529ต่อมาโจทก์มอบให้คนของโจทก์มารับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30วันคือภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2529 แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 และ11 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องในวันที่12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาด: กรมสรรพากรมีอำนาจตรวจสอบและแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาดได้ แม้ผู้เสียภาษีจะชำระภาษีตามการประเมินเดิมแล้ว
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าของโจทก์และโจทก์ได้ชำระภาษีตามที่ประเมินแล้วต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบว่าการประเมินภาษีนั้นไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะแก้การประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ตามอำนาจที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากรมาตรา19และมาตรา20.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีซ้ำซ้อน เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมหลังตรวจสอบเบื้องต้น
โจทก์ได้ส่งสมุดบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนมาแล้วครั้งหนึ่ง จนได้รับแจ้งการประเมินให้เสียภาษีเพิ่มจากยอดกำไรสุทธิ กรณีนี้จึงไม่มีความจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกเอกสารอื่นใดจากโจทก์มาสอบเพิ่มเติมอีก ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกให้โจทก์ส่งสัญญาขายผ่อนชำระ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกันและบัญชีรายละเอียดสินค้าคงเหลืออีก เป็นการเรียกเอกสารที่ไม่สมควรแก่เรื่องไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 19 จึงไม่มีเหตุที่จะประเมินภาษีโจทกจากยอดขายก่อนหักรายจ่ายตามวิธีการในมาตรา 71(1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4458/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น พิจารณาเจตนาในการได้มาซึ่งหุ้น และขอบเขตอำนาจประเมินภาษี
บริษัทย่อมมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรมาแบ่งปันกัน ในระหว่างผู้ถือหุ้น การได้หุ้นมาย่อมถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร รายได้จากการขายหุ้นจึงเป็นเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ว่า หุ้นนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโดยแท้จริง จึงจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลกฎหมาย รัษฎากร มาตรา 42(9) เมื่อโจทก์ได้หุ้นมาตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทเนื่องจาก การรับมรดก มิใช่รับโอนหรือซื้อจากผู้ใด แม้หุ้นดังกล่าวจะไม่ใช่มรดก แต่เป็นการได้มาเนื่องจากการแบ่งมรดก หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้มา โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากการจำหน่ายหุ้นจำนวนนี้ตาม มาตรา 42(9)
การเอาที่ดินซึ่งเป็นมรดกโอนให้บริษัท ช. แล้วบริษัทออกหุ้นให้แทน แม้บริษัทจะมีข้อจำกัดในการโอนหุ้นเพื่อสงวนหุ้นไว้กับผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นคนในตระกูลของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะสงวนผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจการของบริษัท ไว้ให้แก่บุคคลในตระกูลของโจทก์มากกว่าเป็นการรักษาทรัพย์สิน ของตระกูลไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการค้าหากำไรนั้นเอง เมื่อโจทก์ รับโอนหุ้นจำนวนนี้มา จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 42(9) การที่จะพิจารณาว่าสังหาริมทรัพย์ใดได้มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 42(9) ต้องพิจารณา ในตอนที่ได้มาว่าเป็นการได้มาเพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือ หากำไรหรือไม่ หุ้นของบริษัท ช.ที่ส. ภริยาโจทก์โอนให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ ฟ้องคดีเลิกบริษัท ช.นั้นต้องถือว่าส.ยังเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงอยู่ เมื่อ ส. รับโอนหุ้นมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง และไม่ปรากฏว่า ได้หุ้นมา โดยมิได้มุ่งในทางการหรือหากำไร จึงต้องถือว่า เป็นการได้มาโดยมุ่ง ในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อมีการ ขายหุ้นดังกล่าวจึงต้องเสีย ภาษีเงินได้โดยไม่ได้รับการยกเว้น ตาม มาตรา42(9) เมื่อโจทก์เป็น สามีโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเจ้าของหุ้น โจทก์ก็ต้องรับผิด ในการชำระภาษีตาม มาตรา 57ตรี
แม้ ป. รัษฎากร มาตรา 19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่น อันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ พ้นกำหนดนี้แล้วเจ้าพนักงานประเมินจะไม่มีอำนาจออกหมายเรียก หรือคำสั่งดังกล่าวก็ตาม แต่ก็หาได้มีบทบัญญัติกำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าและเงินได้นิติบุคคลจากรายรับค่าถนน การประเมินที่ถูกต้องและการลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นผู้จัดสรรที่ดินขาย โจทก์ให้ผู้ซื้อที่ดินเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจัดทำถนนเองโดยโจทก์รับเป็นตัวแทนหาผู้รับเหมามาจัดทำถนนในที่ดินของโจทก์และเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้ถนนดังกล่าวต้องตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรแต่ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ดังนั้นถนนที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า อันเป็นรายรับซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 และเป็นเงินได้อันจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39, 65 และรายรับดังกล่าวไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของผู้ซื้อที่ดินตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 10 แต่เป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 และต้องถือราคาของถนนตามจำนวนเงินที่ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายจัดทำเป็นรายรับของโจทก์
เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและมาตรวัดไฟฟ้าที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำขึ้นนั้นเป็นของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนประปาเมื่อทำแล้วตกเป็นของผู้ซื้อที่ดินร่วมกันจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ทั้งไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับอันจะเป็นเหตุให้จำเลยประเมินภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบไต่สวนโดยไม่ให้เวลาล่วงหน้า 7 วัน ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 23, 87 ตรี โจทก์มีสิทธิเพียงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นและเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตามมาตรา 21 และ 25 มิได้แต่เมื่อโจทก์ยอมปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้งจนเจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนและประเมินภาษีเสร็จสิ้นไปแล้วโจทก์จะอ้างเหตุว่าการประเมินไม่ชอบหาได้ไม่
กรณีเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่ม เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีและได้มีการชำระภาษีภายในกำหนดก็ให้ลดเงินเพิ่มลงกรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจึงไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ ส่วนเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) นั้นเมื่อโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ก็ต้องเสียเบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มตามฟ้องถ้าโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ตนประสงค์ จะเพียงแต่แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นไว้มิได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน ปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคล: การประเมินรายรับค่าถนนและผลกระทบจากการคืนเงินผู้ซื้อ
โจทก์เป็นผู้จัดสรรที่ดินขาย โจทก์ให้ผู้ซื้อที่ดินเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจัดทำถนนเองโดยโจทก์รับเป็นตัวแทนหาผู้รับเหมามาจัดทำถนนในที่ดินของโจทก์และเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้ถนนดังกล่าวต้องตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรแต่ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ดังนั้นถนนที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า อันเป็นรายรับซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79และเป็นเงินได้อันจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39,65 และรายรับดังกล่าวไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของผู้ซื้อที่ดินตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 10 แต่เป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 และต้องถือราคาของถนนตามจำนวนเงินที่ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายจัดทำเป็นรายรับของโจทก์ เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและมาตรวัดไฟฟ้าที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำขึ้นนั้นเป็นของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนประปาเมื่อทำแล้วตกเป็นของผู้ซื้อที่ดินร่วมกันจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ทั้งไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับอันจะเป็นเหตุให้จำเลยประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบไต่สวนโดยไม่ให้เวลาล่วงหน้า 7 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,23,87 ตรี โจทก์มีสิทธิเพียงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นและเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตามมาตรา 21 และ 25 มิได้ แต่เมื่อโจทก์ยอมปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้งจนเจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนและประเมินภาษีเสร็จสิ้นไปแล้ว โจทก์จะอ้างเหตุว่าการประเมินไม่ชอบหาได้ไม่ กรณีเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่ม เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีและได้มีการชำระภาษีภายในกำหนดก็ให้ลดเงินเพิ่มลง กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจึงไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ ส่วนเบี้ยปรับตามมาตรา89(3) นั้น เมื่อโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ก็ต้องเสียเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มตามฟ้อง ถ้าโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ตนประสงค์ จะเพียงแต่แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นไว้มิได้ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน ปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิชอบ เจ้าพนักงานประเมินต้องออกหมายเรียก หรือสั่งให้นำหลักฐานมาแสดงก่อน จึงจะประเมินได้ ผู้เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์
ถ้าภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรได้ ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุ อันควรเชื่อว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรแสดงรายการไม่ถูกต้องตาม ความจริง หรือไม่บริบูรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกระทำได้2 ประการคือ ประการ ที่หนึ่ง เรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนรวมทั้งเรียกพยานบุคคล มาสอบคำให้การ กับประการที่สอง สั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานบุคคลนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่อง มาแสดงการใช้อำนาจประการที่หนึ่ง เจ้าพนักงานประเมิน จะต้องออกหมายเรียกส่วนการใช้อำนาจ ประการที่สองเพียงแต่ทำเป็นคำสั่ง โจทก์เป็นนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนจำกัด มี ข. เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและได้ชำระเงินภาษีสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2520 ไว้แล้ว ต่อมา เจ้าพนักงานประเมินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 19 และ 123 แห่งประมวลรัษฎากร ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ ไปให้ถ้อยคำประกอบการไต่สวน และส่งมอบบัญชีที่จะต้อง ทำและเอกสารอื่นอันควรแก่เรื่อง สำหรับระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2521 เพื่อตรวจสอบ ข. ได้นำสมุดบัญชีและ เอกสารดังกล่าวไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยตลอดจนให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินตามนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณผลผลิตของโจทก์ตามคำให้การของ ข. แล้วเห็นว่าโจทก์ ได้ผลผลิตมากกว่าที่ลงในบัญชี เจ้าพนักงานประเมินจึง มีหนังสือถึง ข.แจ้งว่าการตรวจสอบได้เสร็จสิ้นแล้ว มี กรณีจะต้องไต่สวน ข.บางประการ ขอให้ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน ในวันที่ 3 มีนาคม 2523แต่ปรากฏว่าในวันนั้นมิได้ มีการสอบคำให้การ ข. ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือเตือน ให้ ข. ไปพบในวันที่ 12 พฤษภาคม 2523 ข. ได้ไปให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินในวันนั้น ต่อมา สรรพากรเขต 8 มีหนังสือเชิญให้ข.ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อรับทราบผล การตรวจสอบ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2523 หากพ้นกำหนดไม่ไปพบ เจ้าพนักงานจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ข.มีหนังสือ ถึงสรรพากรเขต 8 ตอบไปว่า ไปพบไม่ได้เพราะติดนัดกับ แพทย์ และยืนยัน ข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้กับ เจ้าพนักงานประเมินแล้วนั้น ต่อมาสรรพากรเขต 8 ได้มี หนังสือถึง ข. ว่าคำชี้แจงและเหตุผลของ ข. ยังไม่อาจหา ข้อยุติได้ ให้ ข. ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อชี้แจงด้วยตนเองในวันที่ 27 มิถุนายน 2523 ถ้าไม่ไปพบจะ ดำเนินการตามทางแห่งกฎหมายต่อไป ข. ไม่ไปพบ เจ้าพนักงานประเมิน ในวันดังกล่าว ดังนี้ แม้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ไป เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินใน วันที่ 9 และ 27 มิถุนายน 2523 ก็ถือได้ว่าเป็นการประเมินแก้จำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัย พยานหลักฐานที่ปรากฏตาม มาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 21 เพราะหนังสือทั้งสอง ฉบับดังกล่าวมิใช่หมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือ คำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง ตาม มาตรา 19 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ จำเลย ชอบที่จะต้องรับอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 20 มิใช่มาตรา 21 ผู้เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์
ถ้าภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรได้ ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกระทำได้2 ประการคือ ประการ ที่หนึ่ง เรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนรวมทั้งเรียกพยานบุคคล มาสอบคำให้การ กับประการที่สอง สั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานบุคคลนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง การใช้อำนาจประการที่หนึ่ง เจ้าพนักงานประเมินจะต้องออกหมายเรียกส่วนการใช้อำนาจ ประการที่สองเพียงแต่ทำเป็นคำสั่ง
โจทก์เป็นนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนจำกัด มี ข. เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและได้ชำระเงินภาษีสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2520 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 19 และ 123แห่งประมวลรัษฎากร ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปให้ถ้อยคำประกอบการไต่สวน และส่งมอบบัญชีที่จะต้อง ทำและเอกสารอื่นอันควรแก่เรื่อง สำหรับระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2521เพื่อตรวจสอบ ข. ได้นำสมุดบัญชีและ เอกสารดังกล่าวไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยตลอดจนให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินตามนั้นแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณผลผลิตของโจทก์ตามคำให้การของ ข. แล้วเห็นว่าโจทก์ ได้ผลผลิตมากกว่าที่ลงในบัญชี เจ้าพนักงานประเมินจึง มีหนังสือถึง ข.แจ้งว่าการตรวจสอบได้เสร็จสิ้นแล้วมี กรณีจะต้องไต่สวน ข.บางประการ ขอให้ไปพบเจ้าพนักงานประเมินในวันที่ 3 มีนาคม 2523แต่ปรากฏว่าในวันนั้นมิได้ มีการสอบคำให้การ ข.ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือเตือน ให้ ข. ไปพบในวันที่ 12พฤษภาคม 2523 ข. ได้ไปให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินในวันนั้นต่อมา สรรพากรเขต 8 มีหนังสือเชิญให้ข.ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อรับทราบผล การตรวจสอบ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2523หากพ้นกำหนดไม่ไปพบ เจ้าพนักงานจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไปข.มีหนังสือ ถึงสรรพากรเขต 8 ตอบไปว่า ไปพบไม่ได้เพราะติดนัดกับ แพทย์ และยืนยัน ข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้กับ เจ้าพนักงานประเมินแล้วนั้น ต่อมาสรรพากรเขต 8 ได้มี หนังสือถึง ข. ว่าคำชี้แจงและเหตุผลของ ข. ยังไม่อาจหา ข้อยุติได้ ให้ ข. ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อชี้แจงด้วยตนเองในวันที่ 27 มิถุนายน 2523ถ้าไม่ไปพบจะ ดำเนินการตามทางแห่งกฎหมายต่อไป ข. ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน ในวันดังกล่าว ดังนี้ แม้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ไป เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินใน วันที่ 9 และ 27 มิถุนายน2523 ก็ถือได้ว่าเป็นการประเมินแก้จำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัย พยานหลักฐานที่ปรากฏตาม มาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 21 เพราะหนังสือทั้งสอง ฉบับดังกล่าวมิใช่หมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือ คำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง ตาม มาตรา 19โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ จำเลย ชอบที่จะต้องรับอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีต้องกระทำ ณ สถานการค้า การฝ่าฝืนถือเป็นเหตุไม่อาจอ้างเหตุสุดวิสัยได้
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติว่า สถานการค้าหมายความว่าสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการค้าใช้ประกอบการค้าเป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย โจทก์ประกอบการค้าและเก็บสินค้าไว้ที่สำนักงานห้างโจทก์ เพียงแต่เก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่บ้านเลขที่ 137 เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 137 เป็นสถานการค้าหรือส่วนหนึ่งของสถานการค้าของโจทก์
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานการค้าของตน แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยนำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่อื่นอันมิใช่สถานการค้าของโจทก์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้สมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำก็ตาม โจทก์ย่อมอ้างเอาเหตุที่บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของโจทก์ถูกเพลิงไหม้อันสืบเนื่องมาจากที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2526)
of 20