พบผลลัพธ์ทั้งหมด 235 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งแร่ต่อการกระทำความผิดของลูกจ้าง กรณีมิได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ
แม้ผู้ร้องที่ 1 เคยรับจ้างขนแร่ให้แก่บริษัท จ. มาก่อน และไม่เคยถูกจับกุม แต่ก็มิใช่ว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับการขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจะไม่เกิดขึ้น การที่ผู้ร้องที่ 1 กำชับให้จำเลยตรวจสอบใบอนุญาตให้ถูกต้องแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องที่ 1 ทราบว่าอาจมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นได้ และการกำชับดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการควบคุมเบื้องต้นซึ่งเป็นเรื่องภายในระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยเท่านั้น ผู้ร้องที่ 1 ยังมีหน้าที่ต้องคอยควบคุมดูแลมิให้จำเลยขนแร่โดยไม่มีใบอนุญาตขนแร่ที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย การที่ผู้ร้องที่ 1 ปล่อยปละละเลยให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้องที่ 1 นำรถพ่วงของกลางไปบรรทุกแร่ โดยเป็นผู้ตรวจสอบใบอนุญาตขนแร่เองทั้ง ๆ ที่จำเลยไม่รู้ว่าใบอนุญาตขนแร่ที่ถูกต้องตามกฎหมายมีลักษณะอย่างไร ถือได้ว่า ผู้ร้องที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นอีกด้วย จึงให้ริบรถพ่วงของกลางและยกคำร้องของผู้ร้องที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายเป็นผู้กระทำผิดก่อน จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานะผู้เสียหาย
ป. ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เมื่อผู้ตายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2 ) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินเดือนข้าราชการที่ขาดคุณสมบัติ การคืนเงินไม่ใช่ลาภมิควรได้
โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบลในตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ระดับ 3 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 ประกอบมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และกฎ ก.พ. ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2538) ข้อ 2 ประกอบมติคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดนครราชสีมาไม่ได้มีความผูกพันกันตามกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมสัญญา จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลิกสัญญาและกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ
จำเลยเข้ารับราชการเป็นพนักงานของโจทก์และปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตลอดมา การที่โจทก์จ่ายเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่เป็นพนักงานของโจทก์ ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของจำเลยที่จะได้รับจากการทำงานของตน ขณะเดียวกันโจทก์ก็ได้รับผลแห่งการงานที่จำเลยได้กระทำในระหว่างที่เป็นพนักงานของโจทก์เป็นการตอบแทนด้วย แม้ภายหลังคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดนครนายกจะตรวจสอบพบว่าจำเลยเป็นผู้ไม่ปรากฏชื่อว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้ ก็เป็นเพียงเรื่องที่จำเลยขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ในการรับบุคคลเข้ารับราชการอันเป็นเหตุให้โจทก์เลิกจ้างหรือให้จำเลยพ้นจากราชการได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่จำเลยมีสิทธิได้รับโดยชอบด้วยกฎหมายในระหว่างที่ยังเป็นพนักงานของโจทก์คืนจากจำเลยไม่ เงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่จำเลยได้รับจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยได้รับมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้
จำเลยเข้ารับราชการเป็นพนักงานของโจทก์และปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตลอดมา การที่โจทก์จ่ายเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่เป็นพนักงานของโจทก์ ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของจำเลยที่จะได้รับจากการทำงานของตน ขณะเดียวกันโจทก์ก็ได้รับผลแห่งการงานที่จำเลยได้กระทำในระหว่างที่เป็นพนักงานของโจทก์เป็นการตอบแทนด้วย แม้ภายหลังคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดนครนายกจะตรวจสอบพบว่าจำเลยเป็นผู้ไม่ปรากฏชื่อว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้ ก็เป็นเพียงเรื่องที่จำเลยขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ในการรับบุคคลเข้ารับราชการอันเป็นเหตุให้โจทก์เลิกจ้างหรือให้จำเลยพ้นจากราชการได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่จำเลยมีสิทธิได้รับโดยชอบด้วยกฎหมายในระหว่างที่ยังเป็นพนักงานของโจทก์คืนจากจำเลยไม่ เงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่จำเลยได้รับจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยได้รับมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของรวมในเงินกองทุนหมู่บ้านที่ถูกจำเลยยักยอก และการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์สิน
การที่องค์การนานาชาติแพนเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทยได้มอบเงินให้เปล่าแก่ชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่ผ่านกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านบริหาร โจทก์ที่ 8 เป็นชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่จึงมีส่วนเป็นเจ้าของเงินด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดสรรเงินกู้ยืมและติดตามเงินกู้ยืมคืนจากชาวบ้าน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่นำเงินที่ชาวบ้านชำระหนี้เงินกู้ยืมเข้าบัญชี โดยนำไปใช้จ่ายส่วนตัว โจทก์ที่ 8 ย่อมได้รับความเสียหายและถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้อง
กองทุนหมู่บ้านป่าดู่มิได้เป็นนิติบุคคลจึงไม่จำต้องมีผู้กระทำการแทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับใด ๆ ของกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ที่กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนทั้ง 11 คน ต้องกระทำการร่วมกันในการใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินกองทุนคืนจากจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ที่ 8 มีส่วนเป็นเจ้าของเงินกองทุนอยู่ด้วย โจทก์ที่ 8 ย่อมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 รวมทั้งการใช้สิทธิทางศาลด้วย โจทก์ที่ 8 แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินกองทุนที่จำเลยทั้งสี่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวและยังไม่ชำระคืนโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่น
กองทุนหมู่บ้านป่าดู่มิได้เป็นนิติบุคคลจึงไม่จำต้องมีผู้กระทำการแทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับใด ๆ ของกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ที่กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนทั้ง 11 คน ต้องกระทำการร่วมกันในการใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินกองทุนคืนจากจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ที่ 8 มีส่วนเป็นเจ้าของเงินกองทุนอยู่ด้วย โจทก์ที่ 8 ย่อมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 รวมทั้งการใช้สิทธิทางศาลด้วย โจทก์ที่ 8 แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินกองทุนที่จำเลยทั้งสี่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวและยังไม่ชำระคืนโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์โดยไม่ลงวันที่ ยังใช้เป็นหลักฐานได้ และเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 103 ให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" หมายความว่า "การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย..." การระบุวัน เดือน ปี พร้อมขีดฆ่าอากรแสตมป์ ก็เพียงมุ่งหมายให้ทราบว่าได้มีการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์เมื่อใดเท่านั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์มิให้นำไปใช้ได้อีก เมื่อหนังสือมอบอำนาจได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว แม้จะไม่ได้ลงวันที่ เดือน ปี กำกับด้วย ก็ถือว่าหนังสือมอบอำนาจรับฟังพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
โจทก์เป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 แม้กฎกระทรวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 จะมิได้กำหนดวิธีจัดการศาสนสมบัติของวัดเกี่ยวกับการฟ้องคดีไว้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบแล้วว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับลงโดยโจทก์แจ้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 40 วรรคสาม ว่าด้วยการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงในเรื่องการเช่าแล้ว และเมื่อสัญญาเช่าที่ดินเลิกกัน โจทก์ในฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไป ผู้แทนของโจทก์ย่อมมีอำนาจดำเนินกิจการใด ๆ อันเกี่ยวกับการจัดการศาสนสมบัติของวัดแทนโจทก์ได้ การจัดการทรัพย์สินของวัดซึ่งรวมทั้งการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ จึงเป็นอำนาจของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ที่จะดำเนินการได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 แม้กฎกระทรวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 จะมิได้กำหนดวิธีจัดการศาสนสมบัติของวัดเกี่ยวกับการฟ้องคดีไว้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบแล้วว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับลงโดยโจทก์แจ้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 40 วรรคสาม ว่าด้วยการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงในเรื่องการเช่าแล้ว และเมื่อสัญญาเช่าที่ดินเลิกกัน โจทก์ในฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไป ผู้แทนของโจทก์ย่อมมีอำนาจดำเนินกิจการใด ๆ อันเกี่ยวกับการจัดการศาสนสมบัติของวัดแทนโจทก์ได้ การจัดการทรัพย์สินของวัดซึ่งรวมทั้งการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ จึงเป็นอำนาจของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ที่จะดำเนินการได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตฎีกา และหน้าที่ทนายจำเลยในการดำเนินการขอรับรองฎีกาต่ออัยการสูงสุด
คำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกามีตรายางประทับข้อความว่า ให้มาทราบคำสั่งทุก 7 วัน ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว โดยทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายข้อความดังกล่าว ทั้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นคำสั่งของผู้พิพากษา ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าทนายจำเลยทราบคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว โดยศาลชั้นต้นไม่ต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบอีก และข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย หาใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นเรื่องขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ขยายให้ฎีกาแต่อย่างใดไม่ การที่ทนายจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลาฎีกา ย่อมเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาฎีกาให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22843/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจสอบสวน-ฟ้อง เนื่องจากเป็นข้อโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาเรื่องอำนาจสอบสวนและอำนาจฟ้องของโจทก์ โดยอ้างว่า คดีนี้เหตุเกิดที่ร้านบ้านนาการเกษตร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และที่บริษัท อ. อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมูลคดีเกิดในเขตอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำราจภูธรบ้านนา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ไม่มีการจับกุมแจ้งข้อหาแก่บริษัท อ. ทั้งที่ทำการของบริษัทดังกล่าวไม่ใช่ตัวแทนหรือสาขาของจำเลยที่ 1 เมื่อฟ้องว่าจำเลยทั้งสองผลิตจึงต้องให้พนักงานสอบสวนที่อยู่ในเขตภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองรับผิดชอบ คือสถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชัน ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรลาดหลุมแก้ว จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ไม่มีอำนาจสอบสวนและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผลิตปุ๋ย ณ สถานที่ตั้งหรือสถานที่แบ่งบรรจุ ส่วนเรื่องอำนาจสอบสวนและอำนาจฟ้องของโจทก์เป็นเพียงผลสรุปแห่งข้อโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวเท่านั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22241/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกาย, พักการลงโทษ, ล้างมลทิน: การกระทำผิดระหว่างพักโทษกระทบสิทธิประโยชน์
การที่จำเลยกระทำผิดอาญาคดีนี้ขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2478 มาตรา 43 กฎกระทรวงหมาดไทยออกตามความในมาตรา 58 แพ่ง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ข้อ 93 (1) และ 94 (ก) และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 มาตรา 5 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทิน ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22175/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีควบคุมอาคาร: ผู้เสียหายต้องเป็นเจ้าของที่ดินที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินที่ติดต่อกับอาคารพาณิชย์สองชั้นครึ่งที่จำเลยเป็นเจ้าของและก่อสร้างผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่จำเลยได้รับอนุญาต และถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 73 และมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22173/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ การจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ยังไม่มีผู้ซื้อก็เป็นความผิดสำเร็จ
องค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 วรรคหนึ่ง คือ การนำภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร จำเลยนำแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ แผ่นวีซีดีและดีวีดีคาราโอเกะของกลาง ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ออกจำหน่ายโดยวางแผงขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แม้จำเลยจะยังไม่ได้จำหน่ายให้แก่ประชาชนคนหนึ่งคนใดก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว