พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์ไม่ใช่ภาษีอากรประเมิน พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก และการประเมินถูกต้องตามกฎหมาย
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 14 บัญญัติว่า "ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากรประเมิน" และมาตรา 15 บัญญัติว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับแก่การภาษีอากรประเมินทุกประเภท" แต่ในหมวด 6 มิได้ระบุว่า อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรประเมินและไม่มีบทบัญญัติว่าไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น อากรแสตมป์จึงไม่ใช่ภาษีอากรประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 19 ประกอบกับมาตรา 123 กำหนดเพียงว่า เมื่อมีเหตุสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจมีอำนาจเข้าทำการตรวจค้นสถานที่เพื่อทำการตรวจสอบ กับมีอำนาจเรียกและยึดเอกสาร และออกหมายเรียกตัวผู้มีหน้าที่เสียอากร ผู้ทรงตราสาร หรือผู้ถือ เอาประโยชน์แห่งตราสารและพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาไต่สวนได้ บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่ใช่บทบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจต้องใช้อำนาจออกหมายเรียกเสมอไป แต่เป็นดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจว่ามีเหตุสมควรที่จะใช้อำนาจในการออกหมายเรียกตามมาตราดังกล่าวหรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์จึงมีอำนาจเรียกเก็บอากรแสตมป์ได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนก่อน
เมื่ออากรแสตมป์ไม่ใช่ภาษีอากรประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 18 ตรี ที่กำหนดให้เวลาในการชำระเงินไม่น้อยกว่า 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ประกอบกับการเรียกเก็บอากรแสตมป์ดังกล่าวสืบเนื่องจากการกล่าวหาของกรมที่ดิน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 114 และ 115 และตามมาตราดังกล่าวไม่ได้บัญญัติระยะเวลาชำระอากรไว้ดังเช่นมาตรา 18 ตรี การที่หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรให้เวลาชำระเงินภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จึงชอบแล้ว และเป็นคนละกรณีกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำสั่งให้เรียกเก็บอากรแสตมป์ ซึ่งมาตรา 115 วรรคสอง กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โจทก์จึงยังคงมีระยะเวลาในการอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรตามมาตรา 30 ประกอบมาตรา 115 วรรคสอง
โจทก์มุ่งประสงค์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านให้แก่ ก. และ ก.ชำระราคาให้แก่โจทก์ อันเป็นเจตนาของคู่สัญญาในการตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน ต่อมา ก. ได้นำหนังสือมอบอำนาจของโจทก์พร้อมหนังสือยินยอมของ ว. ไปดำเนินการจดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมบ้านแก่ ก. โดยความรู้เห็นของโจทก์ และโจทก์ก็ได้รับชำระราคาจาก ก. หนังสือสัญญาให้ที่ดินพร้อมบ้านจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้าน และโจทก์จะได้รับชำระราคาจาก ก. หนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวซึ่งได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นตราสารใบรับที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 28 (ข)
เมื่ออากรแสตมป์ไม่ใช่ภาษีอากรประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 18 ตรี ที่กำหนดให้เวลาในการชำระเงินไม่น้อยกว่า 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ประกอบกับการเรียกเก็บอากรแสตมป์ดังกล่าวสืบเนื่องจากการกล่าวหาของกรมที่ดิน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 114 และ 115 และตามมาตราดังกล่าวไม่ได้บัญญัติระยะเวลาชำระอากรไว้ดังเช่นมาตรา 18 ตรี การที่หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรให้เวลาชำระเงินภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จึงชอบแล้ว และเป็นคนละกรณีกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำสั่งให้เรียกเก็บอากรแสตมป์ ซึ่งมาตรา 115 วรรคสอง กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โจทก์จึงยังคงมีระยะเวลาในการอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรตามมาตรา 30 ประกอบมาตรา 115 วรรคสอง
โจทก์มุ่งประสงค์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านให้แก่ ก. และ ก.ชำระราคาให้แก่โจทก์ อันเป็นเจตนาของคู่สัญญาในการตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน ต่อมา ก. ได้นำหนังสือมอบอำนาจของโจทก์พร้อมหนังสือยินยอมของ ว. ไปดำเนินการจดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมบ้านแก่ ก. โดยความรู้เห็นของโจทก์ และโจทก์ก็ได้รับชำระราคาจาก ก. หนังสือสัญญาให้ที่ดินพร้อมบ้านจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้าน และโจทก์จะได้รับชำระราคาจาก ก. หนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวซึ่งได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นตราสารใบรับที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 28 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยมิชอบ เจ้าพนักงานประเมินต้องออกหมายเรียก หรือสั่งให้นำหลักฐานมาแสดงก่อน จึงจะประเมินได้ ผู้เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์
ถ้าภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรได้ ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุ อันควรเชื่อว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรแสดงรายการไม่ถูกต้องตาม ความจริง หรือไม่บริบูรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกระทำได้2 ประการคือ ประการ ที่หนึ่ง เรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนรวมทั้งเรียกพยานบุคคล มาสอบคำให้การ กับประการที่สอง สั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานบุคคลนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่อง มาแสดงการใช้อำนาจประการที่หนึ่ง เจ้าพนักงานประเมิน จะต้องออกหมายเรียกส่วนการใช้อำนาจ ประการที่สองเพียงแต่ทำเป็นคำสั่ง โจทก์เป็นนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนจำกัด มี ข. เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและได้ชำระเงินภาษีสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2520 ไว้แล้ว ต่อมา เจ้าพนักงานประเมินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 19 และ 123 แห่งประมวลรัษฎากร ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ ไปให้ถ้อยคำประกอบการไต่สวน และส่งมอบบัญชีที่จะต้อง ทำและเอกสารอื่นอันควรแก่เรื่อง สำหรับระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2521 เพื่อตรวจสอบ ข. ได้นำสมุดบัญชีและ เอกสารดังกล่าวไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยตลอดจนให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินตามนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณผลผลิตของโจทก์ตามคำให้การของ ข. แล้วเห็นว่าโจทก์ ได้ผลผลิตมากกว่าที่ลงในบัญชี เจ้าพนักงานประเมินจึง มีหนังสือถึง ข.แจ้งว่าการตรวจสอบได้เสร็จสิ้นแล้ว มี กรณีจะต้องไต่สวน ข.บางประการ ขอให้ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน ในวันที่ 3 มีนาคม 2523แต่ปรากฏว่าในวันนั้นมิได้ มีการสอบคำให้การ ข. ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือเตือน ให้ ข. ไปพบในวันที่ 12 พฤษภาคม 2523 ข. ได้ไปให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินในวันนั้น ต่อมา สรรพากรเขต 8 มีหนังสือเชิญให้ข.ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อรับทราบผล การตรวจสอบ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2523 หากพ้นกำหนดไม่ไปพบ เจ้าพนักงานจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ข.มีหนังสือ ถึงสรรพากรเขต 8 ตอบไปว่า ไปพบไม่ได้เพราะติดนัดกับ แพทย์ และยืนยัน ข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้กับ เจ้าพนักงานประเมินแล้วนั้น ต่อมาสรรพากรเขต 8 ได้มี หนังสือถึง ข. ว่าคำชี้แจงและเหตุผลของ ข. ยังไม่อาจหา ข้อยุติได้ ให้ ข. ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อชี้แจงด้วยตนเองในวันที่ 27 มิถุนายน 2523 ถ้าไม่ไปพบจะ ดำเนินการตามทางแห่งกฎหมายต่อไป ข. ไม่ไปพบ เจ้าพนักงานประเมิน ในวันดังกล่าว ดังนี้ แม้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ไป เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินใน วันที่ 9 และ 27 มิถุนายน 2523 ก็ถือได้ว่าเป็นการประเมินแก้จำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัย พยานหลักฐานที่ปรากฏตาม มาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 21 เพราะหนังสือทั้งสอง ฉบับดังกล่าวมิใช่หมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือ คำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง ตาม มาตรา 19 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ จำเลย ชอบที่จะต้องรับอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 20 มิใช่มาตรา 21 ผู้เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์
ถ้าภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรได้ ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกระทำได้2 ประการคือ ประการ ที่หนึ่ง เรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนรวมทั้งเรียกพยานบุคคล มาสอบคำให้การ กับประการที่สอง สั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานบุคคลนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง การใช้อำนาจประการที่หนึ่ง เจ้าพนักงานประเมินจะต้องออกหมายเรียกส่วนการใช้อำนาจ ประการที่สองเพียงแต่ทำเป็นคำสั่ง
โจทก์เป็นนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนจำกัด มี ข. เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและได้ชำระเงินภาษีสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2520 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 19 และ 123แห่งประมวลรัษฎากร ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปให้ถ้อยคำประกอบการไต่สวน และส่งมอบบัญชีที่จะต้อง ทำและเอกสารอื่นอันควรแก่เรื่อง สำหรับระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2521เพื่อตรวจสอบ ข. ได้นำสมุดบัญชีและ เอกสารดังกล่าวไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยตลอดจนให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินตามนั้นแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณผลผลิตของโจทก์ตามคำให้การของ ข. แล้วเห็นว่าโจทก์ ได้ผลผลิตมากกว่าที่ลงในบัญชี เจ้าพนักงานประเมินจึง มีหนังสือถึง ข.แจ้งว่าการตรวจสอบได้เสร็จสิ้นแล้วมี กรณีจะต้องไต่สวน ข.บางประการ ขอให้ไปพบเจ้าพนักงานประเมินในวันที่ 3 มีนาคม 2523แต่ปรากฏว่าในวันนั้นมิได้ มีการสอบคำให้การ ข.ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือเตือน ให้ ข. ไปพบในวันที่ 12พฤษภาคม 2523 ข. ได้ไปให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินในวันนั้นต่อมา สรรพากรเขต 8 มีหนังสือเชิญให้ข.ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อรับทราบผล การตรวจสอบ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2523หากพ้นกำหนดไม่ไปพบ เจ้าพนักงานจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไปข.มีหนังสือ ถึงสรรพากรเขต 8 ตอบไปว่า ไปพบไม่ได้เพราะติดนัดกับ แพทย์ และยืนยัน ข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้กับ เจ้าพนักงานประเมินแล้วนั้น ต่อมาสรรพากรเขต 8 ได้มี หนังสือถึง ข. ว่าคำชี้แจงและเหตุผลของ ข. ยังไม่อาจหา ข้อยุติได้ ให้ ข. ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อชี้แจงด้วยตนเองในวันที่ 27 มิถุนายน 2523ถ้าไม่ไปพบจะ ดำเนินการตามทางแห่งกฎหมายต่อไป ข. ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน ในวันดังกล่าว ดังนี้ แม้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ไป เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินใน วันที่ 9 และ 27 มิถุนายน2523 ก็ถือได้ว่าเป็นการประเมินแก้จำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัย พยานหลักฐานที่ปรากฏตาม มาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 21 เพราะหนังสือทั้งสอง ฉบับดังกล่าวมิใช่หมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือ คำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง ตาม มาตรา 19โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ จำเลย ชอบที่จะต้องรับอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไว้พิจารณา
โจทก์เป็นนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนจำกัด มี ข. เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและได้ชำระเงินภาษีสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2520 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 19 และ 123แห่งประมวลรัษฎากร ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปให้ถ้อยคำประกอบการไต่สวน และส่งมอบบัญชีที่จะต้อง ทำและเอกสารอื่นอันควรแก่เรื่อง สำหรับระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2521เพื่อตรวจสอบ ข. ได้นำสมุดบัญชีและ เอกสารดังกล่าวไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยตลอดจนให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินตามนั้นแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณผลผลิตของโจทก์ตามคำให้การของ ข. แล้วเห็นว่าโจทก์ ได้ผลผลิตมากกว่าที่ลงในบัญชี เจ้าพนักงานประเมินจึง มีหนังสือถึง ข.แจ้งว่าการตรวจสอบได้เสร็จสิ้นแล้วมี กรณีจะต้องไต่สวน ข.บางประการ ขอให้ไปพบเจ้าพนักงานประเมินในวันที่ 3 มีนาคม 2523แต่ปรากฏว่าในวันนั้นมิได้ มีการสอบคำให้การ ข.ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือเตือน ให้ ข. ไปพบในวันที่ 12พฤษภาคม 2523 ข. ได้ไปให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินในวันนั้นต่อมา สรรพากรเขต 8 มีหนังสือเชิญให้ข.ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อรับทราบผล การตรวจสอบ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2523หากพ้นกำหนดไม่ไปพบ เจ้าพนักงานจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไปข.มีหนังสือ ถึงสรรพากรเขต 8 ตอบไปว่า ไปพบไม่ได้เพราะติดนัดกับ แพทย์ และยืนยัน ข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้กับ เจ้าพนักงานประเมินแล้วนั้น ต่อมาสรรพากรเขต 8 ได้มี หนังสือถึง ข. ว่าคำชี้แจงและเหตุผลของ ข. ยังไม่อาจหา ข้อยุติได้ ให้ ข. ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อชี้แจงด้วยตนเองในวันที่ 27 มิถุนายน 2523ถ้าไม่ไปพบจะ ดำเนินการตามทางแห่งกฎหมายต่อไป ข. ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน ในวันดังกล่าว ดังนี้ แม้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ไป เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินใน วันที่ 9 และ 27 มิถุนายน2523 ก็ถือได้ว่าเป็นการประเมินแก้จำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัย พยานหลักฐานที่ปรากฏตาม มาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 21 เพราะหนังสือทั้งสอง ฉบับดังกล่าวมิใช่หมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือ คำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง ตาม มาตรา 19โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ จำเลย ชอบที่จะต้องรับอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไว้พิจารณา