พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี แม้แจ้งประเมินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ กรมสรรพากรเจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,23มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 25,49 เท่านั้น ไม่ได้ทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ แม้แจ้งประเมินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สืบเนื่องมาจากลูกหนี้มีรายได้จากการขายบ้านและที่ดิน แต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2530 เบี้ยปรับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งลูกหนี้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2530 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย แม้เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อมูลหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย
การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 23 มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 25, 49 หาทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียกไม่
การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 23 มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 25, 49 หาทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: เจ้าหนี้ต้องแจ้งการประเมินให้ผู้รับผิดเสียภาษีทราบก่อน
กรมสรรพากรยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินซึ่งจะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 30 แห่ง ป. รัษฎากร เสียก่อน ดังนั้น แม้ว่าบริษัท ร. ซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนจะไม่ได้อุทธรณ์การประเมินรายนี้โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง และเป็นกรณีซึ่งจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างรายนี้หรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท ร. ในประเทศไทย ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 , 20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังผู้จัดการบริษัท ร. เท่านั้น ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร
แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท ร. ในประเทศไทย ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 , 20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังผู้จัดการบริษัท ร. เท่านั้น ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การประเมินภาษีที่ไม่แจ้งผู้รับผิดและขั้นตอนไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์มิใช่ขอให้เพิกถอนการประเมินที่จะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรและกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยเห็นว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่โจทก์ไม่ชำระจำเลยจึงได้ยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามอำนาจแต่โจทก์อ้างว่าไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรรายนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(2)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยนำข้อเท็จจริงจากการสอบถามคู่ความมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังนี้คำสั่งงดสืบพยานในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาปรากฎว่าจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ทั้งที่จำเลยมีเวลาโต้แย้งได้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างผู้กระทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในประเทศไทยเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19,20คงประเมินไปยังผู้จัดการสาขาบริษัทคนใหม่ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา76ทวิวรรคสามกรณียังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วนจำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5158/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรต้องออกหมายเรียกไต่สวนก่อนตามมาตรา 19 และ 20 มิฉะนั้นการประเมินไม่ชอบ
การประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา20จะต้องมีการออกหมายเรียกต่อผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตามมาตรา19ก่อนเจ้าพนักงานประเมินต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามมาตรา19และจะต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนในคราวเดียวกันแล้วจึงแจ้งการประเมินไป การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ทวิ(4)หรือมาตรา65ตรี(5)ก็เป็นการประเมินตามประมวลรัษฎากรต้องอยู่ในบังคับมาตรา19และ20เช่นเดียวกัน ปัญหาว่าการออกหมายเรียกประเมินภาษีอากรไม่ชอบนั้นโจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างในคำฟ้องแต่ก็มีประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบหรือไม่ทั้งปัญหาเรื่องการประเมินภาษีอากรโดยมิได้มีการออกหมายเรียกมาไต่สวนก่อนตามประมวลรัษฎากรมาตรา19เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบบัญชีคุมสินค้าเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล
บัญชีคุมสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 ทวิ เป็นบัญชีอื่นอันควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกหรือสั่งให้ผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนำมาแสดงหรือมอบอำนาจให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบไต่สวนได้ตามมาตรา 19
เมื่อโจทก์มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 ทวิ ในการทำบัญชีคุมสินค้า แต่โจทก์ไม่นำบัญชีคุมสินค้ามาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้บุคคลของโจทก์ได้ตามมาตรา 71 (1)
เมื่อโจทก์มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 ทวิ ในการทำบัญชีคุมสินค้า แต่โจทก์ไม่นำบัญชีคุมสินค้ามาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้บุคคลของโจทก์ได้ตามมาตรา 71 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้เท่านั้น
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏและแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน อีกทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19, 20
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีใหม่ ต้องมีเหตุผลความผิดพลาดจากการตรวจสอบครั้งแรก และไม่ซ้ำกับปีที่เคยตรวจสอบแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ แต่ก็จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ด้วย โดยจะต้องปรากฏว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้อง การออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2525ได้กำหนดว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้ว เว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้ว หรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงหามีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่ 2 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีซ้ำ ต้องมีเหตุผลทางกฎหมายหรือหลักฐานใหม่ที่มิได้ตรวจสอบไปก่อน
ประมวลรัษฎากรมาตรา19และมาตรา20บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้แต่ก็จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ด้วยโดยจะต้องปรากฏว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องการออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายอีกทั้งระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2525ได้กำหนดว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้วเว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้วหรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นดังนี้เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินจึงหามีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่2ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีครั้งที่ 2 ไม่ชอบเมื่อการตรวจสอบครั้งแรกครอบคลุมทุกประเด็นแล้ว
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19และมาตรา20บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้แต่ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้โดยจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องการออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายประกอบกับตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2525ข้อ7.3ที่ว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้วเว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้วหรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นก็ให้ขออนุมัติออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่ได้เฉพาะรายเมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องประการใดเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่2