คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่สถานการค้า การประเมินภาษีเมื่อบัญชีถูกทำลาย และความรับผิดจากความผิดตามกฎหมายภาษีอากร
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติว่า สถานการค้าหมายความว่าสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการค้าใช้ประกอบการค้าเป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย โจทก์ประกอบการค้าและเก็บสินค้าไว้ที่สำนักงานห้างโจทก์ เพียงแต่เก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่บ้านเลขที่ 137 เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 137 เป็นสถานการค้าหรือส่วนหนึ่งของสถานการค้าของโจทก์ โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ณสถานการค้าของตน แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยนำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่อื่นอันมิใช่สถานการค้าของโจทก์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้สมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำก็ตาม โจทก์ย่อมอ้างเอาเหตุที่บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของโจทก์ถูกเพลิงไหม้อันสืบเนื่องมาจากที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่2/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, การประเมินภาษี, สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้, การเฉลี่ยทรัพย์
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84, 85 ทวิกำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินตาม มาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้วการประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการเฉลี่ยทรัพย์: การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีค้างชำระ
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84,85 ทวิ กำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินตามมาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้ว การประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้ว จึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเอกสารสูญหายระหว่างถูกยึด เจ้าของภาษีไม่ต้องรับภาระ
โจทก์ไม่สามารถนำเอกสารตามหมายเรียกไปมอบให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนโดยมิใช่เพราะความผิดของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงไม่นำเอกสารมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71(1) และแม้โจทก์จะให้ความยินยอมในการประเมินดังกล่าวก็หาทำให้การประเมินซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็น การประเมินที่ชอบไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่มิชอบ เมื่อเอกสารสำคัญสูญหายจากการยึดของหน่วยงานอื่น โจทก์ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ไม่สามารถนำเอกสารตามหมายเรียกไปมอบให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนโดยมิใช่เพราะความผิดของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงไม่นำเอกสารมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ตามมาตรา 71(1) และแม้โจทก์จะให้ความยินยอมในการประเมิน ดังกล่าวก็หาทำให้การประเมินซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นการประเมินที่ชอบไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร และสิทธิในการโต้แย้งการประเมิน
หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ ประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินทั้งนี้โดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนและมิได้ให้ถ้อยคำชี้แจงประกอบการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกซึ่งออกตามมาตรา 19 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งเป็นคดีต่อศาล เพราะการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นอันยุติไปแล้ว คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่า โจทก์หาได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19 แต่อย่างใดไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรย่อมเป็นการไม่ชอบ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ได้ ในกรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่ยุติโดยโจทก์จำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ ชอบที่จะฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความก่อนพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยไม่ส่งมอบเอกสารและการโต้แย้งสิทธิโดยไม่ต้องอุทธรณ์
หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ ประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินทั้งนี้โดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนและมิได้ให้ถ้อยคำชี้แจงประกอบการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกซึ่งออกตามมาตรา 19 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งเป็นคดีต่อศาล เพราะการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นอันยุติไปแล้ว คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่า โจทก์หาได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19 แต่อย่างใดไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรย่อมเป็นการไม่ชอบโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ได้ ในกรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่ยุติโดยโจทก์จำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ ชอบที่จะฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความก่อนพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขการประเมินภาษีภายใน 5 ปี แม้จะมีการประเมินและชำระภาษีไปแล้ว ก็สามารถกระทำได้หากพบข้อผิดพลาด
การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานประเมินในคดีก่อนได้คิดจากยอดภาษีจำนวนหนึ่งที่ได้ประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(2)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ครั้งพิพาทนี้ได้คิดจากยอดเงินภาษีอีกจำนวนหนึ่ง.ซึ่งได้แก้การประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(1) โดยได้คิดหักเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระจากการประเมินครั้งแรกออกหมดแล้วฉะนั้น การคิดเงินเพิ่มภาษีในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นการคิดจากยอดเงินภาษีคนละจำนวนกัน ทั้งในคดีก่อนก็มีประเด็นวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์จะของดหรือลดเงินเพิ่มลงได้บ้างหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจากยอดเงินได้จำนวนเดียวกันโจทก์ควรต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ดังนี้ อำนาจในการคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้รายนี้จึงหาได้ยุติไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขการประเมินภาษีภายใน 5 ปี แม้จะมีการประเมินและชำระภาษีไปแล้ว หากพบข้อผิดพลาดในการแสดงรายการ
การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานประเมินในคดีก่อน ได้คิดจากยอดภาษีจำนวนหนึ่งที่ได้ประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(2)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ครั้งพิพาทนี้ได้คิดจากยอดเงินภาษีอีกจำนวนหนึ่ง.ซึ่งได้แก้การประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(1) โดยได้คิดหักเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระจากการประเมินครั้งแรกออกหมดแล้วฉะนั้น การคิดเงินเพิ่มภาษีในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นการคิดจากยอดเงินภาษีคนละจำนวนกัน ทั้งในคดีก่อนก็มีประเด็นวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์จะของดหรือลดเงินเพิ่มลงได้บ้างหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจากยอดเงินได้จำนวนเดียวกันโจทก์ควรต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ ดังนี้ อำนาจในการคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้รายนี้จึงหาได้ยุติไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต เจ้าพนักงานต้องแจ้งทายาท และการฟ้องขาดอายุความ
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
of 20