คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วันทนี กีรติพิบูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญา ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องขัดคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษากลับให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย จึงมิชอบตามบทกฎหมายดังกล่าว เว้นแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง เมื่อข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ทุกข้อเป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดี จึงเป็นการยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นทบทวน ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 184 โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรื้อถอนบ้านและมิเตอร์ไฟฟ้าออกไป อันเป็นการร่วมกันทำลายวัตถุพยานหลักฐานในการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ จนทำให้การพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถระบุถึงสาเหตุเพลิงไหม้ที่แน่ชัด โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ทั้งหกในข้อหานี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งประทับฟ้องเด็ดขาด, การยกฟ้องโดยศาลอุทธรณ์, และการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิด
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 ศาลอุทธรณ์ไม่อาจยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นทบทวนโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดีเสียใหม่ แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 184 โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรื้อถอนบ้านและมิเตอร์ไฟฟ้าออกไป อันเป็นการร่วมกันทำลายวัตถุพยานหลักฐานในการตรวจพิสูจน์ จนทำให้การพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถระบุถึงสาเหตุเพลิงไหม้ที่แน่ชัด โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด คำฟ้องโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อบุพการี: คดีอุทลุมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
การที่โจทก์ซึ่งเป็นหลานฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นย่าของตนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้" เช่นนี้ แม้โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของจ่าสิบเอก ม. ผู้ตายแทนที่ร้อยตำรวจตรี น. บิดาของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย และมีสิทธิเรียกร้องในอันที่จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นย่าของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิในทางแพ่งได้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 352, 353, 354 เพื่อที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้รับโทษในทางอาญานั้น ย่อมเท่ากับเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในทางอาญาเป็นส่วนตัว เพราะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ได้กระทำผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและต้องรับโทษในทางอาญาย่อมต้องเป็นการรับโทษเป็นส่วนตัว เนื่องจากสภาพบังคับในทางอาญาสำหรับความผิดตามฟ้องไม่มีการรับโทษในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกเหมือนเช่นความรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกในทางแพ่ง คดีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีอุทลุม ซึ่งต้องห้ามมิให้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุพการีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของหลานฟ้องย่า: มาตรา 1562 ป.พ.พ. ห้ามฟ้องบุพการี
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้" เช่นนี้ แม้โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของจ่าสิบเอก ม. ผู้ตายแทนที่ร้อยตำรวจตรี ม. บิดาของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย และมีสิทธิเรียกร้องในอันที่จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นย่าของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิในทางแพ่งได้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 352, 353, 354 เพื่อที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้รับโทษในทางอาญานั้น ย่อมเท่ากับเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในทางอาญาเป็นส่วนตัว เพราะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ได้กระทำผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและต้องรับโทษในทางอาญาย่อมต้องรับโทษเป็นส่วนตัว เนื่องจากสภาพบังคับในทางอาญาสำหรับความผิดตามฟ้องไม่มีการรับโทษในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกเหมือนเช่นความรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกในทางแพ่ง คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทลุม ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบุพการีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14275/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์: การแจ้งรายละเอียดทรัพย์ที่ไม่ถูกต้องไม่ทำให้การยึดทรัพย์เป็นโมฆะ หากขั้นตอนการยึดถูกต้องตามกฎหมาย
การยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดยนำเอาหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นมาและฝากไว้ ณ สถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบ ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกการยึดไว้ในทะเบียน ถ้าหนังสือสำคัญยังไม่ได้ออก หรือนำมาแสดงไม่ได้ หรือหาไม่พบ ให้ถือว่าการที่ได้แจ้งการยึดต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินนั้น เป็นการยึดตามกฎหมายแล้ว" ดังนั้น การที่ผู้แทนโจทก์แถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1374 พร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทที่ตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าว โดยผู้แทนโจทก์ระบุว่าเป็นทาวน์เฮาส์เลขที่ 6/8 ซึ่งผิดไปจากความจริง เพราะที่ถูกแล้วจะต้องเป็นทาวน์เฮาส์เลขที่ 6/4 นั้น จึงเป็นกรณีที่ผู้แทนโจทก์แถลงผิดพลาดไป แต่ก็หาทำให้การยึดเสียไปไม่ เพราะขั้นตอนการยึดได้กระทำโดยครบถ้วนตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10570/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าต่อการโจรกรรมรถในลานจอด – ไม่มีภาระหน้าที่หากเจ้าของรถประมาท
ผู้ได้รับอนุญาตให้นำรถเข้ามาจอดจะต้องหาสถานที่จอดเอง เก็บกุญแจรถไว้เอง และจะต้องดูแลรถกับทรัพย์สินภายในรถเอง ทั้งนี้ จำเลยไม่ได้เรียกเก็บค่าบริการในการนำรถเข้าจอด ดังนั้นความครอบครองในรถยังคงอยู่กับเจ้าของรถหรือผู้ที่นำรถเข้ามาจอด จำเลยจึงไม่ใช่ผู้รับฝากรถและไม่ได้รับประโยชน์อันเนื่องจากการที่มีผู้นำรถเข้าไปจอดในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุแต่อย่างใด เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากผลกำไรที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าและการบริการซึ่งเป็นปกติทางการค้าเท่านั้น
พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วมไม่ได้กระทำประมาทปราศจากความระมัดระวังปล่อยให้คนร้ายลักรถกระบะคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ออกไปโดยไม่ตรวจสอบบัตรอนุญาตจอดรถให้ถูกต้อง และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้ระมัดระวังดูแลรักษาความปลอดภัยสำหรับรถที่มีผู้นำมาจอดในห้างสรรพสินค้าของจำเลยตามสมควรแล้ว การที่รถสูญหายมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรือละเว้นกระทำของจำเลยและจำเลยร่วม ดังนั้นจำเลยและจำเลยร่วม จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย: การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 65 วรรคสี่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนด้วยการแบ่งบรรจุเป็นถุงย่อย ๆ ถุงละ 20 เม็ด 8 ถุง 10 เม็ด 5 ถุง 8 เม็ด 1 ถุง 4 เม็ด 1 ถุง 1 เม็ด 1 ถุง และมีอีก 10 เม็ด รวม 223 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 4.905 กรัม จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังว่า จำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนใส่ในถุงตามฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า ไม่ได้แบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนหาได้ไม่ เพราะขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยและเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การปฏิเสธข้อหาดังกล่าวในศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยบัญญัติเพิ่มเติมให้มีวรรคสามและวรรคสี่ ซึ่งวุฒิสภาให้เหตุผลในการแก้ไขไว้ชัดเจนอันแสดงให้เห็นว่าเป็นการแก้ไขโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้มีบทความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุไว้เป็นกรณีเฉพาะ แยกต่างหากจากบทความผิดและบทลงโทษ ฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในกรณีทั่วไปตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง (ผลิตโดยการ เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูปสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์) ซึ่งมีสภาพแห่งความผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมมากกว่าการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษ โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ ยิ่งกว่านั้นยังได้บัญญัติแก้ไขใหม่ไว้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ มาตรา 65 วรรคสาม มุ่งใช้บังคับสำหรับการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ที่มีปริมาณไม่ถึงบทสันนิษฐานของมาตรา 15 วรรคสาม ส่วนวรรคสี่มุ่งใช้บังคับสำหรับการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดที่มีปริมาณเกินบทสันนิษฐานตามมาตรา 15 วรรคสาม ส่วนการที่มาตรา 65 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสาม เป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย..." นั้น หมายถึง การกระทำความผิดฐานผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมไปถึงว่า จะต้องมีปริมาณไม่ถึงด้วยบทสันนิษฐานตามมาตรา 15 วรรคสาม ด้วยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายและต้องได้รับโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยมีความผิดตามมาตรา 65 วรรคใด เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2557)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายที่แท้จริงคือผู้มีอำนาจฟ้อง
เมื่อความผิดที่โจทก์ร่วมกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด เป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์โดยชอบ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21329/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้อนและอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการและผู้เสียหาย
การที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นอีกคดีหนึ่งก่อน แล้วต่อมาพนักงานอัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในภายหลัง เมื่อไม่มีกฎหมายจำกัดอำนาจของพนักงานอัยการมิให้ฟ้องคดีอาญาที่ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยไว้แล้ว และบทบัญญัติมาตรา 33 แห่ง ป.วิ.อ. ก็ได้บัญญัติถึงการพิจารณาคดีซึ่งทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันไว้ แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายและพนักงานอัยการต่างฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลย แต่การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีนี้ โดยถือเอาคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องของตนเอง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตจึงมีผลเท่ากับโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ด้วย การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์จึงมีสถานะเสมือนหนึ่งเป็นการฟ้องจำเลยซ้อนกับคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยไว้ก่อน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์คดีนี้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16134/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินชำระหนี้ต่อศาล: ศาลต้องแจ้งเจ้าหนี้ หากไม่แจ้งเงินไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษานั้น เป็นการกระทำเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้โจทก์ทราบ หากโจทก์ทราบแล้วไม่มารับเงินภายในห้าปีนับแต่มีการวางเงิน เงินดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นเงินค้างจ่ายและทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบ เงินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
of 4