พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานได้
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. โจทก์นำมาถือเป็นรายจ่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าการจ่ายเงินจำนวนนี้ โจทก์ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้พิจารณาลดเงินเพิ่มให้เหลือเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะงดเงินเพิ่ม
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน196,719.80 บาท มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงถือเป็นเงินได้ของโจทก์และคำนวณภาษีและเงินเพิ่มให้โจทก์เสียรวม 70,818.88 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าเงินจำนวน 196,719.80 บาทนี้ เจ้าพนักงานประเมินนำไปคำนวณภาษีโดยถือเป็นเงินได้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษีที่โจทก์ถูกหักณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเอาไปเครดิตภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้ เมื่อปรากฏว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินภาษีที่โจทก์ถูกหัก ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้เป็นเงิน 196,719.80 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 196,719.80 บาท ดังกล่าวนั้นได้มีการโต้แย้งกันมาแต่ชั้นเจ้าพนักงานประเมินตลอดมาจนถึงชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก้ไขโดยคิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน196,719.80 บาท มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงถือเป็นเงินได้ของโจทก์และคำนวณภาษีและเงินเพิ่มให้โจทก์เสียรวม 70,818.88 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าเงินจำนวน 196,719.80 บาทนี้ เจ้าพนักงานประเมินนำไปคำนวณภาษีโดยถือเป็นเงินได้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษีที่โจทก์ถูกหักณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเอาไปเครดิตภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้ เมื่อปรากฏว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินภาษีที่โจทก์ถูกหัก ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้เป็นเงิน 196,719.80 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 196,719.80 บาท ดังกล่าวนั้นได้มีการโต้แย้งกันมาแต่ชั้นเจ้าพนักงานประเมินตลอดมาจนถึงชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก้ไขโดยคิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำภายใน 5 ปี และการประเมินภาษีเมื่อไม่นำเอกสารหลักฐานมาให้ตรวจสอบ
เจ้าพนักงานประเมินท้องที่จังหวัดขอนแก่นเคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มมาแล้ว ต่อมาภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขต ครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่นตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ชอบที่จะแจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19,20 ข้อความตามมาตรา 19 ตอนต้นที่ว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้" นั้นหาได้เป็นบทห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินผู้มีอำนาจทำการเรียกตรวจสอบซ้ำอีก ดังที่โจทก์ฎีกาไม่ ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้ โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบและประเมินภาษี แม้จะเคยตรวจสอบแล้ว และการประเมินภาษีจากเอกสารที่ไม่สมบูรณ์
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 ถึง 2519 สรรพากรจังหวัดขอนแก่นได้เคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มเติมมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อในระยะเวลา 5 ปี เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขตครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่น ตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ครบถ้วน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2517ถึง 2519 เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ย่อมมีอำนาจแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มได้ โดยอาศัยอำนาจตามป.รัษฎากร มาตรา 19,20 โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างให้ลูกจ้างโจทก์โดยมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินที่จ่ายโดยโจทก์ยินยอมและไม่ปรากฏว่าการคำนวณตามที่โจทก์ยินยอม โจทก์ต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเกินกว่าความเป็นจริงตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีดังกล่าวไม่ถูกต้องย่อมไม่ได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบและประเมินภาษีซ้ำภายใน 5 ปี และการประเมินภาษีจากหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์
เจ้าพนักงานประเมินท้องที่จังหวัดขอนแก่นเคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มมาแล้ว ต่อมาภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขต ครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่นตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ชอบที่จะแจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 ข้อความตามมาตรา 19 ตอนต้นที่ว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้" นั้นหาได้เป็นบทห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินผู้มีอำนาจทำการเรียกตรวจสอบซ้ำอีก ดังที่โจทก์ฎีกาไม่
ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้
โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).
ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้
โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการไต่สวนและประเมินภาษี เมื่อพบรายการที่ยื่นไม่ถูกต้อง
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า โจทก์ยื่นรายการเพื่อเสียภาษี-อากรโดยแสดงเงินได้และหักค่าใช้จ่ายไว้ผิดประเภท เป็นเหตุให้จำนวนภาษีน้อยกว่าที่ควรต้องเสีย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมิน มีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนแล้วประเมินภาษีอากรให้ถูกต้องตามมาตรา 1 และ 20แห่งประมวลรัษฎากรได้ โดยไม่จำเป็นต้องประเมินแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังโจทก์ผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 วรรคแรกก่อนแต่อย่างใด
เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการทำงานในสถานพยาบาลของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีแม่เมาะและในสถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่แม่เมาะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนเงินได้จากคลินิกซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนนั้น เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการทำงานในสถานพยาบาลของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีแม่เมาะและในสถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่แม่เมาะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนเงินได้จากคลินิกซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนนั้น เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการไต่สวนและประเมินภาษีเมื่อพบความผิดพลาดในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า โจทก์ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรโดยแสดงเงินได้และหักค่าใช้จ่ายไว้ผิดประเภทเป็นเหตุให้จำนวนภาษีน้อยกว่าที่ควรต้องเสีย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมิน มีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนแล้วประเมินภาษีอากรให้ถูกต้องตามมาตรา 1 และ 20 แห่งประมวลรัษฎากรได้โดยไม่จำเป็นต้องประเมินแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังโจทก์ผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 วรรคแรกก่อนแต่อย่างใด เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการทำงานในสถานพยาบาลของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีแม่เมาะและในสถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่แม่เมาะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนเงินได้จากคลินิก ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนนั้นเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบภาษีจากเอกสารของนิติบุคคลอื่นเป็นไปตามกฎหมาย หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้เสียภาษีแสดงรายการไม่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า หากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน โดยไม่จำกัดว่าเหตุอันควรเชื่อดังกล่าวจะเกิดจากเอกสารของผู้ยื่นรายการนั้นเองหรือของผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน และการรับผิดของหุ้นส่วน
ในการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อผู้ชำระบัญชีได้เลือกกำหนดเอาสถานที่ใดเป็นสำนักงานชำระบัญชี ต้องถือว่าสถานที่นั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการชำระบัญชีของห้างนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49
แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาเฉพาะการชำระบัญชี, การแจ้งประเมินภาษี, และความรับผิดของผู้ถือหุ้น
ในการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อผู้ชำระบัญชีได้เลือกกำหนดเอาสถานที่ใดเป็นสำนักงานชำระบัญชี ต้องถือว่าสถานที่นั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการชำระบัญชีของห้างนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง หากเจ้าพนักงานไม่สามารถแสดงเอกสารต้นฉบับหรือเหตุผลที่สมควร ศาลไม่อาจรับฟังได้
ศาลมีคำสั่งเรียกเอกสารของโจทก์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 และเอกสารเหล่านั้นเป็นที่มาของรายการรายได้ที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 อ้างว่ามีจำนวนสูงกว่ารายได้ที่โจทก์แสดงไว้ในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี แต่จำเลยมิได้ส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาถึงความถูกต้องโอย อ้างว่าหาไม่พบโดยไม่มีเหตุผล ทั้ง ๆ ที่เอกสารเหล่านั้นไม่ใช่จำนวนเล็กน้อย ผู้ทำรายการรายได้ที่อ้างว่ารวบรวมจากเอกสารดังกล่าวก็ไม่ได้มาเบิกความรับรองว่าถูกต้องตรงกับต้นเรื่อง จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ารายการรายได้ดังกล่าวเป็นความจริงและถูกต้อง และโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่ารายได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นตามที่แจ้งการประเมิน