คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขการประเมินภาษีภายใน 5 ปี แม้จะมีการประเมินและชำระภาษีไปแล้ว หากพบข้อผิดพลาดในการแสดงรายการ
การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานประเมินในคดีก่อน ได้คิดจากยอดภาษีจำนวนหนึ่งที่ได้ประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(2)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ครั้งพิพาทนี้ได้คิดจากยอดเงินภาษีอีกจำนวนหนึ่ง.ซึ่งได้แก้การประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(1) โดยได้คิดหักเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระจากการประเมินครั้งแรกออกหมดแล้วฉะนั้น การคิดเงินเพิ่มภาษีในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นการคิดจากยอดเงินภาษีคนละจำนวนกัน ทั้งในคดีก่อนก็มีประเด็นวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์จะของดหรือลดเงินเพิ่มลงได้บ้างหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจากยอดเงินได้จำนวนเดียวกันโจทก์ควรต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ ดังนี้ อำนาจในการคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้รายนี้จึงหาได้ยุติไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต เจ้าพนักงานต้องแจ้งทายาท และการฟ้องขาดอายุความ
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต: อำนาจฟ้องของกรมสรรพากรและการดำเนินการตามกฎหมาย
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: ค่าใช้จ่ายส่วนตัว, ค่าบำเหน็จพนักงาน, และส่วนแบ่งกำไรที่ไม่สามารถหักได้
รายจ่ายของโจทก์สำหรับค่าซื้อบัตรการกุศลต่างๆ เช่น บัตรแสดงดนตรีละครค่าซื้อของขวัญในโอกาสต่างๆ เช่น ในงานวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นปีใหม่ค่าช่วยงานต่างๆ เช่นงานบวช งานเลี้ยง งานทอดกฐิน มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหากจะมีผลตอบแทนในด้านการโฆษณาชื่อเสียงและสินค้าของโจทก์อยู่บ้าง ก็เป็นแต่เพียงผลพลอยได้เท่านั้นบางรายการที่เป็นการกุศลก็มิใช่การกุศลสาธารณะจะนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
เงินค่าบำเหน็จทดแทนของพนักงานและคนงานที่โจทก์กันเงินไว้เป็นรายจ่ายที่จะต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองโจทก์ไม่มีสิทธิหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี จะนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
การที่โจทก์นำรายจ่ายซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักออกเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่จะต้องชำระอีกและให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าส่วนแบ่งกำไรเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษี: รายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ผู้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันมีกำไรสำหรับการดำเนินการในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 และปี พ.ศ. 2516 โจทก์ แบ่งผลกำไรร้อยละ 25 ให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เงินกำไร ที่แบ่งให้นั้นจึงเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไร ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(19) แม้จะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าตามสัญญาเช่า ก็ตาม ก็ไม่ยกเว้นให้กระทำได้
โจทก์ยื่นแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องโดยนำรายจ่ายอันเป็นรายการที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระอีก และให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่และความรับผิดของผู้อำนวยการ/ผู้จัดการคณะบุคคลในการยื่นภาษีและเสียภาษีในนามคณะบุคคล รวมถึงความรับผิดร่วมของหุ้นส่วน
โจทก์เป็นผู้อำนวยการหรือผู้จัดการของคณะบุคคลซึ่งมีเงินได้พึงประเมินจึงมีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ตลอดทั้งเสียภาษีในชื่อของคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยไม่มีการแบ่งแยก เมื่อรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคลตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้จัดการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว ย่อมมีอำนาจทำการประเมินแจ้งจำนวนเงินเรียกเก็บภาษีเพิ่มไปยังโจทก์ตามมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรทั้งนี้โดยโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาตรา 56 วรรคสอง
การที่ มาตรา 56 วรรคสอง บัญญัติให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคล ร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระด้วย ไม่ทำให้หน้าที่และความรับผิดของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เจ้าพนักงานประเมินหาจำต้องเรียกให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลมาร่วมรับผิดกับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่มหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ยังมิได้แจ้งการประเมิน
ลูกหนี้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกคำสั่งให้ลูกหนี้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา22แต่ยังไม่ทันได้แจ้งให้ลูกหนี้ทราบคำสั่ง ลูกหนี้ก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้เสียก่อน กรมสรรพากรผู้ร้องจึงมาขอรับชำระหนี้ดังนี้ เงินที่ลูกหนี้จะต้องเสียอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถือว่าเป็นเงินภาษีอากรและถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลก็มีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วย แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ก็ตามแต่มูลหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มได้เกิดขึ้นแล้วก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการแจ้งคำสั่งประเมินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว กรมสรรพากรผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเพิ่มจากการประเมินใหม่: สิทธิการรับชำระหนี้แม้ยังมิได้แจ้งการประเมิน
ลูกหนี้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 5 เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกคำสั่งให้ลูกหนี้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 แต่ยังไม่ทันได้แจ้งให้ลูกหนี้ทราบคำสั่ง ลูกหนี้ก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้เสียก่อน กรมสรรพากรผู้ร้องจึงมาขอรับชำระหนี้ ดังนี้ เงินที่ลูกหนี้จะต้องเสียอีกร้อยละ 20 แห่ง เงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถือว่าเป็นเงินภาษีอากรและถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลก็มีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วย แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ก็ตาม แต่มูลหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มได้เกิดขึ้นแล้วก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการแจ้งคำสั่งประเมินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว กรมสรรพากรผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้มรดก: เงินค่าเช่าเป็นดอกผลนิตินัยของกองมรดก ต้องยื่นภาษีในชื่อกองมรดก และไม่ขาดอายุความ
เมื่อกองมรดกโจทก์ยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเงินค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่าทรัพย์สินของกองมรดกย่อมเป็นของกองมรดก เพราะเป็นดอกผลนิตินัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ซึ่งจักต้องนำไปแบ่งปันกันระหว่างทายาทต่อมาภายหลังแม้ตามพินัยกรรมระบุให้แบ่งเงินค่าเช่าแก่ทายาท 3 คน และผู้จัดเก็บผลประโยชน์ของกองมรดกได้แบ่งค่าเช่าที่เก็บได้มาให้แก่ทายาทไปตามพินัยกรรมแล้วก็หาใช่ว่าเงินค่าเช่านั้นตกได้แก่ทายาท 3 คนนั้นทันทีไม่กรณีเข้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ทวิ วรรคสอง ซึ่งผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี มีหนังสือต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ในชื่อกองมรดกผู้ตาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้: การหักค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ดิน, อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน, และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก และได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯ ไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตาม มาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ.ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดก และต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ.เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข. และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯ เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัชฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นสวนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไร วันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมือง ซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาท เป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้า หรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัชฎากร มาตรา 16 นั้น ไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่งข้าราชการ คือ อาจเป็นสรรพากรจังหวัดโท หรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรี คนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
of 15