คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: หลักฐานใบขนสินค้าขาออกของศุลกากรฮ่องกงมีน้ำหนักเพียงพอ แม้เป็นสำเนา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 หาใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ แต่เป็นระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นนั้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้นแต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม การที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนหรือหมายเรียกพยานหรือให้จำเลยหรือพยานนำบัญชีพยานหลักฐานมาแสดง ภายในกำหนด 5 ปี ก็หาทำให้การประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เอกสารสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผู้ส่งออกยื่นต่อศุลกากรเมืองฮ่องกงเป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับ เป็นเอกสารของทางราชการเมืองฮ่องกงซึ่งผู้ส่งสินค้าออกยื่นเอกสารดังกล่าวแจ้งการส่งออกต่อทางราชการเมืองฮ่องกง ว. รองกงสุลใหญ่ฝ่ายศุลกากรประจำเมืองฮ่องกงเป็นผู้ติดต่อขอรับเอกสารมาจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง ส่งมาให้กองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ซึ่งต้นฉบับอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกงแม้จะเป็นเอกสารลับของทางราชการเมืองฮ่องกงก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟัง ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นและเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบพยานบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5427/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และอายุความในการเรียกร้องค่าภาษี
โจทก์ฟ้องโดยบรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาสรุปได้ว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทนาฬิกาเข้ามาในราชอาณาจักร และจำเลยได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยสำแดงราคาสินค้าที่นำเข้า อากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลไว้ในเอกสารดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องโดยได้ระบุถึงประเภทของสินค้าที่นำเข้าและจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระด้วยแล้ว ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาแท้จริงของสินค้าที่จำเลยซื้อมาและต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด เป็นเหตุให้การชำระภาษีอากรไม่ครบถ้วนจึงประเมินราคาสินค้าใหม่และให้จำเลยเสียภาษีอากรเพิ่มเติมแต่จำเลยไม่ชำระ จึงฟ้องคดีขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีอากรดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วจึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนโจทก์ที่ 1 ทราบราคาสินค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อมาได้อย่างไร และในท้องตลาดที่ใด ราคาเท่าใดเปรียบเทียบราคาดังกล่าวจากเอกสารอะไรนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง เป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ได้ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม(มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีบุคคลต่างด้าว: เจ้าพนักงานต้องไต่สวนและแจ้งการประเมินก่อนฟ้องเรียกรับผิด
การที่จะเรียกให้ลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อรับผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคแรกนั้นเจ้าพนักงานประเมินจะต้องดำเนินการตาม มาตรา 19 และ 20ก่อน กล่าวคือ จะต้องเรียกบุคคลผู้ต้องรับผิดนั้นมาไต่สวนแล้วแจ้งจำนวนเงินที่จะประเมินไปยังบุคคลผู้ต้องรับผิด เพื่อที่บุคคลนั้นจะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามความใน มาตรา 76 ทวิวรรคสามก่อน มิฉะนั้นกรมสรรพากร โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องบุคคลนั้นให้รับผิดตาม มาตรา 76 ทวิ และย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันบุคคลนั้นให้ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: เจ้าพนักงานประเมินต้องไต่สวนและแจ้งการประเมินให้ผู้ถูกประเมินทราบก่อน จึงจะฟ้องร้องเรียกค่าภาษีได้
การที่จะให้ลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก นั้น เจ้าพนักงานประเมินจะต้องเรียกบุคคลผู้ต้องรับผิดมาไต่สวนแล้วแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยังบุคคลผู้ต้องรับผิด ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20ก่อน เพื่อที่บุคคลนั้นจะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามความในวรรคสาม เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียก ด. ไปไต่สวนและแจ้งการประเมินดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ด. ให้ต้องรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ และย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ด. ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดการประเมินภาษี ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ.ศาลภาษีอากร
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าในปี 2523 ถึง 2525 นั้น ปีภาษีใดเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจำนวนเท่าใด เงินเพิ่มภาษีอีกจำนวนเท่าใด เหตุใดโจทก์จึงต้องเสียเพิ่ม เพราะการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชีจากกำไรสุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีและเมื่อเจ้าพนักงานประเมินเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งการประเมินให้เสียภาษีตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ก็ต้องตรวจสอบไต่สวนและแจ้งการประเมินตามรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว หากผู้ต้องเสียภาษีเห็นว่าการประเมินในส่วนใดมิชอบ ก็มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่โจทก์กล่าวในฟ้องคลุมมาว่าเจ้าพนักงานประเมินแจ้ง ให้โจทก์นำเอกสารและบัญชีไปตรวจสอบแต่โจทก์ส่งให้ไม่ครบจึงแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีรวม3 ปีภาษีเป็นเงิน 954,783 บาท โดยมิได้แยกเป็นรายปีให้แจ้งชัดตามสภาพแห่งข้อหา คำขอท้ายฟ้องก็ระบุเพียงว่าขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้ระบุว่าเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่และลงวันที่เท่าใด เอกสารท้ายฟ้องที่จะแสดงถึงสภาพแห่งข้อหาและการประเมินรวมทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ไม่มี เป็นคำฟ้องที่ไม่แจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินเพิ่มเติมของศุลกากร, การส่งแจ้งประเมิน, และสิทธิลดหย่อนภาษี
หลังจากจำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระภาษีอากรครบถ้วนแล้ว ถ้าความปรากฏชัดแจ้งในภายหลังว่ารายการที่ยื่นเสียภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินของกรมศุลกากรมีอำนาจประเมินเพิ่มเติมได้ โดยไม่จำต้องดำเนินการ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19และ 20
ภาษีการค้าส่วนที่ประเมินเพิ่ม จำเลยไม่ได้ชำระหรือวางเงินเป็นประกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78เอกาทศ
เมื่อได้แจ้งการประเมินทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า และผู้ที่อยู่ในสำนักงานดังกล่าวซึ่งมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยเป็นผู้รับแทนก็ตาม ถือว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการแจ้งการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีราคาสินค้าที่สำแดงไม่ถูกต้อง
หลังจากจำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระภาษีอากรครบถ้วนแล้ว ถ้าความปรากฏชัดแจ้งในภายหลังว่ารายการที่ยื่นเสียภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินของกรมศุลกากรมีอำนาจประเมินเพิ่มเติมได้โดยไม่จำต้องดำเนินการ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 20 ภาษีการค้าส่วนที่ประเมินเพิ่ม จำเลยไม่ได้ชำระหรือวางเงินเป็นประกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 เอกาทศ เมื่อได้แจ้งการประเมินทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้าและผู้ที่อยู่ในสำนักงานดังกล่าวซึ่งมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยเป็นผู้รับแทนก็ตาม ถือว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 8 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การหักรายจ่ายสินค้าคงเหลือ, แผนกท่องเที่ยว, ดอกเบี้ยเงินกู้ และการจำแนกเงินได้ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินส่วนที่นำเข้าฝากในบัญชีสมทบทุนเป็นเงินที่หักจากเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน อันบริษัทโจทก์ได้จ่ายให้พนักงานแล้วเพียงแต่ให้สิทธิโจทก์หักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามระเบียบที่กำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่พนักงานเมื่อออกจากงานเท่านั้นเงินเดือนที่โจทก์จ่ายให้พนักงานแต่ละคน รวมทั้งเงินที่ถูกหักเข้ากองทุนในบัญชีสมทบทุนนี้เป็นรายจ่ายในหมวดเงินเดือนของโจทก์อันนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ได้โดยโจทก์ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนทั้งหมดของพนักงานไว้ตามมาตรา 50 แล้วนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอตามมาตรา 52 จึงเป็นเงินที่จ่ายขาดจากโจทก์แล้ว เงินส่วนที่หักจากเงินเดือนนำฝากเข้าบัญชีสมทบทุนนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงานนับแต่นั้น ดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินฝากนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงาน หาใช่เงินได้ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่โจทก์นำสืบเป็นเพียงวิธีการในการคำนวณราคาสินค้าอย่างกว้าง ๆ โดยไม่มีรายละเอียดว่าเป็นสินค้าอะไรบ้างที่โจทก์ได้คำนวณตามราคาตลาดอันเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาทุน ทั้งโจทก์ได้วางแนวทางให้ปฏิบัติในการบันทึกรายการสินค้าคงเหลือโดยอาศัยระยะเวลาที่ได้รับสินค้ามาครอบครองไว้เป็นเกณฑ์ซึ่งปรากฏว่าตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคา และการตัดบัญชีดังกล่าวมีแนวปฏิบัติ เช่น สินค้าที่เสียง่ายหากคงเหลือถึง 18 เดือนจะตัดค่าเสื่อมราคาลงร้อยละ 50หากคงเหลือถึง 2 ปี จะตัดออกจากบัญชีหมดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการตัดค่าเสื่อมราคาสินค้าคงเหลือ มิใช่เป็นการคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่แท้จริงตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(6) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำมามอบให้แล้วแจ้งประเมินภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการประเมินที่ชอบหากโจทก์มีข้อโต้แย้งในรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารอย่างไรชอบที่โจทก์จะชี้แจงให้เจ้าพนักงานประเมินทราบหรืออุทธรณ์การประเมินไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือนำสืบในชั้นศาลได้ เหตุดังกล่าวหาทำให้การประเมินเป็นไปโดยมิชอบไม่ โจทก์คำนวณราคาสินค้าคงเหลือโดยการกำหนดกฎเกณฑ์เอาเองตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชี อันมิใช่ราคาตลาดเพื่อให้ต่ำกว่าราคาทุน เป็นเหตุให้มีรายรับน้อยลงและทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงไปด้วย มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในตัวส่วนรายจ่ายในแผนกท่องเที่ยว โจทก์ทำใบสำคัญการจ่ายขึ้นเองแล้วเอาอากรแสตมป์มาปิด โดยไม่มีรายละเอียดถึงเหตุที่ต้องจ่ายเงินว่าเป็นการจ่ายเพื่อกิจการอย่างไร ชื่อที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่ชัดแจ้ง มีพฤติการณ์ว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีไม่มีเหตุสมควรงดหรืองดเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย: การประเมินค่าประโยชน์ที่ได้รับจากนายจ้าง และการคำนวณเงินเพิ่ม
ค่าจ้างคนทำสวน ค่าซักล้างทำความสะอาดพรม ค่าซักผ้าม่านค่าทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ค่าผงคลอรีน สำหรับใส่สระว่ายน้ำค่าผงซักฟอก ค่ากำจัดปลวก ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อบำรุงรักษาทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นประโยชน์ที่เกิดแก่ตัวทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่ประโยชน์ที่พนักงานของโจทก์ได้รับโดยตรงที่โจทก์จะต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่ายนำส่งแก่จำเลยไม่ ตามรายการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานโจทก์ที่เจ้าพนักงานประเมินแสดงไว้ได้คำนวณโดยรวมเอาประโยชน์จากที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มจากการได้ใช้ไฟฟ้าแก๊ส และน้ำประปาทั้งหมดไว้ในรายได้ของพนักงานโจทก์แต่ละคนแล้วจึงคำนวณภาษี หลังจากนั้นได้นำค่าภาษีที่ พนักงานโจทก์แต่ละคนได้ชำระไว้แล้วหักออก เหลือเท่าใดถือเป็นจำนวนภาษีที่พนักงานโจทก์ชำระขาด และคำนวณเงินเพิ่มจากยอดเงินดังกล่าว ดังนี้ เห็นได้ว่ายอดเงินค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาที่พนักงานของโจทก์นำไปแสดงเป็นเงินได้บางส่วนและได้ชำระภาษีไว้แล้วนั้น เจ้าพนักงานประเมินได้คิดคำนวณหักให้ถูกต้องแล้ว ไม่ได้คิดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าการประเมินค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมในการที่พนักงานโจทก์ร่วมประชุมของจำเลยไม่ถูกต้อง ทำให้การคำนวณภาษีผิดพลาดในจำนวนเท่าใดควรแก้ไขให้ลดลงเหลือเท่าใด ค่าสมาชิกสโมสรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของพนักงาน ข้อตกลงการจ้างก็เพียงแต่โจทก์ตกลงว่าจะจ่ายค่าสมาชิกสโมสรให้แก่พนักงานดังกล่าวเท่านั้น เป็นการให้ประโยชน์แก่พนักงาน โดยตรง หาใช่โจทก์มีข้อบังคับว่าพนักงานตำแหน่งใดจะต้อง เป็นสมาชิกสโมสรใดเพื่อกระทำกิจกรรมใดในสโมสรให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ไม่ ตามทางนำสืบก็ไม่ปรากฏว่า การที่พนักงานของโจทก์เป็นสมาชิกสโมสรก่อประโยชน์โดยตรงแก่โจทก์อย่างไรจึงเป็นประโยชน์ส่วนตัวของพนักงาน ค่าสมาชิกสโมสรที่โจทก์จ่ายแทนให้แก่พนักงานจึงเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มถือเป็นเงินได้ของพนักงาน ค่าบังกะโลพัทยาเกิดจากการที่โจทก์จัดสวัสดิการบังกะโลที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ได้ใช้พักผ่อนในวันหยุดดังนี้ค่าจ้างในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบังกะโลนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้ได้รับ ส่วนค่าไม้กวาดและผงซักฟอกอันเป็น ของใช้ที่นำมาใช้ในการรักษาความสะอาดบังกะโลนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวทรัพย์ คือ บังกะโล หาใช่ประโยชน์โดยตรงที่พนักงานโจทก์ได้รับไม่ จึงไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มอีก ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ได้กำหนดชนิดของเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกออกจากกัน ฉะนั้นในกรณีที่พนักงานโจทก์ได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าแก๊สที่พนักงานโจทก์ได้ใช้สิ้นเปลืองไปนั้น ประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา และแก๊ส ที่โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินให้นี้ เป็นประโยชน์ชนิดหนึ่งต่างจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์จัดให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าถือว่าค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำประปาเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้นมิใช่กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน จำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีภายหลัง 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการไว้แล้วจึงกระทำได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พ้นกำหนด5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการไว้จึงเป็นการไม่ชอบมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนเนื่องจากพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการ ทั้งมิได้อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยขาดอายุความแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและทำการประเมินเพราะพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการแล้วหรือไม่ และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เงินเพิ่มตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้เป็นอัตราแน่นอนมิได้ยกเว้นให้ อาจงดเก็บเสียได้ ส่วนกรณีที่จะลดเงินเพิ่มได้จะต้องเป็นกรณีตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27(1)(2) บัญญัติไว้คือ ถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่ง ได้นำเงินมาชำระโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 5แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น หรือถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือแล้วแต่ได้นำเงินมาชำระภายในสิบวันนับแต่วันได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้นข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมาย ได้บัญญัติไว้ดังกล่าว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ประโยชน์ที่ได้รับจากการจ้างงาน, ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สิน, และการประเมินภาษีเกินกำหนด
ค่าจ้างคนทำสวน ค่าซักล้างทำความสะอาดพรม ค่าซักผ้าม่านค่าทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ค่าผงคลอรีนสำหรับใส่สระว่ายน้ำ ค่าผงซักฟอกค่ากำจัดปลวก ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อบำรุงรักษาทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นประโยชน์ที่เกิดแก่ตัวทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่ประโยชน์ที่พนักงานของโจทก์ได้รับโดยตรงที่โจทก์จะต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่ายนำส่งแก่จำเลยไม่
ตามรายการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานโจทก์ที่เจ้าพนักงานประเมินแสดงไว้ได้คำนวณโดยรวมเอาประโยชน์จากที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มจากการได้ใช้ไฟฟ้า แก๊ส และน้ำประปาทั้งหมดไว้ในรายได้ของพนักงานโจทก์แต่ละคนแล้วจึงคำนวณภาษี หลังจากนั้นได้นำค่าภาษีที่พนักงานโจทก์แต่ละคนได้ชำระไว้แล้วหักออก เหลือเท่าใดถือเป็นจำนวนภาษีที่พนักงานโจทก์ชำระขาด และคำนวณเงินเพิ่มจากยอดเงินดังกล่าว ดังนี้ เห็นได้ว่ายอดเงินค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาที่พนักงานของโจทก์นำไปแสดงเป็นเงินได้บางส่วนและได้ชำระภาษีไว้แล้วนั้น เจ้าพนักงานประเมินได้คิดคำนวณหักให้ถูกต้องแล้ว ไม่ได้คิดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าการประเมินค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมในการที่พนักงานโจทก์ร่วมประชุมของจำเลยไม่ถูกต้อง ทำให้การคำนวณภาษีผิดพลาดในจำนวนเท่าใด ควรแก้ไขให้ลดลงเหลือเท่าใด
ค่าสมาชิกสโมสรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของพนักงาน ข้อตกลงการจ้างก็เพียงแต่โจทก์ตกลงว่าจะจ่ายค่าสมาชิกสโมสรให้แก่พนักงานดังกล่าวเท่านั้น เป็นการให้ประโยชน์แก่พนักงานโดยตรง หาใช่โจทก์มีข้อบังคับว่าพนักงานตำแหน่งใดจะต้องเป็นสมาชิกสโมสรใดเพื่อกระทำกิจกรรมใดในสโมสรให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ไม่ ตามทางนำสืบก็ไม่ปรากฏว่า การที่พนักงานของโจทก์เป็นสมาชิกสโมสรก่อประโยชน์โดยตรงแก่โจทก์อย่างไร จึงเป็นประโยชน์ส่วนตัวของพนักงาน ค่าสมาชิกสโมสรที่โจทก์จ่ายแทนให้แก่พนักงานจึงเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มถือเป็นเงินได้ของพนักงาน
ค่าบังกะโลพัทยาเกิดจากการที่โจทก์จัดสวัสดิการบังกะโลที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ได้ใช้พักผ่อนในวันหยุด ดังนี้ค่าจ้างในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบังกะโลนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้ได้รับ ส่วนค่าไม้กวาดและผงซักฟอกอันเป็นของใช้ที่นำมาใช้ในการรักษาทำความสะอาดบังกะโลนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวทรัพย์ คือ บังกะโล หาใช่ประโยชน์โดยตรงที่พนักงานโจทก์ได้รับไม่ จึงไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มอีก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) ได้กำหนดชนิดของเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกออกจากกัน ฉะนั้นในกรณีที่พนักงานโจทก์ได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าแก๊สที่พนักงานโจทก์ได้ใช้สิ้นเปลืองไปนั้น ประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา และแก๊ส ที่โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินให้นี้ เป็นประโยชน์ชนิดหนึ่งต่างจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์จัดให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า ถือว่าค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำประปาเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้นมิใช่กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน จำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีภายหลัง 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการไว้แล้วจึงกระทำได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการไว้จึงเป็นการไม่ชอบ มิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนเนื่องจากพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการ ทั้งมิได้อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยขาดอายุความแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและทำการประเมินเพราะพ้นกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการแล้วหรือไม่ และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เงินเพิ่มตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้เป็นอัตราแน่นอนมิได้ยกเว้นให้ อาจงดเก็บเสียได้ ส่วนกรณีที่จะลดเงินเพิ่มได้จะต้องเป็นกรณีตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27 (1) (2) บัญญัติไว้คือ ถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้นำเงินมาชำระโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 5 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น หรือถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือแล้วแต่ได้นำเงินมาชำระภายในสิบวันนับแต่วันได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ดังกล่าว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่ม
of 20