พบผลลัพธ์ทั้งหมด 235 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7942/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดจากการชำระหนี้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์: เริ่มนับเมื่อคืนเงินกองทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดที่เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ หลังจากจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่อำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมาย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีอำนาจดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย แต่กลับเปิดบัญชีกระแสรายวันและเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้โจทก์ชำระเงินที่จำเลยชำระหนี้โจทก์ คืนแก่กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ถือว่า ณ วันที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีชำระหนี้แก่โจทก์ยังมิใช่เป็นวันละเมิด อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ยังไม่เริ่มนับ เพราะการกระทำของจำเลยกรณีนี้ จะถือเป็นการละเมิดโจทก์ต่อเมื่อโจทก์ต้องคืนเงินให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เมื่อโจทก์จำต้องคืนเงินให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยตามคำสั่งศาล ซึ่งศาลมีคำสั่งในวันที่ 14 ธันวาคม 2549 จึงถือว่า โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้อง วันที่ 7 มิถุนายน 2550 ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7746/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายในการขายทอดตลาด แม้จะไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะเจาะจง
จำเลยที่ 1 ไม่นำสืบให้เห็นว่าตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ.2522 ซึ่งมิใช่กฎหมาย ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปิดประกาศขายทอดตลาดไว้อย่างไร ทั้ง ป.วิ.พ. มาตรา 306 กำหนดเพียงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาด ณ ที่ตั้งทรัพย์แล้ว ทั้งยังปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองแล้ว ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงดำเนินการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาอุทธรณ์ค่าปรับจากการบังคับตามสัญญาประกัน – คดีไม่ใช่คดียาเสพติด
คดีเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 มิใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ดังนี้ เมื่อผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ประกันที่ขอให้งดหรือลดค่าปรับ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกันจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7607/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้เสพยาเสพติดต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ หากไม่ปฏิบัติตาม อัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มีหลักการว่า ผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่ง มิใช่อาชญากรปกติ กฎหมายฉบับนี้จึงกำหนดให้มีกระบวนการคัดแยกผู้เสพยาเสพติดไปดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพแทนการที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนสรุปสำนวนเสนอพนักงานอัยการฟ้องศาลเพื่อลงโทษผู้นั้นเหมือนอย่างผู้กระทำความผิดอื่น ๆ และเมื่อผู้เสพยาเสพติดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพจนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูสมรรถภาพ และผลการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นที่พอใจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพแล้ว มาตรา 33 บัญญัติว่า "...ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 และให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพมีคำสั่งปล่อยตัวผู้นั้นไป..." แต่ถ้าผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ ยังไม่เป็นที่พอใจ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณีเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไป โดยมีมาตรา 19 วางหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ต้องหาที่จะมีสิทธิเข้าสู่ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพแทนการถูกฟ้องดำเนินคดีว่า "ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก หรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์ การเสพหรือการติดยาเสพติด..." ซึ่งจะเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ว่า หากผู้ต้องหาเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ครบถ้วน พนักงานสอบสวนย่อมอยู่ในบังคับที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 22 โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ตรวจวินิจฉัย ขั้นตอนดังกล่าวจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ครบถ้วน แต่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยที่ 1 แล้วส่งสำนวนให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 จึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเท่ากับไม่มีการสอบสวนคดีนี้มาก่อนย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7195/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชนและการบังคับใช้กฎหมายเดิมกับจำเลยในความผิดฐานใช้บัตรปลอม
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 โดยมาตรา 14 วรรคสี่ เดิม ที่บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดหรือผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม (1) (2) (3) เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสามแสนบาท" แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าว กฎหมายใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 1 ส่วนมาตรา 14 (2) (3) วรรคหนึ่ง เดิม และ มาตรา 14 (3) (4) วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่มีองค์ประกอบความผิดและอัตราโทษเหมือนกัน กฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยที่ 1 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องรวมทั้งกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ผู้ถูกหลอกลวงทราบว่าไม่มีใบอนุญาต ก็ยังเป็นผู้เสียหายและมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง แม้โจทก์ร่วมจะรู้ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีใบอนุญาตจัดหางานก็ไม่มีผลที่จะทำให้โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี
จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินจำนวน 400,000 บาท จากโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองอันเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) แม้หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 จะชดใช้เงินคืนให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 60,000 บาท ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองแล้วไม่เป็นผู้เสียหายอีกต่อไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินจำนวน 400,000 บาท จากโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองอันเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) แม้หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 จะชดใช้เงินคืนให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 60,000 บาท ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองแล้วไม่เป็นผู้เสียหายอีกต่อไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและการพิจารณาผู้มีอำนาจรับรองอุทธรณ์ตามกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ได้บัญญัติถึงผู้ที่จะอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 22 ไว้โดยเฉพาะแล้วว่าเป็นผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวง หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสาม ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคเพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2555: หลักเกณฑ์การลดโทษและปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด
ในชั้นขอปล่อยบุคคลซึ่งถูกคุมขังโดยมิชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 โจทก์ก็ถือเป็นคู่ความในคดี แม้จะไม่เคยเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ตาม แต่เป็นเพราะศาลชั้นต้นมิได้มีหมายแจ้งให้โจทก์ทราบถึงการยื่นคำร้องของผู้ร้องหรือส่งสำเนาอุทธรณ์ของผู้ร้องให้โจทก์แก้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้ปล่อยตัวจำเลยย่อมมีผลกระทบต่อการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลฎีกา โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
คดีนี้ผู้ร้องในฐานะเป็นบุตรซึ่งถือเป็นญาติของจำเลยซึ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบ แม้ผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 15 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 ผู้ร้องก็มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจให้ปล่อยได้
พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2555 มาตรา 6 (2) (ง) เป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 หมายความว่า หากนักโทษเด็ดขาดรายใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 8 แล้ว จึงจะนำมาตรา 6 มาพิจารณาได้ เมื่อจำเลยเป็นนักโทษเด็ดขาดซึ่งได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรกและวรรคสาม อันเป็นความผิดตามบัญชีลักษณะความผิดท้าย พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 8 (2) ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษแล้ว จำเลยจึงไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัวตามมาตรา 6 (2) (ง) อีก
คดีนี้ผู้ร้องในฐานะเป็นบุตรซึ่งถือเป็นญาติของจำเลยซึ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบ แม้ผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 15 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 ผู้ร้องก็มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจให้ปล่อยได้
พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2555 มาตรา 6 (2) (ง) เป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 หมายความว่า หากนักโทษเด็ดขาดรายใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 8 แล้ว จึงจะนำมาตรา 6 มาพิจารณาได้ เมื่อจำเลยเป็นนักโทษเด็ดขาดซึ่งได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรกและวรรคสาม อันเป็นความผิดตามบัญชีลักษณะความผิดท้าย พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 8 (2) ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษแล้ว จำเลยจึงไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัวตามมาตรา 6 (2) (ง) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6244/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิจำนอง: เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
ผู้ร้องบรรยายในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 1738 ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ที่โจทก์นำยึด ซึ่งจำเลยที่ 1 และ ก. เจ้าของรวมได้นำที่ดินดังกล่าวมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการกู้ยืมเงินของ น. เมื่อ น. ไม่ชำระหนี้ผู้ร้องจึงบอกกล่าวบังคับจำนองจำเลยที่ 1 และ ป. ทายาทโดยธรรมของ ก. ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่ผู้ร้อง เนื้อหาตามคำร้องจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดส่วนที่เป็นของ ก. ออกจากเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เพื่อขอรับชำระหนี้จำนอง ซึ่งสิทธิของผู้ร้องถือว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์นั้นได้ตามมาตรา 287 ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดเวลาตามมาตรา 289 วรรคสอง ที่ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องก่อนเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6087/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงรถจักรยานยนต์ผิดกฎหมาย: การเปลี่ยนแปลงส่วนควบทำให้รถไม่ปลอดภัย และต้องแจ้งตรวจสภาพ
จำเลยดัดแปลงระบบรองรับน้ำหนักด้านหน้า (โช้กอัพ) ของรถจักรยานยนต์ ให้ต่ำลงและถอดนอตที่บริเวณโช้กอัพออกข้างละ 1 ตัว ทำให้ระบบรองรับน้ำหนักที่สามารถลดแรงสั่นสะเทือนและรองรับน้ำหนักขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย เป็นการเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ เมื่อไม่นำไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อนและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 60