คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากรค้างชำระในคดีล้มละลาย: สิทธิในการขอรับชำระหนี้ แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องเสีย จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 และ 22 ดังนี้มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) ที่ว่า"ค่าภาษีอากรฯลฯที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" นั้น ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นแต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130(6) แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา130(6) ด้วย เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ได้แต่ขอรับชำระหนี้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว ฉะนั้นเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130(6)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่เกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามมาตรา 130(6) พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนได้ควรต้องเสีย จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 และ 22 ดังนี้ มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (6) ที่ว่า "ค่าภาษีอากรฯลฯ ที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" นั้น ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น แต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130 (6) แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130 (6) ด้วย เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ ได้แต่ชอรับชำระหนี้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระเจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว ฉะนั้น เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130 (6) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่เกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ยังคงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องเสีย. จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม. โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 และ 22. ดังนี้มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น. เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น. เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) ที่ว่า'ค่าภาษีอากรฯลฯที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์' นั้น. ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น.แต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว. จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130(6). แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ. ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น. ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้. จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา130(6) ด้วย. เพราะในคดีล้มละลายนั้น. การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย. เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ได้แต่ขอรับชำระหนี้. ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระหนี้. เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย. เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว.ฉะนั้นเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130(6)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาจ่ายค่าจ้างต่อ – ภาษีเงินได้: เงินได้จากการค้าของผู้รับเหมาเป็นเงินได้ของตน แม้จะจ่ายต่อให้ผู้รับจ้างย่อย
ผู้รับเหมาก่อสร้างทำสัญญาโดยตรงในการรับประมูลก่อสร้างสะพานกับผู้ว่าจ้างและได้รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างทั้งหมดแม้ผู้รับเหมาจะไปว่าจ้างบุคคลอื่นทำงานนั้นต่อโดยจ่ายเงินนั้นให้ด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าเงินที่รับมาเป็นเงินที่ผู้รับเหมาได้มาจากการค้าซึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาเสียภาษีจากเงินค่าจ้างทั้งหมด แม้จะจ่ายต่อให้ผู้รับจ้างช่วง เงินได้จากการค้าระหว่างผู้รับเหมากับผู้ว่าจ้างเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
ผู้รับเหมาก่อสร้างทำสัญญาโดยตรงในการรับประมูลก่อสร้างสะพานกับผู้ว่าจ้างและได้รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างทั้งหมดแม้ผู้รับเหมาจะไปว่าจ้างบุคคลอื่นทำงานนั้นต่อโดยจ่ายเงินนั้นให้ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเงินที่รับมาเป็นเงินที่ผู้รับเหมาได้จากการค้าซึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่ประเมินเพิ่มเติมหลังล้มละลาย: สิทธิการรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 78 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษี โดยผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการต่อเจ้าพนักงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปพร้อมกับชำระค่าภาษีตามมาตรา 85 ทวิ และ 86 ด้วยนั้น เป็นการชำระค่าภาษีการค้าล่วงหน้าไปก่อนตามรายการที่ยื่นไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบรายการที่ยื่นเห็นว่าถูกต้องและพอใจ ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ค่าภาษีโดยสมบูรณ์แล้ว ส่วนเงินค่าภาษีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ จะถือว่าค่าภาษีสำหรับรายการดังกล่าวนั้นได้ถึงกำหนดชำระด้วยแล้วหาได้ไม่ เพราะเมื่อยังไม่ได้ยื่นแสดงรายการก็ยังไม่มีค่าภาษีที่ต้องชำระ แต่เมื่อเจ้าพนักงานอาศัยอำนาจตามมาตรา 19, 20 ทำการไต่สวนและประเมินค่าภาษีใหม่สำหรับรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องครบถ้วน และสั่งให้นำเงินภาษีไปชำระเพิ่มเติมภายใน 30 วันแล้ว ค่าภาษีที่จะต้องเสียเพิ่มเติมใหม่นี้ก็ย่อมถึงกำหนดชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไป
หนี้ค่าภาษีอากรที่ลูกหนี้จะต้องเสียและถึงกำหนดชำระภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น กฎหมายยอมให้เจ้าหนี้เข้ามาขอรับชำระหนี้ได้ และเมื่อหนี้ค่าภาษีนี้เป็นหนี้ที่จะได้รับในลำดับก่อนหนี้อื่น ๆ แล้ว ก็หาทำให้การที่จะได้รับชำระหนี้นั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331-332/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการแก้ไขรายการภาษีที่ยื่นไม่ถูกต้อง โดยไม่ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากร
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกตัวผู้ยื่นรายการที่มีเหตุควรเชื่อว่ายื่นไม่ถูกต้องตามความจริงมาไต่สวน แล้วแก้เพิ่มเติมจำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 หาจำต้องรับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน ดังมาตรา 86 ไม่ เพราะมาตรา 86 เป็นเรื่องเจ้าพนักงานประเมินกำหนดยอดเงินที่จะต้องคำนวณเพื่อเสียภาษีขึ้นเรียกเก็บเอาเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการฟ้องคดีภาษี: ทรัพย์สินที่พิพาทคือภาระหนี้สินจากการประเมินภาษี ไม่ใช่เงินภาษีที่ชำระแล้ว
ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินสรรพากร ประเมินภาษีเงินได้และเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์เกินไปกว่าที่โจทก์จะต้องเสีย 1 ล้านบาทเศษ โจทก์อุทธรณ์ อะิบดีกรมสรรพากร มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องศาลตามประมวลรัษฎากรกรมมาตรา30(2) ขอให้ศาลพิพากษายกหรือกลับแก้การประเมินและคำสั่งชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรที่ให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีเพิ่มเติม อันไม่ถูกต้องนั้นเสีย ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ การที่จะไม่ต้องเสียเงินจำนวนนั้น อันเป็นทรัพย์ที่พิพาท แม้คำของท้ายฟ้องโจทก์จะเบี่ยงบ่ายไปประการใด ก็หาทำให้ผลแห่งคำการปลดเปลื้องทุกข์เปลี่ยนแปลงไปได้ไม่ ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีนี้
ได้
ระยะเวลาตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ที่ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดี หรือข้าหลวงประจำจังหวัดต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน ฯลฯ นั้น เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉะนั้นเมื่อมีเหตุอันสมควร ศาลสั่งให้ขยายระยะเวลานั้นได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 23.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีภาษีและขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร
ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินสรรพากร ประเมินภาษีเงินได้และเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์เกินไปกว่าที่โจทก์จะต้องเสีย 1 ล้านบาทเศษ โจทก์อุทธรณ์ อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องศาลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ขอให้ศาลพิพากษายกหรือกลับแก้การประเมินและคำสั่งชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรที่ให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีเพิ่มเติมอันไม่ถูกต้องนั้นเสีย ดังนี้เป็นการฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ การที่จะไม่ต้องเสียเงินจำนวนนั้น อันเป็นทรัพย์สินที่พิพาท แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะเบี่ยงบ่ายไปประการใด ก็หาทำให้ผลแห่งการปลดเปลื้องทุกข์เปลี่ยนแปลงไปได้ไม่ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
ระยะเวลาตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ที่ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดี หรือข้าหลวงประจำจังหวัดต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน ฯลฯนั้นเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งฉะนั้นเมื่อมีเหตุอันสมควรศาลอาจสั่งให้ขยายระยะเวลานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2495)
of 15