พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องรวมกำไรสุทธิจากทุกกิจการ
โจทก์เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โจทก์ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนโดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิจากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 โจทก์ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เมื่อมี พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 387) พ.ศ.2544 และ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 475) พ.ศ.2551 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจากอัตราปกติร้อยละ 30 คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อใช้สิทธิลดอัตราภาษีตาม พ.ร.ฎ.ทั้งสองฉบับดังกล่าว ต้องนำกำไรสุทธิจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมารวมคำนวณด้วย การที่โจทก์นำกำไรสุทธิเฉพาะกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราภาษีที่ได้ลดลงเหลือร้อยละ 25 เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท โดยไม่นำกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมารวมคำนวณด้วยจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6447/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล, เงินเพิ่ม, เบี้ยปรับ, และเหตุงดลดตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ป.รัษฎากร มาตรา 19 มิได้กำหนดว่า การออกหมายเรียกเกินกว่าสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินจะต้องขออนุมัติขยายเวลาการออกหมายเรียกดังกล่าวภายในสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรสงสัยว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร อธิบดีกรมสรรพากรจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์เกินกว่าสองปีก็ได้
ดอกเบี้ยเงินฝากที่จะถือเป็นรายได้ปกติธุระจากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น จะต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการนำเงินทุนหมุนเวียนที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากธนาคารหรือสถาบันการเงิน และเฉพาะการฝากเงินประเภทออมทรัพย์ที่ใช้สมุดคู่ฝากในการถอนและไม่ใช้เช็คในการถอนเงินเท่านั้นที่จะได้รับยกเว้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิพาทของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจแก้ไขปรับปรุงรายได้ของโจทก์จากรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และปรับปรุงผลกำไรขาดทุนสุทธิภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องได้
ดอกเบี้ยเงินฝากที่จะถือเป็นรายได้ปกติธุระจากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น จะต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการนำเงินทุนหมุนเวียนที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากธนาคารหรือสถาบันการเงิน และเฉพาะการฝากเงินประเภทออมทรัพย์ที่ใช้สมุดคู่ฝากในการถอนและไม่ใช้เช็คในการถอนเงินเท่านั้นที่จะได้รับยกเว้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิพาทของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจแก้ไขปรับปรุงรายได้ของโจทก์จากรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และปรับปรุงผลกำไรขาดทุนสุทธิภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15100/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักผลขาดทุนสะสมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน การนำผลขาดทุนมาหักต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการคำนวณผลกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่ามีการประกอบกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วยหรือไม่ จึงย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.รัษฎากร การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่อาศัยหลักการอ้างอิงตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) และประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 กับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 38/2552 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงหาได้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 แต่อย่างใด และเป็นการวางหลักเกณฑ์สำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในการนำผลขาดทุนสะสมมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ระหว่างเวลาที่บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องไปจนถึงระหว่างเวลาที่บริษัทได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผลขาดทุนสะสมของกิจการโจทก์ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 มีอยู่ 925,073,207.26 บาท โจทก์มีสิทธินำไปใช้ได้อีกกับกิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และกิจการที่ไม่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 ได้ เมื่อรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่โจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามบัตรส่งเสริมการลงทุน กิจการที่โจทก์ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำไร 529,193,933.48 บาท แต่รอบระยะเวลาบัญชีอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ คือ รอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 ถึงปี 2544 กิจการของโจทก์ที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดทุนทุกปีจำนวน 17,327,968.11 บาท 343,670,021.13 บาท และ 5,820,970.03 บาท ตามลำดับ โจทก์จะนำเอาผลขาดทุนสะสมของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ที่ยังเหลืออยู่อีก 925,073,207.26 บาท ไปใช้กับกิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้นำเอาผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 ตามลำดับมาใช้ก่อน หลังจากนั้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโจทก์จึงจะมีสิทธิเอาผลขาดทุนสะสมของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ที่เหลืออยู่ 925,073,207.26 บาท มาใช้ได้มีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปี โดยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 โจทก์จะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคสี่ ซึ่งจะทำให้กิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ไม่มีกำไร และมีผลขาดทุนสะสมเหลืออยู่อีก 762,698,233.05 บาท เมื่อนำไปหักกับกำไรของกิจการที่ไม่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 จำนวน 342,816,923.13 บาท จะทำให้กิจการที่ไม่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ไม่มีกำไร ส่วนผลขาดทุนสะสมของกิจการโจทก์ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 เหลืออยู่อีก 419,881,309.92 บาท โจทก์ไม่มีสิทธินำไปใช้อีกเพราะสิ้นกำหนดเวลาห้าปีนับแต่พ้นกำหนดเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคสี่
ผลขาดทุนสะสมของกิจการโจทก์ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 มีอยู่ 925,073,207.26 บาท โจทก์มีสิทธินำไปใช้ได้อีกกับกิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และกิจการที่ไม่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 ได้ เมื่อรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่โจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามบัตรส่งเสริมการลงทุน กิจการที่โจทก์ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำไร 529,193,933.48 บาท แต่รอบระยะเวลาบัญชีอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ คือ รอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 ถึงปี 2544 กิจการของโจทก์ที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดทุนทุกปีจำนวน 17,327,968.11 บาท 343,670,021.13 บาท และ 5,820,970.03 บาท ตามลำดับ โจทก์จะนำเอาผลขาดทุนสะสมของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ที่ยังเหลืออยู่อีก 925,073,207.26 บาท ไปใช้กับกิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้นำเอาผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 ตามลำดับมาใช้ก่อน หลังจากนั้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโจทก์จึงจะมีสิทธิเอาผลขาดทุนสะสมของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ที่เหลืออยู่ 925,073,207.26 บาท มาใช้ได้มีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปี โดยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 โจทก์จะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคสี่ ซึ่งจะทำให้กิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ไม่มีกำไร และมีผลขาดทุนสะสมเหลืออยู่อีก 762,698,233.05 บาท เมื่อนำไปหักกับกำไรของกิจการที่ไม่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 จำนวน 342,816,923.13 บาท จะทำให้กิจการที่ไม่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ไม่มีกำไร ส่วนผลขาดทุนสะสมของกิจการโจทก์ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 เหลืออยู่อีก 419,881,309.92 บาท โจทก์ไม่มีสิทธินำไปใช้อีกเพราะสิ้นกำหนดเวลาห้าปีนับแต่พ้นกำหนดเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8952/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้ดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อลงทุน ไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการทำเหมืองแร่ การแต่งแร่และการถลุงแร่สังกะสี การผลิต แปรรูปหรือแปรสภาพโลหะ ZINC ALLOY การผลิตโลหะ CADMIUN ประเภทการถลุงแร่ เช่นนี้ รายได้เงินดอกเบี้ยรับจากตั๋วสัญญาใช้เงิน จากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และจากบัญชีเงินฝากประจำที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินอันเป็นรายได้อื่นที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากไว้ กับสถาบันการเงิน จึงมิใช่เงินรายได้จากการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ตามที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและ มิใช่เป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้หรือเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ตามความในมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศ สนองความต้องการ ของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน การเพิ่มรายได้ และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับ การส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น รายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็น รายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสิรมการลงทุน
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศ สนองความต้องการ ของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน การเพิ่มรายได้ และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับ การส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น รายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็น รายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสิรมการลงทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8952/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินฝากจากกิจการส่งเสริมการลงทุนไม่ใช่รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี, งดเบี้ยปรับเนื่องจากไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯ มาตรา 31 บัญญัติว่าผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามปีแต่ไม่เกินแปดปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบการนั้นและรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการดังกล่าวให้รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร จากบทกฎหมายข้างต้น เงินได้ของโจทก์ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการนั้น จะต้องเป็นเงินได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งรวมทั้งรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร
เมื่อตามบัตรส่งเสริมการลงทุน โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการทำเหมืองแร่ การแต่งแร่ และการถลุงแร่สังกะสี การผลิตแปรรูปหรือแปรสภาพโลหะ ZINCALLOY การผลิตโลหะ CADMIUMประเภทการถลุงแร่ เช่นนี้ รายได้เงินดอกเบี้ยรับจากตั๋วสัญญาใช้เงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และบัญชีเงินฝากประจำที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินอันเป็นรายได้อื่นที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากไว้กับสถาบันการเงิน จึงมิใช่เงินรายได้จากการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ตามที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและมิใช่เป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้หรือเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯและแม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะไม่มีคำจำกัดความคำว่า "รายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม" ไว้โดยเฉพาะ แต่วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศสนองความต้องการของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงานการเพิ่มรายได้และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนโดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้นรายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็นรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ตามพฤติการณ์แห่งคดี กรณีเป็นเรื่องโจทก์แปลความหรือเข้าใจความหมายของรายได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีผิดไป เมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางว่า ในชั้นเรียกตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมือมอบเอกสาร มอบบัญชี และหลักฐานต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วยดีตลอดมา แสดงถึงโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี เบี้ยปรับเป็นบทลงโทษผู้ที่ชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ อันเป็นพฤติการณ์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรเมื่อโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร โจทก์จึงสมควรได้รับการงดเบี้ยปรับทั้งหมด
เมื่อตามบัตรส่งเสริมการลงทุน โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการทำเหมืองแร่ การแต่งแร่ และการถลุงแร่สังกะสี การผลิตแปรรูปหรือแปรสภาพโลหะ ZINCALLOY การผลิตโลหะ CADMIUMประเภทการถลุงแร่ เช่นนี้ รายได้เงินดอกเบี้ยรับจากตั๋วสัญญาใช้เงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และบัญชีเงินฝากประจำที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินอันเป็นรายได้อื่นที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากไว้กับสถาบันการเงิน จึงมิใช่เงินรายได้จากการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ตามที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและมิใช่เป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้หรือเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯและแม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะไม่มีคำจำกัดความคำว่า "รายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม" ไว้โดยเฉพาะ แต่วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศสนองความต้องการของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงานการเพิ่มรายได้และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนโดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้นรายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็นรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ตามพฤติการณ์แห่งคดี กรณีเป็นเรื่องโจทก์แปลความหรือเข้าใจความหมายของรายได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีผิดไป เมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางว่า ในชั้นเรียกตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมือมอบเอกสาร มอบบัญชี และหลักฐานต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วยดีตลอดมา แสดงถึงโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี เบี้ยปรับเป็นบทลงโทษผู้ที่ชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ อันเป็นพฤติการณ์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรเมื่อโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร โจทก์จึงสมควรได้รับการงดเบี้ยปรับทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการส่งเสริมการลงทุน การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และการขอรับสิทธิเพิ่มเติม
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ.2505 เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 แต่โจทก์ยังคงได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับได้รับสิทธิและประโยชน์ตามข้อ 37 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยโจทก์ได้รับสิทธิและประโยชน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมมีกำหนดห้ารอบระยะเวลาบัญชีการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ต่อมามี พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ซึ่งได้ประกาศใช้และให้ยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ.2505 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคหนึ่งให้สิทธิและประโยชน์อย่างเดียวกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ.2505และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งเป็นสิทธิและประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่แล้ว แต่มาตรา 31วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ได้บัญญัติถึงสิทธิและประโยชน์ขึ้นใหม่ ซึ่งโจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์นี้หรือไม่ต้องพิจารณาตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 คือสิทธิของโจทก์มีอยู่อย่างใดตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกก็คงได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปแต่สิทธิตามที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 กำหนดเพิ่มเติมขึ้นใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 แต่การที่จะใช้สิทธิดังกล่าวต้องขอรับสิทธิและประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 เมื่อสิทธิและประโยชน์ในการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสิทธิและประโยชน์ที่เพิ่งกำหนดขึ้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 โจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์ดังกล่าว โจทก์จะต้องขอรับสิทธิตามมาตรา 58 และจะต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 31 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ขอรับสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมาย โจทก์ก็ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่จะนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการส่งเสริมการลงทุน: การขอรับสิทธิประโยชน์ใหม่ตามกฎหมายฉบับใหม่
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2505เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 227 แต่โจทก์ยังคงได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับได้รับสิทธิและประโยชน์ตามข้อ 37 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยโจทก์ได้รับสิทธิและประโยชน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมมีกำหนดห้ารอบระยะเวลาบัญชีการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ต่อมามีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งได้ประกาศใช้และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมพ.ศ. 2505 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 31 วรรคหนึ่งให้สิทธิและประโยชน์อย่างเดียวกับ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2505 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งเป็นสิทธิและประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่แล้ว แต่มาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520ได้บัญญัติถึงสิทธิและประโยชน์ขึ้นใหม่ ซึ่งโจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์นี้หรือไม่ต้องพิจารณาตามมาตรา 58 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คือสิทธิของโจทก์มีอยู่อย่างใดตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกก็คงได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปแต่สิทธิตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 กำหนดเพิ่มเติมขึ้นใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 แต่การที่จะใช้สิทธิดังกล่าวต้องขอรับสิทธิและประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เมื่อสิทธิและประโยชน์ในการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสิทธิและประโยชน์ที่เพิ่งกำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520โจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์ดังกล่าว โจทก์จะต้องขอรับสิทธิตามมาตรา 58 และจะต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ขอรับสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมาย โจทก์ก็ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่จะนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนรวมกันได้ หากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมขาดทุน
กำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล คือกำไรสุทธิที่คำนวณจากรายได้รายจ่ายจากทุกกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นๆ มิใช่แยกคำนวณเป็นรายกิจการไปและไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบังคับให้ต้องคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแยกกัน ดังนั้น รายจ่ายของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจึงไม่เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ อันต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13) มาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 บัญญัติว่า ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีก็ได้ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิแก่ผู้ได้รับการส่งเสริมที่จะได้รับอนุญาตเท่านั้น แต่หาตัดสิทธิผู้ได้รับการส่งเสริมที่จะคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิรวมกันโดยไม่นำผลขาดทุนไปหักออกจากกำไรสุทธิในปีหลังตามบทบัญญัติดังกล่าวอีกไม่