พบผลลัพธ์ทั้งหมด 855 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10298/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการฟ้องล้มละลายข้ามประเทศ: การพิจารณาภูมิลำเนาของลูกหนี้
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุดแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งหยุดนับระยะเวลาในการที่จำเลยที่ 1 จะได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 81/2 ประกอบมาตรา 81/3 ในชั้นนี้จึงมีประเด็นเพียงว่า ศาลล้มละลายกลางสมควรที่จะมีคำสั่งให้หยุดนับระยะเวลาในการที่จำเลยที่ 1 จะได้รับการปลดจากล้มละลายหรือไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางสอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันนัดไต่สวนคำขอดังกล่าวเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ในขณะที่มีการขอให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายหรือภายในกำหนดเวลา 1 ปี ก่อนนั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 7 แล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10298/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งให้ล้มละลายแล้ว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุดแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด และในชั้นนี้มีประเด็นในศาลล้มละลายกลางเพียงว่าศาลล้มละลายกลางสมควรที่จะมีคำสั่งให้หยุดนับระยะเวลาในการที่จำเลยที่ 1 จะได้รับการปลดจากล้มละลายหรือไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการบังคับและการขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เกี่ยวกับเรื่องการขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายตามเงื่อนไขที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นเรื่องต่อเนื่องกับการทุเลาการบังคับ ซึ่งเป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 นั้นต่อมา และถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชั้นขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายดังกล่าวเป็นที่สุดแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ และไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ฎีกาชั้นนี้ว่า การออกคำบังคับของศาลชั้นต้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหาย และกำหนดระยะเวลาให้จำเลยนำเงินประกันความเสียหายตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 มาวางต่อศาลชั้นต้นใหม่ เพราะไม่ว่าศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยอย่างไรก็ไม่อาจกระทบถึงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งเป็นที่สุดแล้วดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลแก้ไขข้อผิดพลาดในการรับฟ้องและคืนค่าธรรมเนียม
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โจทก์ย่อมไม่สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยได้อีก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกศาลชั้นต้นชอบที่จะไม่รับคำฟ้อง แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วยังไม่ปรากฏต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงรับคำฟ้องไว้โดยผิดหลง ต่อมาเมื่อโจทก์แถลงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาในคำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ มีผลเท่ากับเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงที่เคยสั่งรับคำฟ้องแล้ว ศาลฎีกาไม่จำต้องเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนพิจารณาใดๆ อีกแต่ให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้ และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7608/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากที่อยู่ตามทะเบียนบ้านกลางไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลย ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่สมบูรณ์
ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 4, 33 บัญญัติให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกของผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านซึ่งไปอยู่ที่อื่นเกิน 180 วัน และเจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้นั้นไปอยู่ที่ใด ต่อมานายทะเบียนโดยระบุว่าไม่ทราบที่อยู่ ให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งเพิ่มชื่อและรายการผู้นั้นในทะเบียนบ้านกลางซึ่งนายทะเบียนบ้านกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน ไม่ปรากฏว่าก่อนหน้าที่จำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้านกลางจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายที่บ้านเลขที่ทะเบียนบ้านกลาง 317 ซึ่งเป็นสำนักงานเขตดุสิต ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 จึงไม่ใช่การปิดคำคู่ความ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย เป็นการส่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนับแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาเรื่องการส่งหมายและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บงจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7608/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากที่อยู่ไม่เป็นภูมิลำเนา ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยระบุที่อยู่จำเลยในคำฟ้องเป็นบ้านเลขที่ทะเบียนบ้านกลาง 317 ทะเบียนบ้านกลางของเขตดุสิต โดยไม่ปรากฏว่าก่อนหน้านั้นจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด และปรากฏตามรายงานการเดินหมายว่าพนักงานเดินหมายได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ตามภูมิลำเนาที่ระบุไว้ในหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็นสำนักงานเขตดุสิต สอบถามบุคคลที่อยู่ที่นั่นแล้วได้รับแจ้งว่าไม่รู้จักจำเลย ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ มาตรา 4, 33 บัญญัติให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกของผู้มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านซึ่งไปอยู่ที่อื่นเกิน 180 วัน และเจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้นั้นไปอยู่ที่ใดต่อนายทะเบียนโดยระบุว่าไม่ทราบที่อยู่ และให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งเพิ่มชื่อและรายการผู้นั้นในทะเบียนบ้านกลางซึ่งนายทะเบียนบ้านกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน ดังนั้น บ้านเลขที่ทะเบียนบ้านกลาง 317 ซึ่งเป็นสำนักงานเขตดุสิตไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 การที่พนักงานเดินหมายปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตามที่อยู่ที่ระบุในคำฟ้องจึงไม่ใช่การปิดคำคู่ความ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย เป็นการส่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนับแต่การส่งหมายและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหาเรื่องการส่งหมายเรียกและสำนวนคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบเป็นกรณีมิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมชอบที่จะเพิกถอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7321/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันต่อกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และการนำเสนอพยานหลักฐานของจำเลยที่ขาดนัด
คู่ความฝ่ายที่เสียหายจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอาจยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นขึ้นว่ากล่าวได้ในเวลาใด ๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามแล้ว จำเลยทั้งสามทราบถึงการฟ้องแล้วไม่ได้คัดค้านว่า ศาลชั้นต้นไม่มีเขตอำนาจที่จะรับฟ้องไว้พิจารณากลับยินยอมให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา โดยสืบพยานโจทก์และให้จำเลยทั้งสามอ้างตนเข้าเบิกความ จนกระทั่งทั้งสองฝ่ายแถลงหมดพยานและศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว เท่ากับจำเลยทั้งสามยอมปฏิบัติตามที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสร็จสิ้น อันเป็นการให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบแล้ว จำเลยทั้งสามจึงยกการผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
เอกสารใบเสร็จรับเงินที่แนบท้ายอุทธรณ์และฎีกากับสำเนาฟ้องที่แนบมาท้ายฎีกาเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณา จำเลยทั้งสามมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น หามีสิทธิส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานไม่
ฎีกาของจำเลยทั้งสามเป็นการคัดลอกข้อความในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามมาเป็นฎีกาทั้งสิ้น โดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร และศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เอกสารใบเสร็จรับเงินที่แนบท้ายอุทธรณ์และฎีกากับสำเนาฟ้องที่แนบมาท้ายฎีกาเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณา จำเลยทั้งสามมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น หามีสิทธิส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานไม่
ฎีกาของจำเลยทั้งสามเป็นการคัดลอกข้อความในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามมาเป็นฎีกาทั้งสิ้น โดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร และศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีข้อบกพร่องในการทำสัญญาและส่งหมายเรียก จำเลยไม่อาจอ้างผิดระเบียบได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและมีคำพิพากษาตามยอม โดยศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงร่วมกันว่าสามารถทำยอมกันได้ พร้อมกับเสนอสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นตรวจดูแล้วเห็นว่าไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงพิพากษาตามยอมและออกคำสั่งบังคับแก่จำเลย จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งได้ลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านคำพิพากษาและคำบังคับไว้ที่ปกสำนวนด้วย แม้จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าศาลตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยขณะลงลายมือชื่อจำเลยอยู่นอกห้องพิจารณาคดีและไม่พบเห็นผู้พิพากษา แต่การที่จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและออกคำบังคับแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับความถูกต้องของสัญญาประนีประนอมยอมความและได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำที่อ้างว่าเป็นการผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกเอาเหตุที่จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลขึ้นเป็นข้อค้านเรื่องผิดระเบียบมาในคำร้องได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดมูลแห่งข้ออ้างนั้น ใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6146/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ การฟ้องแย้ง และการพิจารณาคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม
จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ 2,500,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงิน ความจริงจำเลยกู้เงินเพียง 2,000,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2.5 ต่อเดือน ซึ่งเกินอัตราตามกฎหมายรวมเป็นเงินต้นด้วย จึงระบุต้นเงินในสัญญากู้ยืมเงิน 2,500,000 บาท เป็นการนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่กู้จากโจทก์ว่าไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ถือว่าเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. 94 วรรคท้าย ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้
เมื่อมีการยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลต้องตรวจว่าต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) หรือไม่ หากคำร้องสอดต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายศาลก็จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคือรับคำร้องสอดไว้พิจารณา ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนการสั่งรับหรือไม่รับคำร้องสอดในเบื้องต้น ส่วนเมื่อรับคำร้องสอดไว้พิจารณาแล้วข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจะรับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้องสอดหรือไม่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งเป็นขั้นตอนการพิจารณาพิพากษาคดี และแม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาจะรับฟังไม่ได้ตามที่อ้างก็ไม่มีผลทำให้ขั้นตอนการสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมหรือการสั่งรับคำร้องสอดไว้พิจารณาในตอนแรกกลับกลายเป็นการสั่งโดยไม่ชอบหรือผิดหลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าในการกู้เงินดังกล่าวจำเลยจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน จำเลยขอชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระและให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วแต่โจทก์ผิดนัดไม่ยอมรับชำระ ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระพร้อมจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดอ้างว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้จำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีในอันที่จะให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ขอถือเอาคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นของจำเลยร่วมด้วย คำร้องสอดของจำเลยร่วมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ชอบที่จะรับคำร้องสอดไว้พิจารณา
เมื่อมีการยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลต้องตรวจว่าต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) หรือไม่ หากคำร้องสอดต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายศาลก็จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคือรับคำร้องสอดไว้พิจารณา ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนการสั่งรับหรือไม่รับคำร้องสอดในเบื้องต้น ส่วนเมื่อรับคำร้องสอดไว้พิจารณาแล้วข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจะรับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้องสอดหรือไม่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งเป็นขั้นตอนการพิจารณาพิพากษาคดี และแม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาจะรับฟังไม่ได้ตามที่อ้างก็ไม่มีผลทำให้ขั้นตอนการสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมหรือการสั่งรับคำร้องสอดไว้พิจารณาในตอนแรกกลับกลายเป็นการสั่งโดยไม่ชอบหรือผิดหลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าในการกู้เงินดังกล่าวจำเลยจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน จำเลยขอชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระและให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วแต่โจทก์ผิดนัดไม่ยอมรับชำระ ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระพร้อมจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดอ้างว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้จำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีในอันที่จะให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ขอถือเอาคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นของจำเลยร่วมด้วย คำร้องสอดของจำเลยร่วมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ชอบที่จะรับคำร้องสอดไว้พิจารณา