พบผลลัพธ์ทั้งหมด 235 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11066/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีแพ่งในคดีอาญาต้องฟ้องพร้อมกันตั้งแต่แรก การเพิ่มเติมฟ้องภายหลังไม่ชอบ
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นหมายถึงคดีที่การกระทำผิดอาญานั้นก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องทางแพ่งติดตามมาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องคดีส่วนอาญาแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องและหมายเรียกจำเลยแก้คดีย่อมเป็นการสั่งรับฟ้องคดีส่วนอาญาและคำฟ้องคดีส่วนแพ่งด้วยโดยไม่จำต้องสั่งรับฟ้องคดีส่วนแพ่งอีก ดังนี้ ในการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาโจทก์จึงต้องฟ้องคดีแพ่งมาพร้อมกับคดีอาญาตั้งแต่แรก แต่คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเฉพาะคดีในส่วนอาญาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องและจำเลยให้การต่อสู้คดีแล้วโจทก์จึงมายื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องให้จำเลยรับผิดคดีในส่วนแพ่ง ซึ่งการขอเพิ่มเติมฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 นั้น ฟ้องเดิมจะต้องสมบูรณ์อยู่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเฉพาะคดีอาญาแล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องโดยขอให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งโดยอ้างว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท บ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห. และนาย ท. จำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ ดังนี้คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างความรับผิดทางแพ่งของจำเลยขึ้นมาใหม่ โจทก์จะมาขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11066/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีแพ่งในคดีอาญาที่ไม่สมบูรณ์ ศาลไม่ควรอนุญาต
โจทก์ยื่นฟ้องเฉพาะคดีอาญาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องและจำเลยให้การต่อสู้คดีแล้ว โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องให้จำเลยรับผิดในส่วนแพ่ง จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โจทก์ต้องฟ้องคดีแพ่งมาพร้อมกับคดีอาญามาตั้งแต่แรก การขอเพิ่มเติมฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 นั้น ฟ้องเดิมจะต้องสมบูรณ์อยู่แล้ว ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องและรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10816/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาในคดีอาญาและแพ่งควบคู่กัน ผู้ร้องมีสิทธิฎีกาเฉพาะส่วนแพ่งเมื่อมิได้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญา
ผู้ร้องเพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำร้องของผู้ร้องเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้ร้องอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อผู้ร้องมิได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ผู้ร้องย่อมไม่มีฐานะเป็นคู่ความอันจะมีสิทธิฎีกาในคดีส่วนอาญาได้ ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อคดีส่วนอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยมิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10534/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องพิจารณาความประมาทของทั้งสองฝ่ายตามกฎหมายแพ่ง
ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติไว้ว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในคดีส่วนอาญาคงมีเพียงว่า จำเลยกระทำโดยประมาท ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่ และใครประมาทมากกว่ากันอันเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยและจำเลยได้อุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ และบทบัญญัติอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งในกรณีต่างฝ่ายต่างประมาททำให้เกิดมูลหนี้ละเมิดขึ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 442 วางหลักให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งการที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนแค่ไหน เพียงใดนั้น ศาลย่อมที่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่นำสืบมาว่าฝ่ายจำเลยหรือผู้ตายประมาทมากน้อยกว่ากันอย่างไรและเพียงใดด้วย จึงจะเป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10319/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานทำร้ายสัตว์ ลักทรัพย์ และความผิดกรรมเดียวความผิดหลายบท ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุก
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันนำยาฆ่าแมลงใส่ในผลมะละกอให้ช้างกิน ช้างได้รับสารพิษทำให้ล้มลงกับพื้น ขณะที่ยังไม่ถึงแก่ความตายจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เลื่อยเหล็กตัดงาช้าง เป็นเหตุให้ช้างได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็นและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แล้วจำเลยทั้งสามร่วมกันลักงาช้างไปโดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ร่วมกันฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น และร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ แต่การกระทำดังกล่าวมุ่งประสงค์เพื่อลักงาช้างเป็นสำคัญ จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8959/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าและหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพียงพอพิสูจน์ความผิดฐานพยายามฆ่าและมีอาวุธปืน
บันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหายและคำเบิกความของพยานโจทก์ในส่วนของข้อเท็จจริงที่ได้รับการบอกเล่าจากผู้เสียหายเป็นพยานบอกเล่า แต่สภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่า เช่นว่านี้ย่อมพิสูจน์ความจริงได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (1) ทั้งการที่โจทก์ไม่สามารถนำตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความในชั้นพิจารณาได้เพราะผู้เสียหายถูกคนร้ายยิงถึงแก่ความตายเสียก่อน นับว่ามีเหตุจำเป็นที่โจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นและได้ยินในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนี้ด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ กรณีเช่นนี้ย่อมมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังคำให้การของผู้เสียหายประกอบคำเบิกความพยานโจทก์ทั้งสองซึ่งแวดล้อมกรณีใกล้ชิดเหตุการณ์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: ความรู้เจตนาในการรับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดมีผลต่อการลงโทษตามมาตรา 357
การจะลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้หนักขึ้นตามลักษณะฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองได้ ก็ต่อเมื่อได้ความว่าขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคท้าย เมื่อทางพิจารณาได้ความเพียงว่า รถกระบะของกลางเป็นทรัพย์ที่ น. ได้มาจากการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองได้ คงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ถอนฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6271/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ระงับหนี้เดิม, อายุความ, และการแก้ไขดอกเบี้ยผิดนัด
หนังสือรับสภาพความผิดจำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้นำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวในระหว่างดำรงตำแหน่งเหรัญญิกของโจทก์ และจำเลยยินยอมชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยให้ครบถ้วนภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2554 หนังสือรับสภาพความผิดดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียวตกลงยอมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้โดยไม่ชอบ มิใช่คู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมที่จำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้ระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งไม่มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้ระงับไป
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ไป มูลหนี้จึงเกิดจากการกระทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ว่าเงินหายไปและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2553 จำเลยซึ่งเป็นเหรัญญิกของโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 หาใช่ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ และจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิด คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ดังที่วินิจฉัยแล้ว ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิด ฉะนั้น จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินจำนวนตามฟ้องโจทก์ไป จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 โดยคัดลอกข้อความทั้งหมดมาจากอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีข้อแตกต่างกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนภายใน 15 วัน จำเลยได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ครบกำหนดชำระเงินวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 มิใช่วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ตามที่โจทก์มีคำขอ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 จึงไม่ถูกต้องและเกินคำขอซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ไป มูลหนี้จึงเกิดจากการกระทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ว่าเงินหายไปและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2553 จำเลยซึ่งเป็นเหรัญญิกของโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 หาใช่ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ และจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิด คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ดังที่วินิจฉัยแล้ว ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิด ฉะนั้น จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินจำนวนตามฟ้องโจทก์ไป จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 โดยคัดลอกข้อความทั้งหมดมาจากอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีข้อแตกต่างกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนภายใน 15 วัน จำเลยได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ครบกำหนดชำระเงินวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 มิใช่วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ตามที่โจทก์มีคำขอ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 จึงไม่ถูกต้องและเกินคำขอซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบจำนวนเงินกู้ที่ไม่ตรงกับสัญญากู้ยืม ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร แต่เป็นการโต้แย้งความไม่สมบูรณ์ของหนี้
ที่จำเลยทั้งสองนำสืบอ้างว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 7,000,000 บาท แต่ถูกโจทก์และ น. ฉ้อฉลให้ทำสัญญากู้ยืมเงิน 16,000,000 บาท เป็นการนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่กู้จากโจทก์ว่าไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ถือว่าเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธินำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินถูกอ้างในฐานะเพียงหลักฐานในการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินถูกอ้างในฐานะเพียงหลักฐานในการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้และการเลิกบริษัททำให้ผู้ชำระบัญชีหมดอำนาจบังคับคดี
เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ได้ทำสัญญาการโอนกิจการกับผู้คัดค้านโดยตกลงโอนสินทรัพย์ทุกชนิด หนี้สินและภาระผูกพันทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 7 ค้างชำระบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. แก่ผู้คัดค้านแล้ว สิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวย่อมตกเป็นของผู้คัดค้าน ทั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครแล้ว ดังนั้น ผู้ชำระบัญชีบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. จึงไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแทน