คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 855 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาลับหลังและการถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว
จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาลับหลังจำเลยเป็นการไม่ชอบ เพราะการส่งหมายแจ้งวันนัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งยกคำร้องโดยยังไม่ได้ทำการไต่สวนและสำเนาคำร้องให้แก่โจทก์ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นตามที่จำเลยกล่าวอ้าง ก็ชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาได้ อันจะมีผลทำให้คดียังไม่ถึงที่สุดและโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาจำเลย เมื่อคดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังพ้นกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม และการพิจารณาเรื่องราคาขายที่ต่ำกว่าราคาจริง
คำร้องของจำเลยที่ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ส่งประกาศขายทอดตลาดไปยังภูมิลำเนาของจำเลยทำให้จำเลยไม่ทราบวันขายทอดตลาดนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยโดยมิได้แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบ ซึ่งฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 306 วรรคหนึ่ง คำร้องของจำเลยดังกล่าวจึงอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำมาตรา 27 มาใช้บังคับแก่กรณีตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องหลังจากการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวเสร็จลงจึงล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องการส่งคำบังคับที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นหน้าที่ศาล แม้โจทก์มิได้คัดค้าน
ปัญหาว่าการส่งคำบังคับให้จำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นประเด็นในคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านคำร้องของจำเลย ก็เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องไต่สวนเพื่อให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติในทางหนึ่งทางใดเสียก่อน จึงจะสามารถวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นตามคำร้องของจำเลยได้ว่ามีเหตุสมควรเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ กรณีเช่นว่านี้ หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานนั้นมาสืบเพิ่มเติม ศาลก็มีอำนาจที่จะเรียกพยานหลักฐานใดๆ อันเกี่ยวแก่ประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียก ย. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ศาลผู้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยมาเบิกความในฐานะพยานศาลจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำคู่ความไม่ถูกต้อง ทำให้ทายาทผู้มีสิทธิคัดค้านไม่ทราบเรื่อง ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมและสั่งดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
เมื่อศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินตามคำร้องเป็นของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ แล้วตรวจพบว่า ด. ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้หนึ่งถึงแก่ความตาย จึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องแถลงชื่อและที่อยู่ของทายาท ด. ซึ่งผู้ร้องได้แถลงชื่อและที่อยู่ของทายาท ด. คือ ว. บ. และผู้คัดค้าน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องขอให้แก่ ว. กับ อ. ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมเท่านั้น ทำให้ผู้คัดค้านและ บ. ไม่ทราบถึงการร้องขอของผู้ร้องอันทำให้เสียสิทธิในการที่จะคัดค้าน อีกทั้งผู้คัดค้านยังได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่า ในขณะผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องและไต่สวนคำร้องนั้น ว. และผู้คัดค้านมิได้อยู่บ้านแต่ไปรับจ้างทำงานอยู่ต่างจังหวัด หากได้ความดังกล่าวย่อมแสดงว่า การส่งสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้แก่ทายาทของ ด. กระทำโดยมิชอบทำให้ฝ่ายผู้คัดค้านไม่มีโอกาสที่จะคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นส่งคำคู่ความใหม่ให้ครบถ้วนแล้วไต่สวนและมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานกระบวนพิจารณาที่ไม่สมบูรณ์ ไม่กระทบกระบวนการพิจารณา หากคู่ความไม่โต้แย้ง
ป.วิ.พ. มาตรา 50 บัญญัติว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใด หรือบุคคลใดจะต้องลงลายมือชื่อในรายงานใดเพื่อแสดงรับรู้รายงานนั้น หรือจะต้องลงลายมือชื่อในเอกสารใดเพื่อรับรองการอ่านหรือการส่งเอกสารเช่นว่านั้น (2) ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าวแล้ว ลงลายมือชื่อไม่ได้ หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้ศาลทำรายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ ตามบทบัญญัติดังกล่าว การลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเป็นการแสดงการรับรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีในครั้งนั้น ๆ การที่คู่ความไม่ลงลายมือชื่อ และศาลไม่ได้จดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อย่อมมีผลทำให้รายงานกระบวนพิจารณาในครั้งนั้น ๆ ใช้ไม่ได้เท่านั้น แต่ไม่ทำให้กระบวนการพิจารณาที่เกิดขึ้นต่อหน้าศาลโดยชอบต้องเสียไปเพราะเหตุดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นละเลยไม่ได้จดแจ้งเหตุที่ทนายจำเลยร่วมไม่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาจึงนับว่าเป็นความบกพร่องของศาลชั้นต้นเอง หาทำให้กระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้นโดยชอบต้องเสียหายไปเพราะเหตุดังกล่าว อีกทั้งไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยร่วมได้โต้แย้งคัดค้านการที่โจทก์ทั้งหกและจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน นอกจากนั้น หากทนายจำเลยร่วมเห็นว่า ทนายจำเลยร่วมไม่เคยแถลงขอถอนคำร้องจากการเป็นจำเลยร่วมและการที่ศาลชั้นต้นจดแจ้งรายงานกระบวนพิจารณาไม่ตรงกับความเป็นจริงอันจะถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทนายจำเลยร่วมก็ชอบที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวอ้างภายใน 8 วัน หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้แก่โจทก์ทั้งหกและจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 แต่ทนายจำเลยร่วมก็หาได้กระทำไม่ กรณีจึงต้องถือว่า ทนายจำเลยร่วมแถลงขอถอนคำร้องจากการเป็นจำเลยร่วมแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตจำเลยร่วมจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีอีกต่อไป เมื่อโจทก์ทั้งหกและจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมกัน ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องสอบถามถึงความยินยอมจากจำเลยร่วม ประกอบกับการทำสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์ทั้งหกและจำเลยก็มิได้กระทบกระทั่งถึงสิทธิในกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยร่วมแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: สัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นโมฆะ และการเพิกถอนการพิจารณาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 นำใบแต่งทนายความซึ่งไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 โดยตกลงให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่เคยแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นทนายความ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นโมฆะไม่ผูกพันโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเป็นการพิพากษาโดยผิดหลง หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องดังกล่าว ย่อมมีผลให้การทำสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นไม่ชอบ ต้องถูกเพิกถอนเฉพาะส่วนเพื่อไม่ให้ผูกพันโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างอยู่ในตัวว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 138 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีที่มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ จะยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตามมาตรา 131 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: การไม่คัดค้านและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปทำให้เสียสิทธิ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 ว่า คดีของโจทก์เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากรกลาง จึงเพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดตั้งแต่ชั้นรับฟ้อง และให้ส่งสำนวนไปยังศาลภาษีอากรกลางโดยเร็ว ศาลภาษีอากรกลางส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ต่อมาประธานศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากรกลาง ศาลภาษีอากรกลางจึงส่งสำนวนคืนยังศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา จำเลยจึงมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่อ้างว่าการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาโดยมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งไว้เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 เป็นการไม่ชอบกรณีเป็นการร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาทั้งในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 และศาลฎีกา โดยมิได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง อีกทั้งจำเลยก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้น จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้ออ้างผิดระเบียบการส่งหมายเรียกหลังศาลตัดสิน จำเลยต้องแจ้งภายใน 8 วันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำร้องของจำเลยที่อ้างว่าโจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการยกข้ออ้างที่ทำให้จำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง การที่จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะยกข้อคัดค้านในเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างภายในเวลาไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: การไม่ปฏิบัติตามกำหนด และเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2546 แต่เมื่อครบกำหนดจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินค่าธรรมเนียมศาล จำเลยที่ 4 เพิ่งมายื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนในวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ถือได้ว่าเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจำเลยที่ 4 จะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลภายในกำหนดเวลา หากพ้นกำหนดจำเลยที่ 4 จะสามารถยื่นคำร้องได้ต่อเมื่อมีเหตุสุดวิสัย ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว ซึ่งตามเหตุผลในคำร้องที่อ้างว่าจำเลยที่ 4 หาเงินค่าธรรมเนียมศาลมาได้เพียงบางส่วนและจะนำค่าธรรมเนียมศาลส่วนที่เหลือมาวางภายใน 30 วัน ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 วางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ชอบ กรณีเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามมาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากทุนทรัพย์ต่ำ และการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
เนื้อหาในฎีกาที่มีลักษณะเป็นการโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จะอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ขึ้นมาโต้แย้งว่า การได้มาซึ่งพยานหลักฐานในส่วนดังกล่าวมิชอบไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง แต่หาได้เป็นข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อเอาชนะคดีโดยชัดแจ้งไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีเพียง 95,476.24 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 86