พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีโดยไม่เปิดเผยเหตุแห่งการปฏิเสธ และการรับฟังพยานหลักฐานจากหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่มิได้ปิดอากรแสตมป์
คำให้การจำเลยที่ปฏิเสธเพียงว่า บ.ไม่ได้กู้เงินโจทก์หนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โดยไม่ได้อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่า เหตุใด บ.จึงไม่ได้กู้เงินโจทก์ และหนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์อย่างไร จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานตามข้อต่อสู้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาแต่ต่อมาได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จะโดยผู้อ้างปิดอากรแสตมป์เองหรือผู้อ้างขอให้ศาลสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการให้ ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลรับฟังหนังสือสัญญากู้ยืมเงินนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีได้.
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาแต่ต่อมาได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จะโดยผู้อ้างปิดอากรแสตมป์เองหรือผู้อ้างขอให้ศาลสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการให้ ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลรับฟังหนังสือสัญญากู้ยืมเงินนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศประกอบกิจการในไทย การจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ และอากรแสตมป์
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกาและมีสาขาที่กรุงเทพดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฏากรมาตรา 76ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆเมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีของบริษัทต่างชาติมีสาขาในไทย: ดอกเบี้ยเงินกู้, การจำหน่ายกำไร, และอากรแสตมป์
โจทก์ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกา และมีสาขาที่กรุงเทพ ดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินทดรองและชำระหนี้ รวมถึงเงินกู้ ต้องปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีแบบพิมพ์หรือกรรมการเซ็น
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใดๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้ว แม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้ง เงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจทก์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้ เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้นโจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ ในการรับชำระเงินคืนบริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและ ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้ง เงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจทก์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้ เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้นโจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ ในการรับชำระเงินคืนบริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและ ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินที่มิได้มีแบบพิมพ์และไม่มีลายมือชื่อกรรมการ ถือเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร ต้องปิดอากรแสตมป์
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้วแม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้งเงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจกท์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้น โจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับรองดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 25 ฒ.
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ในการรับชำระเงินคืน บริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้งเงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจกท์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้น โจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับรองดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 25 ฒ.
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ในการรับชำระเงินคืน บริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินชั่วคราวและการส่งมอบเงินให้เจ้าของสิทธิ: จำเลยไม่ต้องรับผิดอากร หากมีการออกใบรับเงินตัวจริงและปิดอากรถูกต้อง
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้ออกใบรับในการรับเงินไว้มีข้อความว่า "ใบรับเงินชั่วคราว วันที่ 28 ตุลาคม 2507 ข้าพเจ้านายจิง แซ่โค้ว(จำเลย)ผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตท สามแยก กรุงเทพฯ ได้รับเงินที่นำมาลงทุนซื้อยาเบอร์เล่ย์เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 959,890 บาท 10 สตางค์ คืนจากกรรมการผู้จัดการบริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์ จำกัดไว้เป็นที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้วส่วนใบรับตัวจริงจะส่งมาให้ภายหลัง ลงชื่อนายจิงแซ่โค้วผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตท" เป็นแต่เพียงเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้รับเงินลงทุนซื้อยาของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทคืนมาจากบริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์ จำกัด ไว้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทเป็นการชั่วคราว จำเลยมิได้รับเงินไว้เป็นของตนเอง เมื่อจำเลยเอาเงินรายนี้ไปส่งมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทซึ่งเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริงแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้ออกใบรับเงินตัวจริงส่งมาให้บริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์จำกัดอีกฉบับหนึ่งใน3 วันต่อมาและได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ส่งมอบเงินที่รับแทนมาเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทผู้รับเงินแท้จริงไม่ได้ปฏิบัติการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากร จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินอากรและเงินเพิ่มอากรสำหรับใบรับเงินชั่วคราวอีก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2765/2515) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินชั่วคราวและการชำระอากร: ผู้รับแทนเงินไม่ต้องรับผิดหากส่งมอบเงินให้เจ้าของเงินและมีการชำระอากรถูกต้อง
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้ออกใบรับในการรับเงินไว้มีข้อความว่า "ใบรับเงินชั่วคราววันที่ 28 ตุลาคม 2507 ข้าพเจ้านายจิง แซ่โค้ว (จำเลย)ผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตท สามแยก กรุงเทพฯได้รับเงินที่นำมาลงทุนซื้อยาเบอร์เล่ย์เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น959,890 บาท 10 สตางค์ คืนจากกรรมการผู้จัดการบริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์ จำกัดไว้เป็นที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้วส่วนใบรับตัวจริงจะส่งมาให้ภายหลัง ลงชื่อนายจิง แซ่โค้วผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตท" เป็นแต่เพียงเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้รับเงินลงทุนซื้อยาของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทคืนมาจากบริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์ จำกัด ไว้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทเป็นการชั่วคราว จำเลยมิได้รับเงินไว้เป็นของตนเอง เมื่อจำเลยเอาเงินรายนี้ไปส่งมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทซึ่งเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริงแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้ออกใบรับเงินตัวจริงส่งมาให้บริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์จำกัดอีกฉบับหนึ่งใน3 วันต่อมาและได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ส่งมอบเงินที่รับแทนมาเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทผู้รับเงินแท้จริงไม่ได้ปฏิบัติการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากร จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินอากรและเงินเพิ่มอากรสำหรับใบรับเงินชั่วคราวอีก (อ้างคำพิพากษาฎีกา ที่ 1765/2515) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมอบอำนาจทำไม้และการเสียอากรแสตมป์ แม้ พ.ร.บ.ป่าไม้ไม่อนุญาต แต่เอกสารยังคงเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากร
พวกสมาชิกนิคมฯ ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ความว่า ตามที่ได้รับอนุญาตให้ทำฟืนเพื่อการรถไฟฯ นั้นพวกสมาชิกนิคมฯ ได้ตกลงมอบให้บริษัทธนากรเป็นผู้จัดดำเนินการทำฟืนรายนี้ทั้งหมดเพื่อส่งให้แก่การรถไฟฯ เพราะสมาชิกมีกิจจำเป็น ฉะนั้น เพื่อความสะดวกจึงขอมอบให้นายใหญ่ผู้จัดการบริษัทธนากรทำการตัดฟืน ชักลาก ขนส่ง ให้แก่การรถไฟฯตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และระเบียบของการรถไฟฯ (สมาชิกทุกคนลงชื่อท้ายเอกสาร)เอกสารที่มีข้อความเช่นนี้เป็นตราสารใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากร
เมื่อเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จะเปิดช่องให้มอบอำนาจกันได้หรือไม่ก็ตามก็ไม่ทำให้เอกสารดังกล่าวนั้นไม่เป็นใบมอบอำนาจหน้าที่ของผู้เสียอากรสำหรับใบมอบอำนาจยังคงมีอยู่ตามเดิม
เมื่อเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จะเปิดช่องให้มอบอำนาจกันได้หรือไม่ก็ตามก็ไม่ทำให้เอกสารดังกล่าวนั้นไม่เป็นใบมอบอำนาจหน้าที่ของผู้เสียอากรสำหรับใบมอบอำนาจยังคงมีอยู่ตามเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจทำฟืนให้การรถไฟฯ ถือเป็นตราสารตามประมวลรัษฎากร แม้ พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ไม่ได้เปิดช่อง
พวกสมาชิกนิคมฯ ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ความว่า ตามที่ได้รับอนุญาตให้ทำฟืนเพื่อการรถไฟฯ นั้น พวกสมาชิกนิคมฯ ได้ตกลงมอบให้บริษัทธนากรเป็นผู้จัดดำเนินการทำฟืนรายนี้ทั้งหมดเพื่อส่งให้แก่การรถไฟฯ เพราะสมาชิกมีกิจจำเป็น ฉะนั้น เพื่อความสะดวกจึงขอมอบให้นายใหญ่ผู้จัดการบริษัทธนากรทำการตัดฟืน ชักลาก ขนส่ง ให้แก่การรถไฟฯ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และระเบียบของการรถไฟฯ (สมาชิกทุกคนลงชื่อท้ายเอกสาร) เอกสารที่มีข้อความเช่นนี้เป็นตราสารใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากร
เมื่อเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จะเปิดช่องให้มอบอำนาจกันได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้เอกสารดังกล่าวนั้น ไม่เป็นใบมอบอำนาจหน้าที่ของผู้เสียอากรสำหรับใบมอบอำนาจยังคงมีอยู่ตามเดิม
เมื่อเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จะเปิดช่องให้มอบอำนาจกันได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้เอกสารดังกล่าวนั้น ไม่เป็นใบมอบอำนาจหน้าที่ของผู้เสียอากรสำหรับใบมอบอำนาจยังคงมีอยู่ตามเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบมอบอำนาจที่ปิดอากรไม่สมบูรณ์ภายหลัง ใช้เป็นหลักฐานได้ ไม่ต้องเสียค่าเพิ่มอากร
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนซึ่งไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์มาแต่แรกนั้น เมื่อได้มีการปิดอากรในชั้นพิจารณาครบถ้วนเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จก่อนสืบพยานจำเลยแล้ว ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ การรับผิดเสียอากรเพิ่มตามมาตรา 113, 114 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นส่วนหนึ่งต่างหากกับการปิดอากรตามปกติ
(อ้างฎีกาที่ 184/2495)
(อ้างฎีกาที่ 184/2495)